“ASEO” วิธีทำ SEO แบบใหม่ ให้อันดับเว็บไซต์พุ่งในยุค AI 2025
โลกดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าใครก็ต่างมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้ตอบโจทย์กับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน (User) มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผู้พัฒนาโปรแกรม, ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์, บริษัทด้านเทคโนโลยี หรือแม้แต่แบรนด์ต่าง ๆ กับนักการตลาดอย่างเราด้วยเช่นกัน และในตอนนี้โลกของเราก็ได้ก้าวเข้าสู่ยุค AI เป็นที่เรียบร้อยแล้ว กลยุทธ์และวิธีทำการตลาดออนไลน์จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อน ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการทำ SEO ที่ต่อจากนี้ไปเปลี่ยนจากยุค Traditional SEO ไปสู่ยุค ASEO อย่างสมบูรณ์แบบ
บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจว่า ASEO (Adaptive Search Engine Optimization) คืออะไร, ASEO มีความแตกต่างกับเทคนิคการทำ SEO ยุคเก่าอย่างไร และขั้นตอนการทำ SEO จะง่ายขึ้นหรือยากกว่าเดิมอย่างไร เพื่อให้คุณรู้ทันทุกความเปลี่ยนแปลงและสามารถปรับตัวให้เข้ากับ Search Engine และ AI-powered platforms ได้เป็นอย่างดีในปี 2025 ที่จะถึงนี้ บอกเลยว่ารู้ก่อน ทำก่อน เห็นผลลัพธ์ก่อน! พร้อม 7 SEO HACKS ที่ ANGA เรียนรู้จากประสบการณ์ในการทำ SEO ให้แก่เว็บไซต์ของลูกค้ากว่า 300 เว็บไซต์
วิธีทำ SEO แบบเดิม (Traditional SEO)
วิธีทําให้ Google หาเว็บเราเจอด้วยเทคนิค SEO แบบเดิม ๆ จะประกอบด้วย On-site SEO, Off-site SEO และ Technical SEO โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. On-site SEO
On-site SEO หรือ On-page SEO คือการปรับแต่งองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ เพื่อให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจเนื้อหาและโครงสร้างของเว็บไซต์ได้ดีขึ้น เช่น Title tags, Meta descriptions, Header tags, Alt text, Image, Keywors, URL, Internal links, Content ฯลฯ
2. Off-site SEO
Off-site SEO หรือ Off-page SEO คือการทำ SEO จากภายนอกเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และดึงดูดความสนใจจาก Googlebot ด้วยการเพิ่ม Domain Authority จากการทำ Backlinks, Guest posting, Social media marketing หรือ Brand mentions เป็นต้น
3. Technical SEO
Technical SEO คือการปรับปรุงเว็บไซต์ในเชิงเทคนิค เพื่อให้เครื่องมือค้นหาสามารถเข้าถึงข้อมูลบนเว็บไซต์ได้อย่างครบถ้วนและรวดเร็ว เพื่อจัดทำดัชนี (Index) และนำไปแสดงผลบนหน้า SERPs (Search Engine Results Page) ซึ่งเกี่ยวข้องกับ Sitemap, Robots.txt, Core Web Vitals, Page Speed, Indexing, Canonical, Pagination, HTTPS Protocol ฯลฯ
ASEO (Adaptive Search Engine Optimization) คืออะไร
ASEO ย่อมาจาก Adaptive Search Engine Optimization คือเทคนิคการทำ SEO ด้วยแนวคิดใหม่ที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนบน Organic Search และ AI-powered platforms (AI SEO) ซึ่ง ASEO จะมุ่งเน้นไปที่การปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริทึมและโลกดิจิทัล โดยไม่ยึดติดกับวิธีการเดิม ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของคุณถูก Search Engine อย่าง Google ดึงขึ้นไปจัดอันดับ, ทำให้เครื่องมือ AI หยิบยกเอาเนื้อหาจากคุณไปเป็นแหล่งอ้างอิงในการตอบคำถามผู้ใช้งาน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งาน
ซึ่ง ASEO แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้
