On-Page SEO คืออะไร? เพื่อการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ติดอันดับ Google
ใจความหลักในการทำ SEO คือการปรับปรุงเว็บไซต์ ปรับแต่งเว็บเพจ และแก้ไขส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือมีจุดเชื่อมโยงมายังเว็บไซต์หลัก ให้ตรงตามหลักการจัดอันดับของอัลกอริทึม Google ซึ่งการทำ SEO นั้นจะมีการแบ่งขั้นตอนออกเป็นหลายส่วนด้วยกัน ตั้งแต่ส่วนของการทำ Keyword Research ที่เป็นการค้นหา Keyword ที่เหมาะสม มีความเกี่ยวข้องกับตัวแบรนด์ สินค้าและบริการ และประสิทธิภาพของ Keyword คำนั้น ถัดมาก็คือ Site Structure เป็นส่วนของโครงสร้างเว็บไซต์และองค์ประกอบต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งที่ Crawling หรือ Google Bot จะเข้ามาตรวจสอบความถูกต้องตามหลักอัลกอริทึมเพื่อนำไปจัดอันดับการค้นหาต่อไปและส่วนลึกลงไปอีกจาก Site Structure คือส่วนของ On-Page SEO หลายอาจสงสัยว่าคืออะไร และมีผลมากขนาดไหนการจัดอันดับของอัลกอริทึม Google วันนี้แองก้าจะมาอธิบายในส่วนของ On-Page SEO ให้ได้รู้กันว่าอย่างถ่องแท้ว่าคืออะไร
On-Page SEO คืออะไร?
On-Page หรือบางคนเรียก On-Site SEO คือส่วนของภายในเว็บไซต์หรือเว็บเพจเราเอง เป็นขั้นตอนการปรับเเต่งองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ปรับเนื้อหาต่าง ๆ บนเว็บไซต์ให้มีความสอดคล้องกับ Keyword ที่นำเข้ามาใช้ การปรับแต่งความเร็วหน้าเว็บ (Pagespeed) การเสริมรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา และอื่น ๆ อีกหลายอย่าง เพื่อให้ตัวเว็บมีคุณภาพมากพอให้อัลกอริทึม Google พิจารณาดันเว็บไซต์ให้ติดอันดับการค้นหาหน้าแรกของ Google
หลักการทำ On-Page SEO ขั้นพื้นฐาน
ในการปรับแต่งส่วนของ On-Page SEO คือขั้นตอนที่มีหลายส่วนหลัก ๆ ประกอบเข้าด้วยกัน ไม่ใช่เพียงแค่ทำคอนเทนต์ให้ตรงตาม Keyword เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องความสะดวกในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเราอีกด้วย และมากไปกว่านั้นการปรับแต่งส่วนต่างๆ ของ On-Page SEO นั้นคือส่วนที่อัลกอริทึม Google ใช้เป็นส่วนประกอบในการให้คะแนนเพื่อนำไปจัดอันดับการค้นหา โดยจะขอแบ่งออกเป็น 6 ส่วนหลักดังนี้
1.เนื้อหาของคอนเทนต์
การเขียนเนื้อหาคอนเทนต์บนเว็บไซต์ที่ทำ SEO คือต้องมีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาทุกอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ ที่สำคัญเมื่อคุณได้เลือกชุด Keyword ที่แน่นอนแล้ว เนื้อหาขอคอนเทนต์ก็ควรที่จะสอดคล้องกับชุด Keyword เท่านั้นด้วย ซึ่งในส่วนของคอนเทนต์จะมีหลักการเขียนที่เรียกว่า E-A-T เป็นมาตรฐานของอัลกอริทึม Google ที่มีผลต่อการจัดอันดับการค้นหา โดยเป็นมาตรฐานที่เน้นการเขียนที่มีให้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย ให้พวกเขารู้สึกเชื่อถือในข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เที่ยงตรง และดูมีความเชี่ยวชาญด้านนั้นจริงๆ
