1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. Technical SEO คืออะไร? กับ 8 เทคนิคการปรับปรุงฉบับพื้นฐาน
Technical SEO คืออะไร?
เผยแพร่เมื่อ: เมษายน 1, 2024 | แก้ไขเมื่อ: กันยายน 30, 2024

Technical SEO คืออะไร? กับ 8 เทคนิคการปรับปรุงฉบับพื้นฐาน

Table Of Contents

Search Engine Optimization (SEO) เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้อย่างยั่งยืนและนำมาซึ่งผลลัพธ์ด้านการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งการทำ SEO จะประกอบไปด้วยฝั่งของ On-Page SEO, Off-Page SEO และ Technical SEO หากพลาดการปรับแต่งส่วนไหนไป ผลลัพธ์ที่ออกมาอาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่คุณคาดหวังไว้ก็เป็นได้

สำหรับบริษัทไหนที่ไม่ได้มีทีม SEO ครบทุกตำแหน่ง หรือมีเพียง SEO Content Writer เพียงคนเดียว อาจจะทำให้คุณพลาดสิ่งสำคัญอย่างการปรับแต่งเว็บไซต์เชิงเทคนิค หรือ Technical SEO ไปก็เป็นไป ถึงแม้เว็บไซต์ของคุณจะมีคอนเทนต์ที่มีคุณภาพมากมาย แต่การมีคอนเทนต์ที่ดีอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอต่อการติดอันดับ SEO อย่างแน่นอน เพราะการติดอันดับบน Google จะต้องอาศัยเว็บไซต์ที่ดีและเอื้ออำนวยต่อการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายด้วย

ดังนั้น คุณจะต้องมาทำความเข้าใจว่า Technical SEO คืออะไร, Technical SEO มีอะไรบ้าง, Technical SEO มีความสำคัญแค่ไหน และเรียนรู้การ Optimize เว็บไซต์เชิงเทคนิคฉบับเบื้องต้นในบทความนี้เลย ANGA  รวบรวมข้อมูลไว้ให้คุณแล้ว!

Technical SEO คืออะไร

Technical SEO คือ การปรับปรุงโครงสร้างต่าง ๆ บนเว็บไซต์ และทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ Googlebot สามารถเข้ามาตรวจสอบ เก็บรวบรวมข้อมูล และนำไปจัดอันดับบน Search Engine ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพราะการทำ Technical SEO จะช่วยให้โครงสร้างเว็บไซต์เป็นระเบียบ เว็บไซต์โหลดเร็ว สามารถใช้งานได้อย่างลื่นไหล มีความปลอดภัยสูง และทำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่กลับไป ซึ่งหลาย ๆ อย่างที่ได้กล่าวไปนี้ เป็นสิ่งที่ Search Engine อย่าง Google ใช้ในการพิจารณาและจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้าแสดงผลการค้นหา (SERP) นั่นเอง

Technical SEO สำคัญแค่ไหน ทำไมถึงต้องทำ

เว็บไซต์ของคุณเปรียบเสมือนหน้าร้านที่อยู่บนโลกออนไลน์ ถ้าอยากได้ยอดขาย ร้านของคุณก็จะต้องพร้อมเปิดรับลูกค้าที่เข้ามาบนเว็บไซต์ตลอดเวลา คงจะไม่เป็นผลดีแน่ ๆ ถ้าลูกค้าเข้ามาแล้วเจอกับหน้าเปล่า ๆ หน้าเสีย (404 Not Found) หรือหน้าเว็บที่แสดงผลได้ช้ามาก ๆ 

เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกค้าอยากกดปิดเว็บไซต์ออกไปจากร้านของคุณทันที และเดินไปหาร้านคู่แข่งหรือเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ติดอันดับใกล้เคียงแทน เห็นได้ชัดว่าผลเสียของการไม่ทำ Technical SEO คือการเสียโอกาสทางการขาย เสียโอกาสในการเพิ่มยอดขาย และเสียโอกาสในการสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจ ดังนั้น นี่แหละคือเหตุผลว่าทำไมการทำ Technical SEO ถึงสำคัญ

8 เทคนิคการปรับปรุง Technical SEO ฉบับพื้นฐาน

8 เทคนิคการปรับปรุง Technical SEO ฉบับพื้นฐาน

การปรับปรุง Technical SEO บนเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ SEO และนักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer) เพราะรายละเอียดของการปรับปรุงจะมีทั้งในส่วนของตัวเว็บไซต์และเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย และนี่ก็เป็น 8 เทคนิคการปรับปรุง Technical SEO ฉบับพื้นฐานของปี 2024 ที่เราเอามาฝากกัน มาเรียนรู้และลงมือ Optimize เว็บไซต์ให้มีคุณภาพและพร้อมสำหรับการติดอันดับดี ๆ บน Google ได้เลย!