1. Discovery
ส่วนแรกคือ Discovery เป็นการทำให้ Googlebot และ AI Engine ค้นพบเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้นและเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการทำให้เว็บไซต์เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งจะประกอบไปด้วยการสร้างเนื้อหาจากความเข้าใจ Search Intent (เจตนาในการค้นหา) ของผู้ใช้งาน, การสร้างและส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปยังเครื่องมือค้นหา และการวิเคราะห์คาดการณ์คำถามของผู้ใช้งานที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
2. Engagement
Engagement หรือขั้นตอนของการสร้างการมีส่วนร่วม เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ จากการทำให้ผู้ใช้งานสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมบนเว็บไซต์ของเรา อาทิ การเตรียมเนื้อหาสำหรับคำถามถัดไป, การสร้างเนื้อหาในหลากหลายรูปแบบ (บทความ อินโฟกราฟิก วิดีโอสั้น วิดีโอยาว) และการได้รับการรับรอง เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือจาก Reviews, Social proofs และเว็บไซต์อื่น ๆ
3. Results
Results หรือผลลัพธ์คือการมุ่งสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ อย่างแท้จริง มีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากคนอื่น ๆ ในแวดวงเดียวกัน และสามารถสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ใช้งานได้ในระยะยาว อย่างการสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ให้ครบทุกแง่มุม เขียนเนื้อหาจากประสบการณ์และความเป็นจริง หรือการมอบเนื้อหาที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
7 องค์ประกอบสำคัญของ ASEO (7 SEO Hacks)
ASEO ไม่ใช่แค่การนำคีย์เวิร์ด (Keyword) ลงไปในเนื้อหา หรือสร้างลิงก์ต่าง ๆ ขึ้น เพื่อให้ถูกใจ Search Engine จนถูกนำไปจัดอันดับเท่านั้น แต่เป็นการทำ SEO ยังไงให้เว็บไซต์ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งานจริง ๆ จนสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งานได้จนถึงขีดสุด ไม่เพียงเท่านั้นยังทำให้เว็บไซต์ของคุณฉลาดมากขึ้น เข้าใจผู้ใช้งานมากขึ้น และสามารถเสิร์ฟเนื้อหาที่พวกเขาต้องการได้ครบถ้วน ซึ่งรวมถึงแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วย AI ด้วยเช่นกัน
ASEO Model สามารถจัดกลุ่มแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้
- Site Experience Quality ประกอบด้วย Technical Issues และ SXO
- Site Trustworthiness ประกอบด้วย External Signals และ Link Building (Backlink)
- Content Strategy ประกอบด้วย SILO-based Structure, High-quality Content (E-E-A-T Principle) และ Keyword Research & Intent
มาทำความรู้จัก 7 องค์ประกอบย่อยของ ASEO หรือ 7 SEO Hacks เคล็ดลับ SEO ที่คุณควรทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้ เพื่อเตรียมพร้อมให้เว็บไซต์ของคุณเติบโตได้ดีบนหน้า Search ในปี 2025 ที่กำลังจะมาถึงกันเลย
1. Technical Issues
Technical Issues (ปัญหาทางเทคนิค) เป็นส่วนที่ส่งผลอย่างมากต่อการทำ SEO เพราะมันเกี่ยวข้องกับโครงสร้างและการทำงานของเว็บไซต์โดยตรง หากเว็บไซต์ของคุณมีปัญหาเชิงเทคนิคอาจทำให้เว็บไซต์ถูกค้นพบยากขึ้น ถูกจัดทำดัชนีช้าลง และไม่มี Traffic เข้ามาบนเว็บไซต์ได้ ซึ่งการสูญเสีย Web Traffic เพียงแค่ 1 เดือนสามารถทำให้ธุรกิจของคุณต้องสูญเสียรายรับหลักล้านบาทได้
