1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. Schema Markup คืออะไร เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ SEO
Schema Markup คืออะไร
เผยแพร่เมื่อ: มิถุนายน 5, 2024

Schema Markup คืออะไร เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ SEO

Table Of Contents

ถ้าพูดถึงวิธีทำการตลาดออนไลน์อย่างยั่งยืน วิธีแรก ๆ ที่โผล่ขึ้นมาในหัวคงไม่พ้นการทำ SEO (Search Engine Optimization) แน่นอน เพราะ SEO คือการสร้างเนื้อหาด้วยคีย์เวิร์ด (Keyword) และปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เว็บไซต์ถูก Search Engine อย่าง Google เลือกไปแสดงผลในตำแหน่งที่ดีที่สุด และอย่างที่เรารู้กันดีกว่า SEO เป็นการทำการตลาดแบบ Organic ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโฆษณาแบบ Google Ads ดังนั้น จึงต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนานกว่าจะประสบความสำเร็จ

สำหรับใครที่ทำ SEO ไปนานหลายเดือนแล้ว อันดับเว็บไซต์ไม่ขยับขึ้นไปอยู่บน ๆ ของหน้าแสดงผลการค้นหา (SERP : Search Engine Results Page) เสียที ลองติดตั้งตัวช่วยสุดล้ำอย่าง “Schema Markup” ดูก่อน มั่นใจได้เลยว่าอันดับขยับขึ้นชัวร์ เริ่มทำความเข้าใจว่า Schema Markup คืออะไร, มีการทำงานอย่างไร, ติดตั้งยังไง, มีกี่แบบ และสำคัญมากแค่ไหนต่อการทำ SEO ได้ในบทความนี้กับ ANGA ได้เลย 

Schema Markup คืออะไร

Schema Markup คือส่วนเสริมบนเว็บไซต์ที่อยู่ในรูปแบบของโค้ด (Code) มีไว้เพื่อขยายความอธิบายเกี่ยวกับหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้า โดยจะแสดงผลอยู่บน SERP เท่านั้น ไม่ได้แสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์จะต้องเป็นผู้ติดตั้ง เลือกประเภทของ Schema Markup และใส่ข้อมูลเสริมเข้าไปเอง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลติดต่อ, รีวิว, สถานที่ตั้ง, รูปภาพ, สินค้า, หน้าเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง หรือข้อมูลอื่น ๆ ก็ตาม

ทำไม Schema Markup สำคัญต่อการทำ SEO

จุดเด่นที่ทำให้หลาย ๆ คนเลือกติดตั้ง Schema Markup คือการเพิ่มขึ้นของ Keyword Ranking, การเพิ่มขึ้นของ Website Traffic และยังช่วยให้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ที่ทำการค้นหาข้อมูลด้วยคีย์เวิร์ดดังกล่าว ทราบว่าเนื้อหาในหน้าเว็บนั้นจะอธิบายอะไรให้รู้บ้าง ใช่เรื่องที่พวกเขากำลังตามหาคำตอบอยู่หรือไม่ ซึ่งจะช่วยดึงดูดสายตาและกระตุ้นให้เกิดการคลิกเพิ่มขึ้นนั่นเอง

การติดตั้ง Schema Markup แบบหน้าเดียว

  • ช่วยดันอันดับคีย์เวิร์ดในหน้าใดหน้าหนึ่งแบบเฉพาะเจาะจง
  • สร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งานตั้งแต่หน้า SERP
  • มีส่วนช่วยให้ CTR (Click Through Rate) หรืออัตราการคลิกผ่านเพิ่มขึ้น
  • เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายประเภท เช่น สินค้า บริการ บทความ รีวิว ฯลฯ แยกจากกัน
  • เหมาะกับเว็บไซต์ที่ต้องการแสดงข้อมูลเพิ่มเติมในหน้านั้น ๆ ให้กลุ่มเป้าหมายเห็นแค่หน้าเดียว

การติดตั้ง Schema Markup แบบทั้งเว็บไซต์

  • เหมาะกับการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ เช่น โลโก้ ที่ตั้ง ข้อมูลการติดต่อ
  • เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเหมือนกันทั้งเว็บไซต์ อย่างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ เป็นต้น