1. Page Speed

เทคนิคแรกของการทำ Technical SEO คือการปรับปรุง Page Speed (ความเร็วในการแสดงผลของหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้า) ให้เว็บสามารถโหลดได้เร็วที่สุด เพราะถ้าเว็บของคุณโหลดช้า อาจจะทำให้ Bounce Rate (อัตราการตีกลับ) สูงขึ้น และส่งผลเสียต่ออันดับของ SEO ได้ เช่น การปรับขนาดของรูปภาพและวิดีโอที่ใช้, การแปลงไฟล์รูปภาพให้เป็น WebP, การใช้ Cache, การเอา JavaScript ที่ไม่จำเป็นออกไป หรือการบีบอัดไฟล์ต่าง ๆ ให้มีขนาดเล็กลง เป็นต้น

2. Website Structure

Website Structure หรือโครงสร้างเว็บไซต์เป็นเหมือนกับแผนผังที่แสดงว่าหน้าแต่ละหน้าอยู่ตรงส่วนไหนของเว็บไซต์ และแต่ละหน้ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ถ้าโครงสร้างเว็บไซต์ของคุณถูกวางอย่างเป็นระเบียบ มีการวางระบบนำทางที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้ใช้งานใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ของคุณนานขึ้น และยังเป็นผลดีตอนที่ Googlebot เข้ามาสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลไปทำดัชนีและจัดอันดับด้วย

3. XML Sitemap

XML Sitemap (แผนผังเว็บไซต์) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณไม่ควรมองข้ามไปในการปรับปรุง Technical SEO เพราะ XML Sitemap จะเป็นไฟล์ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหน้าต่าง ๆ บนเว็บไซต์ไว้ทั้งหมด เพื่อให้ Search Engine นำข้อมูลไปจัดทำดัชนีได้เร็วขึ้น ซึ่งคุณจะต้องสร้าง XML Sitemap ก่อน จากนั้นก็ส่งไปให้ Search Engine ตรวจสอบด้วยเครื่องมือ Google Search Console

4. Robots.txt

Robots.txt เป็นไฟล์ที่ใช้ในการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลบนเว็บไซต์จาก Googlebot เพื่อป้องกันไม่ให้ Googlebot เข้าถึงหน้าเว็บที่เราไม่ต้องการ เช่น หน้า Dashboard, หน้าที่ยังปรับปรุงไม่เสร็จ, หน้าที่มีข้อมูลส่วนตัว หรือหน้าเว็บที่มีปัญหาเรื่องคอนเทนต์ซ้ำแต่ยังไม่ได้แก้ไข เป็นต้น

5. Mobile-Friendly

Google จะให้คะแนนพิเศษกับเว็บไซต์ที่รองรับการแสดงผลบนอุปกรณ์มือถือมากกว่าอุปกรณ์อื่น ๆ อย่างคอมพิวเตอร์ เพราะคนส่วนใหญ่ที่ใช้งาน Google มักจะค้นหาสิ่งต่าง ๆ และเข้าไปยังเว็บไซต์ผ่านมือถือนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ คุณจะต้องปรับปรุงเว็บไซต์ให้สามารถแสดงผลได้ดีบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile-Friendly) ด้วย หรือจะใช้ Responsive Design เข้ามาช่วยก็ได้เช่นกัน

6. SSL Connection 

SSL Connection เป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่จำเป็นต้องมีทุกเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณมีความน่าเชื่อถือ ช่วยให้ผู้ใช้งานไว้วางใจว่าจะไม่ถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวอย่างแน่นอน และป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ถูกโจมตีได้อีกด้วย วิธีสังเกตว่าเว็บไซต์ที่คุณใช้งานอยู่ปลอดภัยหรือไม่ ให้ดูจาก URL ของเว็บไซต์ว่าเป็น HTTPS (มี S ) หรือไม่

7. URL Structure

URL Structure (โครงสร้างของ URL) จะต้องถูกปรับปรุงให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้งานและ Search Engine ด้วย นั่นก็คือการออกแบบให้อ่านง่าย อ่านแล้วรู้ว่าหน้านั้น ๆ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดย URL จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ Protocal (https://), Domain Name (anga.co.th) และ Path (ชื่อ URL ที่คุณจะต้องกำหนดลงไป) แนะนำให้กำหนด URL ให้สั้นที่สุด มีคีย์เวิร์ดประกอบ สื่อความหมายได้ และถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็จะดีต่อการนำไปใช้งานมากขึ้นด้วย

8. Schema Markup

การติดตั้ง Schema Markup (โค้ด) จะช่วยให้ Search Engine เข้าใจเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยเพิ่มโอกาสในการติดอันดับ SEO ในรูปแบบที่โดดเด่นกว่าเว็บไซต์อื่น ๆ อีกด้วย ซึ่ง Schema Markup ก็มีให้เลือกหลากหลายประเภท เช่น Article, Person, How To, Review, Product, Event, Organization, Video ฯลฯ แนะนำให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของเว็บไซต์และประเภทของเนื้อหาจะเป็นการดีที่สุด

ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของเว็บไซต์

ปัญหาด้าน Website Security

Website Security (ความปลอดภัยของเว็บไซต์) เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกเว็บไซต์ต้องคำนึงถือเป็นอย่างแรก เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานหลุดออกไป โดยเว็บไซต์ของคุณจำเป็นที่จะต้องทำงานบนโปรโตคอล HTTPS (Hypertext Transfer Protocol Secure) จึงจะป้องกันข้อมูลต่าง ๆ จากบุคคลภายนอกได้ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซต์ได้อีกด้วย

Unauthorized Access and Malware Injection

การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตและการฝังมัลแวร์ เป็นปัญหาร้ายแรงที่สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเว็บไซต์ อย่างการแสดงโฆษณาที่ไม่พึงประสงค์ หรือแพร่กระจายมัลแวร์ไปยังผู้ใช้งานเว็บไซต์