และจากประสบการณ์ที่ ANGA ได้ดูแลเว็บไซต์ธุรกิจให้ลูกค้ามาไม่น้อยกว่า 300 เว็บไซต์ เราพบว่า 3 ใน 10 เว็บไซต์ มีปัญหาเชิงเทคนิคที่ต้องปรับปรุงทั้งสิ้น ตามตัวอย่างในภาพต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 : เว็บไซต์ที่มีการปรับปรุงเว็บไซต์ในส่วนของ Blog อย่างถูกต้อง ทำให้ Traffic พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างที่ 2 : การที่ผู้ดูแลหลังบ้านเว็บไซต์ ตั้งค่า Hosting และ Server ผิด ส่งผลให้ Traffic ตก
ตัวอย่างที่ 3 : การย้ายเว็บไซต์โดยที่ไม่มีการวางแผนใด ๆ ทำให้อันดับเว็บไซต์หายไปจากระบบของ Google และไม่สามารถกู้ Traffic ให้กลับคืนมาได้อย่างง่าย ๆ
และในส่วนของ Technical Issues นี้ มีอยู่ 4 อย่างที่คุณต้องให้ความสำคัญ คือ
1.1 Crawling Ability
Crawling Ability คือการทำให้ Googlebot หรือเครื่องมือค้นหาสามารถเข้าถึงและอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้
แนวทางในการปรับปรุง Crawling Ability
- แก้ไขหน้าเว็บที่เสีย (Broken Pages) เพื่อไม่ให้มีทางตัน
- ใช้ Robots.txt ควบคุมการเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ของ Google ในการเข้ามา crawl
- ปรับปรุง Internal link เพื่อให้ Google เข้าถึงหน้าเว็บทุกหน้าได้ง่าย ๆ
1.2 Indexing Ability
Indexing Ability คือการทำให้ Google นำเว็บไซต์เราไปจัดทำดัชนี (หากไม่มีการปรับปรุงในส่วนนี้ อาจทำให้เว็บไซต์ของคุณหายไปจากหน้าแสดงผลการค้นหาและส่งผลเสียต่อเว็บไซต์ในระยะยาวได้)
แนวทางในการปรับปรุง Indexing Ability
- การใช้ Meta tags อย่าง ‘index’ และ ‘noindex’ ให้ถูกต้อง
- ใส่ Schema Markup เพื่อให้ Google เข้าใจเนื้อหาแต่ละหน้าได้ดีขึ้น
- ใช้ Canonical tags เพื่อบอก Google ว่าหน้าไหนคือหน้าหลักที่คุณต้องการให้ Google เอาไปจัดอันดับ
1.3 Architecture Site
Architecture Site (โครงสร้างเว็บไซต์) หากเว็บไซต์มีโครงสร้างที่ดี มีระบบนำทางที่ไม่ซับซ้อน จะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจและใช้งานเว็บไซต์ได้ง่าย ไม่หลงทางและสับสนว่าควรจะกดไปที่ปุ่มไหนต่อดี ซึ่งจะเกิดเป็นประสบการณ์อันน่าประทับใจ (เหมือนการจัดสินค้าหน้าร้าน เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นสินค้าได้ง่ายที่สุด) อีกทั้งนังทำให้ Google อ่านข้อมูลบนหน้าต่าง ๆ ของเว็บไซต์ของเราได้อย่างรวดเร็วด้วย
แนวทางในการปรับปรุง Architecture Site
- การใช้ Flat Site Structure (โครงสร้างเว็บไซต์แบบแบนราบ ที่ทุกหน้ามีการเชื่อมโยงจากหน้าแรก และทุกหน้ามีระยะห่างจากหน้าแรกเท่ากัน) ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงหน้าสำคัญได้ในไม่กี่คลิก
- ออกแบบระบบนำทาง (Navigation) ที่ใช้งานง่ายและเป็นลำดับชั้นที่ชัดเจน
1.4 Page Experience
Page Experience (ประสบการณ์การใช้งานหน้าเว็บไซต์) ซึ่งเป็นการทำให้เว็บไซต์แสดงเนื้อหาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์การท่องเว็บที่ดีและเกิดความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ามาใช้งาน
แนวทางในการปรับปรุง Page Experience
- ปรับปรุง Page Load Speed โดยลดขนาดไฟล์ CSS และ JavaScript
- ให้ความสำคัญกับ Core Web Vitals โดยเฉพาะ LCP, INP, และ CLS
- ใช้แนวคิด Mobile-first ในการออกแบบเว็บไซต์
2. SXO (Search Experience Optimization)
SXO ย่อมาจาก Search Experience Optimization คือการปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้งาน User Experience (UX) ให้สอดคล้องกับการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาบน Search Engine ในตำแหน่งที่ดี ควบคู่ไปกับการมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งาน
เป้าหมายของ SXO คืออะไร?
- เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เข้าชม
- ปรับปรุง Dwell Time
- เพิ่มอัตราการกลับมาเยี่ยมชมซ้ำ
- เพิ่ม Conversion Rate
- สร้าง Quality Clicks
UX ส่งผลอย่างไรกับการจัดอันดับบนหน้า Search
จากภาพข้างต้นจะเห็นได้ว่าหน้าเว็บไซต์ที่มี Avg. time on page (เวลาเฉลี่ยที่ผู้ใช้งานใช้เวลาอยู่บนหน้าเว็บไซต์) 28 วินาที ถูกนำไปแสดงผลในตำแหน่งที่ดีหรือสูงกว่าหน้าเว็บไซต์ที่มี Avg. time on page 4 วินาที เพราะ Google มองว่าหน้าเว็บไซต์ที่ดึงดูดผู้ใช้งานให้อยู่บนเว็บไซต์ได้นาน ๆ เป็นเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน หากผู้ใช้งานคลิกเข้าไปชมก็จะเป็นสัญญาณบ่งบอก Google ว่าเป็นคลิกนี้เป็นคลิกที่มีคุณภาพ (Quality Clicks) ส่วนหน้าเว็บไซต์ที่มี Avg. time on page น้อย แปลว่าหน้าดังกล่าวมีเนื้อหาที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการหรือมี UX ที่แย่ ทำให้ Google นำไปจัดอันดับในตำแหน่งที่ต่ำกว่านั่นเอง
วิธีทำ SEO ตามแนวทาง SXO เพื่อให้ User ใช้เวลาบนเว็บไซต์นานขึ้น
- เข้าใจว่าผู้ค้นหาต้องการอะไร (Search Intent) และสร้างเนื้อหาที่ตอบโจทย์ความต้องการของเขา
- ปรับปรุงเว็บไซต์เพื่อผู้ใช้งานทำสิ่งที่คุณต้องการ (Maximize Conversions) อย่างการปรับปรุง CTAs (Call to Action), แบบฟอร์ม หรือการทำให้เว็บไซต์ใช้งานง่าย ๆ เป็นต้น
- การออกแบบเว็บไซต์ให้ใช้งานง่ายและเหมาะสำหรับการใช้งานบนมือถือเป็นอันดับแรก (Polish UX/UI Design & Mobile-First)
3. External Signal
External Signal (สัญญาณจากภายนอกเว็บไซต์) หรือปัจจัยจากภายนอกเว็บไซต์ที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์เรา
- กิจกรรมบนโซเชียลมีเดีย (Social Media) ยิ่งคนมีส่วนร่วมกับบัญชีโซเชียลมีเดียของเรามากแค่ไหน หรือกล่าวถึงเราบนโซเชียลมีเดียมากเท่าไหร่ = ยิ่งดี
- คุณภาพของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ลิงก์กลับมายังเว็บไซต์ของคุณ (Quality Referring Domains)
- การสร้างแบรนด์ (Branding)
- รีวิว (Reviews)
- ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ (Site Trustworthiness)
4. Link Building (Backlink)
Link Building หรือการสร้าง Backlink ให้เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ ซึ่งจะเป็นการสร้างลิงก์จากแหล่งที่มาหรือเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ
โดยทาง Google แนะนำให้ทำ Backlink จากเว็บไซต์ท้องถิ่นที่ Google ไว้ใจ ส่วน AI ก็มองว่าควรจะสร้างลิงก์จากเว็บไซต์ท้องถิ่นที่เป็นภาษาอังกฤษและ Google ต้องเชื่อถือด้วย สุดท้ายคือ SearchGPT ที่บอกว่าไปเอา Backlink จากเว็บไซต์ดัง ๆ ระดับโลกเลยดีกว่า
5. SILO-based Structure
SILO-based Structure เป็นการจัดระเบียบเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้เป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับ SEO โดยการใช้ Internal Link มาเชื่อมโยงเนื้อหาประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน ดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้
เราจะเห็นได้ว่าหน้าใดที่มีการพูดเรื่องการทำจมูก ก็จะมีการทำ Internal Link เชื่อมโยงไปยังหน้าอื่น ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำจมูกด้วยเช่นกัน
6. High-quality Content
High-quality Content (เนื้อหาที่มีคุณภาพสูง) หรือการสร้างเนื้อหาตาม E-E-A-T Factor ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ Google ใช้ในการวัดคุณภาพของเนื้อหาและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลบนเว็บไซต์ต่าง ๆ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทคนิคในการทํา SEO ให้ติดหน้าแรก Google ที่เห็นผลจริงและยั่งยืน โดย E-E-A-T Factor ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1. Experience