2.ภาพประกอบคอนเทนต์
นอกจากเรื่องของเนื้อหาคอนเทนต์แล้ว อีกองค์ประกอบที่จะช่วยเสริมความน่าเชื่อถือของเนื้อหาในคอนเทนต์ SEO นั้นคือรูปภาพ โดยการใช้รูปภาพต้องเน้นรูปที่มีความละเอียดคมชัดที่สุด ถ้าจะให้ดีต้องเป็นรูปภาพที่ออกแบบโดยทางแบรนด์เองอาจจะเป็นการทำภาพแบบ Graphic Design หรือถ่ายภาพขึ้นมาใหม่ก็ได้ และยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Google มองว่ามีความน่าเชื่อถือเพราะเป็นภาพที่ทำขึ้นมาด้วยแบรนด์เอง
3.Image Title และ Alt Text
เมื่อมีรูปภาพประกอบก็ต้องมีชื่อภาพด้วยเช่นกัน เพราะการตั้งชื่อภาพให้ตรงกับ Keyword เป็นการทำ Image SEO ที่มีส่วนที่ช่วยให้ติดอันดับ SEO ได้ถ้าให้ดีรูปภาพนั้นใช้ Keyword มาตั้งชื่อไปเลยจะช่วยได้มาก ตัวอย่างเช่น Keyword “SEO คืออะไร” Image Title หรือชื่อไฟล์ของรูปภาพนั้นอาจจะตั้งเป็น “SEOคืออะไร.jpg” ไปเลย และส่วนของ Alt Text ก็ตั้งเป็น <alt=”SEO คืออะไร”>
อ่านเพิ่มเติม Alt Tag คืออะไร
4.Pagespeed
ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บหรือ Pagespeed ที่ดีควรอยู่ในระดับไม่เกิน 3-5 วินาที หากมากไปกว่า 10 วินาทีอาจทำให้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งานกดออกไปเลย ซึ่ง Pagespeed ที่ว่านี้สามารถตรวจสอบได้กับ 2 เครื่องมือของที่ช่วยวัดประสิทธิภาพการโหลดหน้าเว็บไซต์ Google คือ Google Analytics และ Google Page Speed Test โดยสาเหตุที่ทำให้โหลดช้าอาจมาจากไฟล์รูปภาพ และวิดีโอที่ประกอบเว็บไซต์มีขนาดใหญ่เกินไป หรือการใช้ Plugin บางอย่างที่มากเกินไปก็ทำให้โหลดได้ช้าด้วยเหมือนกัน มากไปกว่านั้นอาจเป็นปัญหาในขั้นตอนการเขียน Code ก็เป็นไปได้ ดังนั้นควรหมั่นเช็กและปรับแก้บ่อย ๆ เพราะการที่เว็บไซต์โหลดช้ามีผลต่ออันดับ SEO ด้วย
5.Internal Link ภายในเว็บไซต์
การทำ Internal Link คือวิธีการเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์เข้าด้วยกัน เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้อ่านหรือผู้ใช้งานได้เข้าใจว่าแต่ละบทความนั้นมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น เมื่อคุณเขียนถึงบทความ “SEO คืออะไร? ” ภายในเนื้อหาคอนเทนต์อาจจะมีเรื่องที่เชื่อมโยงไปถึงคอนเทนต์อื่น ๆ ที่คุณเคยเขียนและโพสต์ลงไปในเว็บไซต์ อาจจะเป็นหัวข้อว่า “On-Page SEO คืออะไร? ” ก็สามารถเอาลิงก์ของหัวเรื่องนี้มาเชื่อมกันได้ในบทความ “SEO คืออะไร? ” เพื่อให้ผู้ใช้งานใช้เวลาบนเว็บไซต์ของคุณนานขึ้น และมีผลต่ออันดับของ SEO
6.การตั้งชื่อ URL
ชื่อของ URL เว็บไซต์เป็นอีกสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน เพราะ URL ของเราก็เหมือนกับทางเข้ามาสู่เว็บไซต์ของคุณ ซึ่งเทคนิคการตั้งชื่อลิงก์ URL ก็ไม่ซับซ้อนอะไรมาก ควรตั้งเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องนั้น ๆ ไปเลย เช่น หัวข้อ “SEO คืออะไร? ” ก็อาจจะตั้งชื่อว่า www.anga.co.th/what-is-seo แบบนี้ไปเลย นอกจากจะเป็นการสื่อถึงชื่อเรื่องแล้วก็ยังมีความเกี่ยวโยงกับ Keyword อีกด้วย