วิธีแก้ไข

  • เลือกโฮสที่ดีและมีระบบ firewall ที่แข็งแกร่ง
  • อัปเดตซอฟต์แวร์ที่ใช้ในเว็บไซต์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเสมอ
  • ตรวจสอบไฟล์และโค้ดของเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่น่าสงสัย
  • จำกัดการเข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์สำคัญด้วยการตั้งค่าสิทธิ์การเข้าถึงที่เหมาะสม
  • ใช้ HTTPS เพื่อเข้ารหัสการสื่อสารระหว่างผู้ใช้และเซิร์ฟเวอร์

Website Password Hacking

ปัญหาเรื่องการแฮกรหัสผ่านเว็บไซต์ อาจจะทำให้คุณถูกขโมยข้อมูลลูกค้า เปลี่ยนเนื้อหาในเว็บ หรือแย่ยิ่งกว่านั้นคือใช้เว็บเราไปทำเรื่องไม่ดีได้ นอกจากจะทำให้เราสูญเสียความน่าเชื่อถือแล้ว ยังกระทบตอนอันดับ SEO ด้วย

วิธีแก้ไข

  • เปลี่ยนไปใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อนและคาดเดาได้ยาก
  • เปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ
  • เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนแบบสองชั้น (Two-Factor Authentication)
  • จำกัดจำนวนครั้งในการล็อกอินที่ผิดพลาด

ปัญหาด้าน HTTP

ปัญหาเว็บไซต์ด้าน HTTP (Hypertext Transfer Protocol) ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์โดยตรง ซึ่ง HTTP เป็นโปรโตคอลพื้นฐานสำหรับการสื่อสารระหว่างเว็บเบราว์เซอร์ของผู้ใช้และเว็บเซิร์ฟเวอร์ ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการนี้สามารถส่งผลเสียต่อประสบการณ์ของผู้ใช้และการจัดอันดับในเครื่องมือค้นหาได้

1. Security certificate expires soon

ปัญหาเรื่องใบรับรองความปลอดภัยหรือ SSL (Secure Sockets Layer) หมดอายุ ทำให้การเชื่อมต่อไม่ปลอดภัย ส่งผลให้เว็บไซต์ขาดความน่าเชื่อถือ

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบวันหมดอายุของใบรับรองความปลอดภัยอยู่เสมอและรีบต่ออายุทันทีที่ใบรับรองหมดอายุ

2. Outdated security protocol version

การใช้ SSL หรือ TLS เวอร์ชันเก่า (เวอร์ชัน 1.0) อาจะทำให้มีข้อผิดพลาดหรือถูกโจรกรรมข้อมูลได้

วิธีแก้ไข

อัปเดตไปใช้เป็นเวอร์ชันใหม่ล่าสุด เพราะเวอร์ชันใหม่จะมีประสิทธิภาพมากกว่าและแก้ไขช่องโหว่จากเวอร์ชันเก่ามาแล้ว

3. Certificate name mismatch

ปัญหาเรื่องชื่อโดเมนที่ลงทะเบียนกับใบรับรองความปลอดภัย SSL และชื่อที่แสดงบนแถบ URL ไม่ตรงกัน

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนลงทะเบียน SSL
  • ต่ออายุใบรับรองทันที เมื่อใบรับรองหมดอายุ
  • ติดต่อผู้ให้บริการ SSL เพื่อขอแก้ไขข้อมูล

4. Outdated encryption algorithm

ปัญหาเรื่องการใช้อัลกอริทึมการเข้ารหัสที่ล้าสมัยบนเว็บไซต์ อย่าง DES (Data Encryption Standard) หรือ MD5 (Message Digest 5) อาจทำให้เกิดช่องโหว่ที่แฮกเกอร์สามารถเข้ามาขโมยข้อมูลได้

วิธีแก้ไข

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์

5. HTTP URLs in XML sitemap

เว็บไซต์ใดที่ใช้ HTTP ใน XML sitemap อาจทำให้ผู้ใช้งานไม่ไว้ใจเว็บไซต์ของคุณและทำให้อันดับเว็บไซต์บน Google ลดลงได้ นอกจากนี้ยังส่งผลกับการโฆษณาในบางแพลตฟอร์ม ที่จำกัดให้แสดงผลได้เฉพาะกับเว็บไซต์ที่ใช้ HTTPS เท่านั้นด้วย

วิธีแก้ไข

เพิ่มระบบความปลอดภัยให้แก่เว็บไซต์หรือเปลี่ยนไปใช้ HTTPS

6. No HTTPS encryption

เว็บไซต์ไม่มีการเข้ารหัส HTTPS ทำให้เกิดการเชื่อมต่อที่ล้าสมัย ไม่ปลอดภัย และส่งผลกระทบต่อความเชื่อใจของผู้ใช้งาน

วิธีแก้ไข

ติดตั้งใบรับรองความปลอดภัย SSL เพื่อเปลี่ยน URL จาก HTTP เป็น HTTPS และอัปเดต XML sitemap ให้ Google รู้ถึงความเปลี่ยนแปลง

7. rel=”canonical” from HTTPS to HTTP

ปัญหาเรื่องการทำ rel=”canonical” จากหน้าที่เป็น HTTPS ไปยังหน้าที่เป็น HTTP อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ในสายตาของ Google ได้

วิธีแก้ไข

ทำ Canonical Tag ไปยังหน้าเว็บไซต์ที่เป็น HTTPS เท่านั้น

8. Redirect from HTTPS to HTTP

ปัญหาเรื่องการ Redirect จากหน้าที่เป็น HTTPS ไปยังหน้าปลายทางที่เป็น HTTP อาจทำให้เกิดการโจรกรรมหรือเจาะล้วงข้อมูลได้ 