Experience คือการนำประสบการณ์ตรงของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวสอดแทรกลงไปในเนื้อหา ซึ่งอาจจะแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในเรื่องนั้นลงไปก็ได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานรับรู้ว่าคุณเคยสัมผัสประสบการณ์นั้นจริง ๆ
2. Expertise
Expertise คือการแสดงความเชี่ยวชาญของผู้เขียนในเรื่องดังกล่าว โดยการเขียนข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอียดและเขียนในเชิงลึก ที่ผู้ใช้งานไม่สามารถอ่านเจอได้บนเว็บไซต์อื่น
3. Authoritativeness
Authoritativeness คือการเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เขียนให้รู้ว่าคุณคือตัวจริงในด้านนี้ และทำให้เว็บไซต์อื่น ๆ รวมถึง AI-powered platforms นำเนื้อหาของคุณไปเป็นข้อมูลอ้างอิง
4. Trustworthiness
Trustworthiness คือการนำเสนอเนื้อหาที่ถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส น่าเชื่อถือ ปลอดภัย และมีแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างชัดเจน
7. Keyword Research & Intent
Keyword Research & Intent คือกระบวนการค้นหาคีย์เวิร์ดที่ User ใช้ในการค้นหาข้อมูลจริงบน Search Engine พร้อมกับทำความเข้าใจเจตนาในการค้นหาคีย์เวิร์ดแต่ละคำของ User เพื่อที่เราจะได้สามารถผลิตเนื้อหาให้ตรงกับเจตนาของพวกเขาได้ (จะเรียกว่าเป็นหนึ่งในเทคนิค SEO ใส่ Keyword ให้ Search เจอก็ว่าได้) เพราะถ้าคุณสามารถสร้างเนื้อหาด้วยคีย์เวิร์ดที่ User ใช้ค้นหาจริงและยังตอบโจทย์ความต้องการของ User ได้ ก็จะช่วยดึงดูดความสนใจให้พวกเขาคลิกเข้ามาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ตั้งแต่ครั้งแรกที่พบเนื้อหาของคุณบน SERPs เลย นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาในตำแหน่งที่ดีขึ้นได้อีกด้วย
Search Intent มีหลายประเภท ซึ่งคุณต้องทำความเข้าใจและวิเคราะห์ให้ได้ว่าคีย์เวิร์ดคำใด จัดอยู่ในประเภทใด เพื่อที่จะได้นำไปปรับแต่กลยุทธ์ในการเลือกใช้คีย์เวิร์ดและปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตรงกับสิ่งที่ User ต้องการมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Search Intent สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท คือ
- Informational : User ต้องการค้นหาข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
- Navigational : User ต้องการไปที่หน้าเว็บไซต์ของแบรนด์หรือหน้าสินค้าโดยตรง
- Commercial : User ต้องการข้อมูลสำหรับการพิจารณาเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อ
- Transactional : User ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ๆ แล้ว
- Local : User ต้องการหาข้อมูล “สิ่งนั้น” ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน
บทสรุป
การทำ SEO ในปัจจุบันนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงการจัดอันดับบน Search Engine อย่าง Google เท่านั้น แต่เราต้องปรับตัวและปรับปรุงเทคนิค SEO บนเว็บไซต์เรา ให้สามารถไปปรากฏอยู่บน AI-powered platforms ที่ใคร ๆ ก็หันมาใช้ในการหาข้อมูลและช่วยทำงานกันด้วย โดย “ASEO” (Adaptive Search Engine Optimization) ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการทำ SEO ที่จะทำให้คุณสามารถผลิตเนื้อหาและปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของ Search Engine, AI-powered platforms และผู้ใช้งานได้อย่างครบถ้วน จนสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นให้แก่เว็บไซต์ธุรกิจของคุณได้ ซึ่งจัดได้ว่า ASEO เป็นวิธีทําให้ Google หาเพจเราเจอได้ง่าย ๆ แถมยังช่วยให้ผู้ใช้งานพึงพอใจกับประสบการณ์ที่ได้รับด้วย