Schema Markup มีกี่แบบ

Schema Markup มีมากกว่า 800 รูปแบบให้เลือกใช้งาน แตกต่างกันไปตามประเภทเนื้อหาบนเว็บไซต์และประเภทของข้อมูลที่นำมาใส่ลงไปใน Schema Markup สำหรับรูปแบบที่ได้รับความนิยมและสามารถพบเห็นได้บ่อย ๆ จะมีอยู่ไม่กี่รูปแบบเท่านั้น ได้แก่

  • Product Schema : เนื้อหาเกี่ยวกับสินค้า (รูปสินค้า ราคา คะแนนสินค้า)
  • Local Business Schema : เนื้อหาเกี่ยวกับธุรกิจท้องถิ่น (ที่ตั้ง เวลาทำการ เบอร์โทรศัพท์)
  • Person Schema : เนื้อหาเกี่ยวกับบุคคล (ชื่อนามสกุล ยศ ความเชี่ยวชาญ ประวัติ)
  • FAQ  Schema : เนื้อหาเกี่ยวกับคำถามที่พบบ่อย (คำถาม คำตอบ)
  • Recipe Schema : เนื้อหาเกี่ยวกับสูตรทำอาหาร เบเกอรี เครื่องดื่ม (ส่วนผสม อัตราส่วน เวลาทำ)
  • Review Schema : เนื้อหาที่มีการรีวิว (คะแนนรีวิว ความคิดเห็นจากลูกค้า)
  • How-To Schema : เนื้อหาเกี่ยวกับวิธีทำ (แสดงวิธีทำเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เป็นขั้นเป็นตอน)
  • Book Schema : เนื้อหาเกี่ยวกับหนังสือ (ผู้แต่ง ปีที่พิมพ์หนังสือ สำนักพิมพ์ ราคา)
  • Course Schema : เนื้อหาเกี่ยวกับคอร์สเรียน (ชื่อหลักสูตร ชื่อผู้สอน ระยะเวลาในการเรียน)
  • Article Schema : เนื้อหาที่เป็นบทความ (หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย ผู้เขียน วันที่เผยแพร่)

วิธีเลือก Schema Markup ให้เหมาะกับเว็บไซต์

วิธีเลือก Schema Markup มาใช้งาน เพื่อให้เหมาะกับเว็บไซต์ของคุณมากที่สุดต้องพิจารณาจากเนื้อหาบนเว็บไซต์ หรือหน้าที่คุณต้องการติดตั้งกับ Schema Markup และ เป้าหมายของการใช้งาน Schema Markup เป็นหลัก

ตัวอย่างที่ 1 เว็บไซต์ของบริษัทรับทำ SEO

วิธีเลือก Schema Markup ให้เหมาะกับเว็บไซต์

เว็บไซต์ของบริษัทรับทำ SEO จะมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันทั้งเว็บไซต์ และเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความน่าเชื่อถือ ความมีตัวตน และความเชี่ยวชาญ จึงแนะนำให้ใช้ Schema Markup ในรูปแบบต่อไปนี้

  • Local Business Schema (หน้าแรก) สำหรับแสดงแผนที่ตั้งของบริษัท ข้อมูลการติดต่อ ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ และรีวิวจากผู้ใช้บริการจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
  • Service Schema (หน้าบริการ) แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริการรับทำ SEO ทั้งเนื้อหาเชิงความรู้และโปรโมชัน เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
  • FAQ Schema (หน้าคำถามที่พบบ่อย) นำเสนอคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับบริการ SEO และตอบคำถามไปในตัว เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
  • Article Schema (หน้าบทความ) แสดงบทความให้ความรู้เกี่ยวกับการทำ SEO เพื่อแสดงความเชี่ยวชาญของบริษัท

ตัวอย่างที่ 2 เว็บไซต์ e-Commerce 

Schema Markup สำหรับเว็บไซต์ e-Commerce 

ตัวอย่างที่ 2 คือเว็บไซต์ขายของออนไลน์ (e-Commerce) ของแบรนด์เครื่องสำอาง เว็บไซต์นี้จะมุ่งเน้นไปที่การนำเสนอข้อมูลสินค้า ราคา รีวิว และชื่อเสียงของแบรนด์เป็นหลัก เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายสั่งซื้อสินค้าและเพิ่มยอดขายให้แก่ธุรกิจ แนะนำให้ติดตั้ง Schema Markup เหล่านี้