6.Featured Snippets
Featured Snippets คือส่วนที่แสดงข้อมูลหรือตัวอย่างที่น่าสนใจของเว็บไซต์นั้น ๆ เป็นการค้นหาที่อยู่อันดับ 0 (Zero Click Search) นั่นเอง หมายความว่าเป็นข้อมูลที่ปรากฏอยู่ด้านบนสุดของผลการค้นหาของ Google อีกทีเพื่อตอบคำถามแก่ผู้ค้นหาอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลดีต่อการติดอันดับ SEO ตำแหน่งสูงๆ สำหรับวิธีการปรับแต่งให้ Google เลือกเว็บไซต์ไปแสดงบน Featured Snippets นั้นมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การตั้งชื่อคอนเทนต์แบบเจาะจงอย่าง “คอนเทนต์ SEO คืออะไร เขียนอย่างไรให้ติดอันดับ” และทำคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาและรายละเอียดดี ครอบคลุมถึงเนื้อหาเรื่องนั้นมาก เป็นต้น
แล้ว Off-Page SEO คืออะไร?
Off-Page SEO คือ ปัจจัยภายนอกเว็บไซต์ที่ช่วยสนับสนุนตัวเว็บไซต์หลักของคุณให้ติดอันดับการค้นหาในลำดับที่ดีที่สุด สามารถทำได้ด้วยการสร้าง Backlink เป็นเว็บไซต์หรือเว็บเพจอื่น ๆ ที่มีการสร้างคอนเทนต์อ้างอิงหรือเชื่อมโยงมาสู่เว็บไซต์หลักของคุณ โดยการทำ Off-Page SEO หรือ Backlink คือส่วนช่วยให้เว็บไซต์หลักของคุณมีความนิยมมากขึ้น ที่สำคัญการทำ Backlink ด้วยเนื้อหาที่มีคุณภาพดี จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้อัลกอริทึมของ Google รู้สึกถึงความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์
การทำ On-Page และ Off-Page SEO คือส่วนสำคัญ
ในการทำ SEO นั้นถือเป็นวิธีการทำการตลาดออนไลน์ที่มีขั้นตอนการทำอยู่หลายส่วน ซึ่งการทำ On-Page และ Off-Page SEO คือขั้นตอนหนึ่งของการทำ SEO เท่านั้น แต่ก็นับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยปรับปรุงภายในเว็บไซต์ให้มีมาตรฐานตรงตามที่อัลกอริทึมของ Google กำหนดเอาไว้ โดยในขั้นตอนของ On-Page SEO นั้นคือการปรับแต่งปัจจัยต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหาคอนเทนต์ SEO, การใช้ภาพประกอบคอนเทนต์, การปรับแต่ง Pagespeed เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงเว็บไซต์ได้รวดเร็วไม่ต้องคอยนาน, การทำ Internal Link เพื่อสร้างการเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานเข้าถึงและเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน, การตั้งชื่อ URL ที่ดูเหมือนเป็นส่วนเล็ก ๆ แต่ก็มีผลต่อความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย และสุดท้ายคือการทำ Featured Snippets ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่พึ่งถูกเพิ่มเข้ามาไม่นานแต่มีความสำคัญไม่แพ้องค์ประกอบอื่น ๆ เช่นกัน สำหรับมือใหม่ที่พึ่งเริ่มทำ SEO แองก้าขอแนะนำให้คุณหมั่นตรวจสอบประสิทธิภาพเว็บไซต์ของคุณอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องได้อย่างตรงจุดและช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพที่ดีพอต่อการติดอันดับ SEO บน Google