วิธีแก้ไข

แก้ไขการ Redirect ไปยังหน้าที่เป็น HTTPS เท่านั้น

9. Mixed content

Mixed content คือการที่หน้าเว็บไซต์ของคุณบางส่วนโหลดผ่านการเชื่อมต่อที่ปลอดภัย (HTTPS) แต่บางส่วนกลับถูกเชื่อมต่ออย่างไม่ปลอดภัย (HTTP) ไม่เพียงแต่จะทำให้ความปลอดภัยของเว็บไซต์น้อยลงแล้ว ยังทำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีกลับไปด้วย

วิธีแก้ไข

  • ติดตั้งใบรับรองความปลอดภัย ให้เว็บไซต์เป็น HTTPS ตั้งแต่แรก
  • ตรวจสอบให้ละเอียดว่าไฟล์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นไฟล์รูปภาพ, CSS หรือ JavaScript ถูกอัปโหลดผ่านเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับ HTTPS
  • ตรวจสอบ HTTPS ใน GSC
  • ตรวจสอบ  URL แปลกๆในหัวข้อ  pages ในGSC
  • ตรวจสอบ Manual action ใน GSC
  • ตรวจสอบ Security ใน GSC

วิธีป้องกัน

  • การใช้ Cloudflare (มีข้อดีมากกว่า Security คือทำให้เว็บเร็วขึ้นด้วย)
  • การ Limit bot อนุญาตให้บอตเข้าเฉพาะตัวที่คิดว่าปลอดภัย
  • การเลือกใช้ SSL Certificate (มีหลายเเบบต้องเลือกให้เหมาะกับระดับความเสี่ยงของเว็บ)
  • การจำกัดการ Login หลังบ้าน
ปัญหาเว็บไซต์เชิงเทคนิค

ปัญหาด้านการ Crawling

การ Crawling คือการที่บอตของ Google เข้าไปอ่านข้อมูลบนเว็บไซต์ เพื่อนำไปจัดทำดัชนีและจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้า Google Search Results Page (SERPs) ถ้าการ Crawling เกิดปัญหาติดขัดอะไร หน้าเว็บไซต์นั้นก็จะไม่สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานบน Google Search ได้

1. XML sitemap is too large

ปัญหาเรื่องไฟล์ XML sitemap ใหญ่เกินไป (มากกว่า 50MB) หรือมี URL เกิน 50,000 รายการ อาจทำให้ Google ไม่สามารถเข้าไปเก็บข้อมูลเว็บไซต์ได้ครบทุกหน้าได้

วิธีแก้ไข

  • บีบอัดไฟล์ XML sitemap ให้มีขนาดเล็กลง
  • กำหนดจำนวน URL ต่อไฟล์ให้น้อยกว่า 50,000 รายการ
  • สร้างไฟล์ย่อยหลาย ๆ ไฟล์

2. Non-canonical pages in XML sitemap

พบหน้าเว็บที่มีเนื้อหาซ้ำกับหน้าอื่น ๆ บนเว็บไซต์ แต่ไม่ได้ถูกตั้งค่า Canonical Tag ใน XML sitemap ซึ่งจะส่งผลเสียต่อ Traffic ที่เข้ามาบนเว็บไซต์ได้

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบหน้าเว็บที่ซ้ำกันใน Sitemap และตั้งค่า Canonical Tag ในหน้าเว็บที่ต้องการ

3. Noindex pages in XML sitemap

การใส่ Noindex pages (หน้าที่ไม่ต้องการให้ Googlebot เข้ามาเก็บข้อมูล) ใน XML sitemap อาจทำให้ Google สับสนได้ เพราะปกติแล้ว หน้าที่อยู่ใน XML sitemap จะเป็นหน้าที่ต้องการให้แสดงบนเว็บไซต์และ Google นั่นเอง

วิธีแก้ไข

ลบหน้าเว็บที่ติดแท็ก Noindex ออกจาก XML sitemap

4. XML sitemap missing

ปัญหาเรื่อง XML sitemap หายไป อาจทำให้ Google ไม่เข้าใจโครงสร้างเว็บไซต์และส่งผลต่ออันดับเว็บไซต์บน Google ได้

วิธีแก้ไข

สร้าง XML Sitemap และอัปโหลดไปยังเซิร์ฟเวอร์ ผ่าน Google Search Console

5. Robots.txt file not found

ปัญหาเรื่องไฟล์ robots.txt หาย

วิธีแก้ไข

สร้างไฟล์ robots.txt ใหม่ และอัปโหลดที่ root directory ของเว็บไซต์ 

6. Frame is used

ปัญหาเรื่องการใช้แท็ก <frame> ใน HTML ที่เป็นปัญหาก็เพราะว่า Google ไม่สามารถอ่านเนื้อหาที่อยู่ในเว็บไซต์ที่ใช้แท็ก <frame> ได้

วิธีแก้ไข

ใช้ CSS จัดรูปแบบและแบ่งส่วนต่าง ๆ ของหน้าเว็บไซต์แทนแท็ก <frame> 

7. URL too long

URL ยาวเกินเกินไป (ยาวมากกว่า 2,000 อักขระ)

วิธีแก้ไข

แก้ไข URL ให้สั้นลง พร้อมกับทำ Redirect จากหน้าที่มี URL ยาวไปยังหน้าใหม่ที่ URL สั้น