  • Product Schema (หน้าสินค้า) แสดงรายละเอียดของสินค้า เช่น ชื่อ รุ่น ราคา คะแนนรีวิว คุณสมบัติ ส่วนผสม วิธีใช้งาน ฯลฯ เพื่อให้ลูกค้านำข้อมูลไปใช้เปรียบเทียบ
  • Offer Schema (หน้าโปรโมชันหรือหน้าสินค้า) นำเสนอโปรโมชันเด็ด ๆ หรือมอบคูปองส่วนลดเพื่อดึงดูดความสนใจ
  • Brand Schema (หน้าแรก) แสดงข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ เช่น ประวัติ ปีที่ก่อตั้ง รางวัลที่ได้รับ ฯลฯ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
  • Review Schema (หน้ารวมรีวิวหรือหน้าสินค้า) แสดงรีวิวจากผู้ใช้จริง เพื่อสร้าง Social Proof และทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวสินค้า จนตัดสินใจซื้อในท้ายที่สุด
  • FAQ Schema (หน้าคำถามที่พบบ่อย) ถาม-ตอบเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้า การชำระเงิน การจัดส่ง หรือบริการพิเศษ เพื่อให้ลูกค้ารู้ข้อมูลเบื้องต้นได้ทันที โดยที่ไม่จำเป็นต้องสอบถามกับพนักงาน

บทสรุปเรื่อง Schema Markup คืออะไร

Schema Markup คืออีกหนึ่งเครื่องมือที่คุณสามารถนำไปใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์และ SEO ได้อย่างเป็นอย่างดี รวมทั้งยังช่วยดันอันดับคีย์เวิร์ดได้จริง ซึ่ง Schema Markup ก็มีอยู่หลายประเภทให้เลือกใช้งาน สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบหน้าเดี่ยวและทั้งเว็บไซต์ โดยจะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ที่คุณต้องการจากการใช้งาน Schema Markup ประเภทเว็บไซต์ และรูปแบบของเนื้อหา อย่างที่เราได้แนะนำไปในบทความนี้และนอกจากคุณจะใช้ Schema Markup ในการดันอันดับเว็บไซต์บน Google ได้แล้ว คุณยังสามารถใช้วิธีการอื่น ๆ เข้ามาเสริมเพิ่มเติมได้ เช่น การอัปเดตเนื้อหาลงไปบนเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง, การปรับปรุงความเร็วเว็บไซต์, การสร้าง Backlink, หรือการแก้ปัญหาเชิงเทคนิคบนเว็บไซต์ เป็นต้น สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทคนิคการทำ SEO จากมืออาชีพ ฉบับปี 2024

บทความที่เกี่ยวข้อง

สรุปเนื้อหาจากงาน Google Search Central Live 2024

Google Search Central Live 2024 คืองานสัมมนาที่ทาง Google จัดขึ้นมาเพื่ออัปเดตข้อมูลด้าน Google Search โดยเฉพาะ จัดเต็มไปด้วยเนื้อหาเรื่องการทำ SEO (Search Engine Optimization), Search Engine, Search
110

Google กลับลำไม่ยกเลิก Third-Party Cookies แล้ว!

ย้อนกลับไปในปี 2019 ได้มีประกาศสำคัญที่ว่า Google ยกเลิก Cookies บน Chrome และคาดว่าจะเลิกใช้ Third-Party Cookies ทั้งหมดได้ภายในปี 2024 เพราะ Google ต้องการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน พร้อมทั้ง
177

Search Engine คืออะไร มีอะไรบ้าง และแบ่งออกเป็นกี่ประเภท?

หลาย ๆ คนคงจะเคยเห็นคำว่า “Search Engine (เสิร์ชเอนจิน)” ผ่านตามาบ้างแล้ว จากการอ่านบทความหรือฟังพอดแคสต์ที่พูดถึงการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่มุ่งเน้นการเพิ่ม Or
142
th