8. HTML and HTTP header contain noindex

ปัญหาเรื่องการกำหนด Noindex ซ้ำซ้อนใน HTML และ HTTP Header

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบส่วน <head> ของหน้าเว็บที่ต้องการแก้ไข และลบแท็ก <meta name=”robots” content=”noindex”> ออก
  • ตรวจสอบการตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์และลบคำสั่ง X-Robots-Tag ที่กำหนดค่า  Noindex สำหรับหน้าเว็บนั้น

9. HTML and HTTP header contain nofollow

ปัญหาเรื่องการกำหนด nofollowซ้ำซ้อนใน HTML และ HTTP Header

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบส่วน <head> ของหน้าเว็บที่ต้องการแก้ไข และลบแท็ก <meta name=”robots” content=”nofollow”> ออก
  • ตรวจสอบการตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์และลบคำสั่ง X-Robots-Tag ที่กำหนดค่า nofollow สำหรับหน้าเว็บนั้น

10. Canonical chain

ปัญหาเรื่อง Canonical chain (หน้าเว็บหลาย ๆ หน้ามีการทำ Canonical กันไปมา ทำให้เกิดเป็นห่วงโซ่หรือการทำ Canonical เป็นวงกลมขึ้น) ส่งผลให้ Google สับสน เพราะแต่ละหน้าต่างถูกตั้งค่าให้เป็นหน้าหลักทั้งสิ้น

วิธีแก้ไข

เลือกหน้าหลักที่ต้องการให้ติดอันดับเพียงหน้าเดียว และทำ Canonical จากหน้าอื่น ๆ มายังหน้านี้ แต่ไม่ต้องทำ Canonical จากหน้าหลักไปยังหน้าอื่น

11. Blocked by robots.txt

หน้าเว็บถูกบล็อกโดยไฟล์ robots.txt

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบไฟล์ robots.txt และแก้ไขให้ถูกต้อง อาจจะใช้ แท็ก <meta name=”robots” content=”noindex”> ในส่วน <head> แทนการบล็อกหน้าเว็บในไฟล์ robots.txt

12. Blocked by noindex

ปัญหาเรื่องหน้าเว็บถูกบล็อกโดย noindex

วิธีแก้ไข

ลบแท็ก noindex ออก และตรวจสอบไฟล์ robots.txt อีกครั้งให้แน่ใจ

13. Blocked by nofollow

หน้าเว็บมีการติดแท็ก nofollow ทำให้ Google ไม่ติดตามลิงก์อื่น ๆ ที่อยู่บนหน้าดังกล่าว

วิธีแก้ไข

ลบแท็ก nofollow ออกจากโค้ด HTML

14. Blocked by X-Robots-Tag

การบล็อกหน้านี้ด้วยการตั้ง X-Robots-Tag เป็น noindex 

วิธีแก้ไข

ปลด noindex ออก ในกรณีที่ต้องการให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์และจัดทำดัชนี

15. rel=”canonical” from HTTP to HTTPS

ปัญหาเรื่องการทำ rel=”canonical” จากหน้าที่เป็น HTTP ไปยังหน้าที่เป็น HTTPS 

หน้า HTTP บางหน้าในไซต์ของคุณใช้แอตทริบิวต์ rel=”canonical” ซึ่งชี้ไปยังเวอร์ชัน HTTPS ของไซต์ หากสามารถเข้าถึงไซต์ของคุณผ่านโปรโตคอล HTTPS อยู่แล้ว ควรตั้งค่าการเปลี่ยนเส้นทาง 301

วิธีแก้ไข

เปลี่ยนเป็นการทำ Redirect จากหน้าที่เป็น HTTP ไปยังหน้าที่เป็น HTTPS แทน

16. Timed out

ปัญหาเรื่อง Time out หรือหมดระยะเวลาในการตอบกลับจากเซิร์ฟเวอร์ (15 วินาที) ซึ่งอาจเกิดจากเซิร์ฟเวอร์ล่ม, สัญญาณอินเทอร์เน็ตขัดข้อง, โค้ดของบอตมีปัญหา และอาจจะเกิดได้จากการที่เซิร์ฟเวอร์ตั้งค่าให้มีการจำกัดเวลาในการตอบสนองสั้นเกินไปก็ได้เช่นกัน

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบสถานะของเซิร์ฟเวอร์ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และโค้ดของบอต รวมถึงการเพิ่มระยะเวลาในการรอการตอบสนองให้นานขึ้น

ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาบนเว็บไซต์

ปัญหาด้านการ Duplicate Content

Duplicate Content คือปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนของเนื้อหา หรือหมายความว่าบนเว็บไซต์ของคุณมีหน้าที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันมากเกินไป อย่างน้อย 2 หน้านั่นเอง

1. No WWW redirect

ไม่มีการ Redirect ระหว่าง WWW กับ Non-WWW อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่อง Duplicate Content ได้

วิธีแก้ไข

กำหนดให้เว็บไซต์เป็น WWW หรือ Non-WWW อย่างใดอย่างหนึ่ง และทำ Redirect จากเวอร์ชันรองไปยังเวอร์ชันหลัก

2. Multiple rel=”canonical”

การตั้งค่าแท็ก rel=”canonical” หลาย ๆ แท็กไปยัง URL ที่แตกต่างกัน ในหน้าเดียว

วิธีแก้ไข

เลือกติดแท็ก rel=”canonical” เพียง 1 URL ต่อ 1 หน้าเท่านั้น 

3. Duplicate content

บนเว็บไซต์มีเนื้อหาซ้ำกันหรือคล้ายคลึงกันมากในหลาย ๆ หน้า

วิธีแก้ไข

เรียบเรียงเนื้อหาในหน้ารองใหม่ให้แตกต่างจากเดิม หรือทำ Redirect ไปยังหน้าหลักที่ต้องการให้ติดอันดับ

4. URLs with double slash

ปัญหาเรื่อง URL มีเครื่องหมายทับ “/” (slash) ซ้อนกันสองอัน

วิธีแก้ไข

แก้ไขให้มีเครื่องหมายทับเพียง 1 อัน พร้อมกับทำ redirect ในหน้าที่ถูกจัดทำดัชนีแล้ว

ปัญหาด้าน HTTP Status Code 

HTTP Status Code เป็นรหัสที่เซิร์ฟเวอร์ส่งกลับมาเพื่อบอกสถานะของการร้องขอ การจัดการ Status Code ที่ถูกต้องมีความสำคัญต่อ SEO และประสบการณ์ผู้ใช้

1. 4XX pages in XML sitemap

การมีหน้าที่ไม่มีอยู่จริง (4XX) อยู่ใน XML sitemap

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบและลบ URL ที่ไม่มีอยู่จริงออกจาก sitemap
  • อัปเดต sitemap ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
  • ใช้เครื่องมือสร้าง sitemap อัตโนมัติที่เชื่อถือได้

2. 3XX redirects in XML sitemap

มีหน้าที่ถูก redirect (3XX) อยู่ใน XML sitemap

วิธีแก้ไข

  • แก้ไข URL ใน sitemap ให้ชี้ไปยังปลายทางสุดท้ายโดยตรง
  • ลบ URL ที่ถูก redirect ออกจาก sitemap
  • ตรวจสอบและปรับปรุง redirect chain ให้สั้นที่สุด

3. 5XX pages in XML sitemap

มีหน้าที่เกิดข้อผิดพลาดที่เซิร์ฟเวอร์ (5XX) อยู่ใน XML sitemap

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เซิร์ฟเวอร์
  • ลบ URL ที่มีปัญหาออกจาก sitemap จนกว่าจะแก้ไขเสร็จ
  • ตั้งค่าการแจ้งเตือนเมื่อเกิดข้อผิดพลาด 5XX

4. 3XX HTTP status code

มีการ redirect ที่อาจไม่จำเป็นหรือไม่เหมาะสม

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบความจำเป็นของการ redirect
  • ใช้ 301 redirect สำหรับการเปลี่ยนแปลงถาวร
  • ลด redirect chain ให้เหลือน้อยที่สุด

5. 4XX HTTP Status Codes

มีหน้าที่ไม่พบหรือไม่สามารถเข้าถึงได้

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบและแก้ไข URL ที่ผิด
  • สร้างหน้า 404 ที่เป็นประโยชน์
  • ใช้ 301 redirect สำหรับหน้าที่ย้ายไปยัง URL ใหม่

6. 5XX HTTP Status Codes

มีข้อผิดพลาดที่เซิร์ฟเวอร์

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เซิร์ฟเวอร์
  • เพิ่มทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์หากจำเป็น
  • ตั้งค่าการแจ้งเตือนสำหรับข้อผิดพลาด 5XX

7. Canonical URL with a 3XX/4XX/5XX Status Code

URL ที่ถูกระบุเป็น canonical มีปัญหา (redirect, ไม่พบ, หรือข้อผิดพลาดเซิร์ฟเวอร์)

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบและแก้ไข canonical URL ให้ถูกต้อง
  • ใช้ canonical URL ที่เป็นหน้าสุดท้ายที่ไม่มีการ redirect
  • แก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิด 4XX หรือ 5XX บนหน้า canonical

8. Internal/External links to 3XX/4XX/5XX

มีลิงก์ภายในหรือภายนอกที่ชี้ไปยังหน้าที่มีปัญหา

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบและอัปเดตลิงก์ภายในให้ชี้ไปยัง URL ที่ถูกต้อง
  • ลบหรือแก้ไขลิงก์ภายนอกที่ไม่สามารถเข้าถึงได้
  • ใช้เครื่องมือตรวจสอบลิงก์เป็นประจำ

9. Hreflang to 3XX, 4XX or 5XX

hreflang ชี้ไปยัง URL ที่มีปัญหา

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบและแก้ไข URL ใน hreflang ให้ถูกต้อง
  • ลบ hreflang ที่ชี้ไปยังหน้าที่ไม่มีอยู่จริง
  • ตรวจสอบความถูกต้องของการตั้งค่า hreflang เป็นประจำ

10. 3XX/4XX/5XX images/JavaScript file/CSS file

ไฟล์รูปภาพ, JavaScript, หรือ CSS มีปัญหาในการโหลด

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบและแก้ไข path ของไฟล์ให้ถูกต้อง
  • อัปโหลดไฟล์ที่หายไปกลับเข้าเซิร์ฟเวอร์
  • แก้ไขปัญหาที่เซิร์ฟเวอร์ที่ทำให้ไม่สามารถโหลดไฟล์ได้

11. External JavaScript and CSS files with 3XX, 4XX or 5XX

ไฟล์ JavaScript และ CSS จากแหล่งภายนอกมีปัญหาในการโหลด

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบและอัปเดต URL ของไฟล์ภายนอกให้ถูกต้อง
  • พิจารณาโฮสต์ไฟล์สำคัญบนเซิร์ฟเวอร์ของคุณเอง
  • ใช้ Content Delivery Network (CDN) ที่น่าเชื่อถือ
  • ตั้งค่า fallback สำหรับกรณีที่ไฟล์ภายนอกไม่สามารถโหลดได้
ปัญหาการทำ-SEO

ปัญหาด้าน Title

Title หรือ Title Tags เป็นแท็ก HTML ที่สำคัญมาก เพราะมันจะถูกนำไปแสดงผลบนหน้า SERP ให้ผู้ใช้งานเห็น รวมทั้งยังเป็นคำอธิบายให้ Google ได้เข้าถึงว่าหน้าดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรอีกด้วย

1. URLs with duplicate page titles

ปัญหาเรื่อง Title ซ้ำกัน จะทำให้ Google สับสนและทำให้อันดับเว็บไซต์ตกลงได้

วิธีแก้ไข

แก้ไข Title ให้ไม่ซ้ำกับหน้าอื่น ๆ ทั้งในเว็บไซต์เดียวกันและเว็บไซต์อื่น ๆ ด้วย โดยแนะนำให้ใช้ Keyword หลักของหน้านั้น ๆ มาแต่งเป็นประโยคที่บ่งบอกถึงเนื้อหาภายในหน้าดังกล่าว

2. Multiple title tags

ปัญหาเรื่องมี Title Tags หลายอันในหน้าเดียว ทำให้ Google สับสนและไม่รู้ว่าจะเลือกอันไหนไปแสดงผลดี

วิธีแก้ไข

ลบ Title Tags ที่ไม่จำเป็นออกไป

3. Title tag missing

ปัญหาเรื่อง Title tags หาย (อาจจะลืมใส่)

วิธีแก้ไข

เพิ่ม Title Tag ในหน้านั้น ๆ และตรวจสอบว่าขึ้นหรือยัง

4. Title too long

ปัญหาเรื่อง Title ยาวเกินไป จะทำให้ผู้ใช้งานมองเห็นข้อความไม่ครบ

วิธีแก้ไข

แก้ไขให้ Title มีความยาวไม่เกิน 65 ตัวอักษร

5. Title too short

ปัญหาเรื่อง Title สั้นเกินไป อาจจะอธิบายเนื้อหาภายในหน้าเว็บไซต์ได้ไม่ครอบคลุม

วิธีแก้ไข

ปรับปรุง Title ใหม่ให้มีความยาวตั้งแต่ 20 – 65 ตัวอักษร อาจจะหยิบประเด็นสำคัญภายในหน้าดังกล่าวมาแต่งประโยคควบคู่ไปกับคีย์เวิร์ดหลักก็ได้

ปัญหาด้าน Description

Meta Description เป็นแท็ก HTML ที่ใช้ในการอธิบายและสรุปเนื้อหาของแต่ละหน้า เพื่อให้ Google และผู้ใช้งานเข้าใจว่าเนื้อหาในหน้าดังกล่าวเอ่ยถึงเรื่องอะไร โดยจะเป็นการขยายความเพิ่มเติมจาก Title Tags นั่นเอง

1. Description missing

ปัญหาเรื่อง Meta Description หาย

วิธีแก้ไข

เพิ่ม Meta Description ที่มีข้อความแตกต่างหรือไม่ซ้ำกับหน้าอื่น ๆ บนเว็บไซต์

2. Duplicate description

ปัญหาเรื่อง Meta Description ซ้ำซ้อน

วิธีแก้ไข

แก้ไข Meta Description ให้ตรงกับคีย์เวิร์ดและเนื้อหาในหน้าแต่ละหน้า

3. Multiple description tags

ปัญหาเรื่องการมี Meta Description หลายอันในหน้าเดียว

วิธีแก้ไข

ลบแท็ก Meta Description ที่ไม่จำเป็นออกไป

4. Description too long

ปัญหาเรื่อง Meta Description ยาวเกินไป

วิธีแก้ไข

ควรแก้ไขให้มีความยาวไม่เกิน 158 ตัวอักษร

ปัญหาด้าน Usability

Usability (ความสามารถในการใช้งาน) คือความยากง่ายในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าเว็บไซต์มี Usability ที่ดีจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกมากที่สุด ทุกอย่างเอื้ออำนวยและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากที่สุด ซึ่งในส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับ UX/UI Design ด้วย ถ้าหากมีการออกแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้ Usability ไม่ดี ก็จะส่งผลกระทบต่ออันดับเว็บไซต์ ประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ และไม่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับยอดขายได้

1. Favicon missing

ปัญหาเรื่อง Favicon (ไอคอนขนาดเล็กหน้า URL Address) หายไป

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบว่ามีการเพิ่มไฟล์ Favicon ในโฟลเดอร์ root ของเว็บไซต์แล้วหรือยัง, Favicon ที่อัปโหลดอยู่ในรูปแบบไฟล์ .ico, .png หรือ .gif ไหม, ตรวจสอบโค้ด HTML และอัปโหลด favicon ใหม่

2. X (ex-Twitter) Card tag missing

ปัญหาเรื่อง X Card Tag ขาดหายไป หากเว็บไซต์ของคุณไม่มีแท็กนี้ Title, Description, รูปภาพ หรืออื่น ๆ อาจจะไม่ถูกดึงมาแสดงได้

วิธีแก้ไข

  • เพิ่ม X Card Tag ในส่วน <head> ของหน้าเว็บไซต์
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่า URL ที่ระบุในแท็ก X Card เป็น URL แบบสมบูรณ์ (Absolute URL) และใช้โปรโตคอล http:// หรือ https://

Website responds slowly after clicking

ปัญหาเรื่องเว็บไซต์ตอบสนองต่อการคลิกของผู้ใช้งานช้า ทำให้ผู้ใช้งานรอนาน กว่าที่เว็บไซต์จะแสดงผลตามที่พวกเขาต้องการ

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบ Code ของเว็บไซต์ที่เขียนไปว่าทำงานถูกต้องไหม

Website display distorted

ปัญหาเรื่องเว็บไซต์แสดงผลเพี้ยนจากที่ตั้งใจไว้ หรือแสดงผลไม่เหมาะสมในแต่ละอุปกรณ์

วิธีแก้ไข

เช็กการแสดงผลของเว็บไซต์บนหลากหลายอุปกรณ์

Website Has Multiple Versions

ปัญหาเรื่องเว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้หลายเวอร์ชัน (URL ต่างกัน เเต่เมื่อกดเข้าไปแล้ว ดันไปที่หน้าเดียวกัน) อาจทำให้ผู้ใช้งานสับสนและ Google มองว่านี่คือ Duplicate Content ได้

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบปัญหาเกี่ยวกับ URL ซ้ำซ้อนบน GSC
  • สร้าง 301 Redirect เปลี่ยนเส้นทาง URL ไปยังหน้าที่เหมาะสม
  • ตรวจสอบการตั้งค่า CMS
เว็บไซต์โหลดช้าต้องทำยังไง

ปัญหาด้าน Website Speed

Website Speed (ความเร็วเว็บไซต์) เป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกเว็บไซต์ต้องปรับปรุงให้เว็บไซต์โหลดเร็วและโหลดไวที่สุด เพราะถ้าเว็บไซต์ของคุณโหลดช้าหรือไม่แสดงผลภายในระยะเวลาไม่กี่วินาที มันอาจส่งผลต่อยอดขาย, Convertion rate, Website traffic, อันดับ SEO และความพึงพอใจของผู้ใช้งานได้

1. HTML size too big

ขนาดของโค้ด HTML ใหญ่เกินไป (มากกว่า 3 MB) ทำให้หน้าเว็บโหลดช้า

วิธีแก้ไข

  • สามารถทำได้โดยการบีบอัดไฟล์
  • ลดขนาดไฟล์รูปภาพและวิดีโอ
  • ใช้โครงสร้าง HTML ที่เรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ
  • ลบโค้ดที่ไม่จำเป็นออกไป
  • ใช้ Browser Caching
  • ใช้ CDN (Content Delivery Network)
  • ลดการใช้งาน JavaScript

2. Slow page loading speed

ปัญหาเรื่องหน้าบางหน้าบนเว็บไซต์โหลดช้ามาก

วิธีแก้ไข

  • ลดขนาดไฟล์ HTML, CSS, JavaScript, รูปภาพ และวิดีโอ
  • ปรับปรุงเซิร์ฟเวอร์ หรือย้ายไปใช้เซิร์ฟเวอร์ที่เร็วกว่า

3. Uncompressed content

Uncompressed content คือการที่เนื้อหาของหน้าเว็บไซต์ไม่ได้ถูกบีบอัดก่อนส่งไปยังเบราว์เซอร์ของผู้ใช้งาน ทำให้หน้าเว็บมีขนาดใหญ่และแสดงผลช้า (โหลดนาน)

วิธีแก้ไข

  • ลดขนาดไฟล์ HTML, CSS, JavaScript, รูปภาพ และวิดีโอ
  • ปรับปรุงเซิร์ฟเวอร์ หรือย้ายไปใช้เซิร์ฟเวอร์ที่เร็วกว่า

คำแนะนำจาก SEO Specialist เรื่อง Website Speed

  • จำกัดขนาดไฟล์รูปไม่ให้ใหญ่เกิน 300kb 
  • ใช้ Format ของรูปภาพบนเว็บไซต์เป็น WebP
  • เลือกใช้ CDN เพื่อเพิ่มความเร็ว
  • การทำ Caching

ปัญหาด้าน Textual Content

Textual Content เป็นปัญหาด้านข้อความหรือข้อมูลที่นำเสนอในรูปแบบตัวอักษร ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของ การทำ SEO ก็ว่าได้ เพราะเนื้อหาบนเว็บไซต์จะถูกใช้ในการสื่อสารให้ผู้ใช้งานเข้าใจสิ่งที่คุณต้องการบอกพวกเขา รวมทั้งยังทำให้เว็บไซต์ดูน่าเชื่อถือและถูกนำไปจัดอันดับบน Google ได้ด้วย

1. H1 tag missing

ปัญหาเรื่องแท็ก H1 หายไป

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกหน้าเว็บมีแท็ก H1 ที่ไม่ซ้ำกัน โดยควรใช้แท็ก H1 เพียงแท็กเดียวต่อหน้า และให้แท็ก H1 อธิบายเนื้อหาหลักของหน้านั้น ๆ อย่างชัดเจน

2. H1 tag empty

ปัญหาเรื่องแท็ก H1 ว่างเปล่า

วิธีแก้ไข

เพิ่มข้อความที่มีความหมายและเกี่ยวข้องลงในแท็ก H1 ให้กับทุกหน้าเว็บ ใช้คำหลักสำคัญและอธิบายเนื้อหาหลักของหน้านั้น ๆ อย่างกระชับ

3. H1 tag too long

ปัญหาเรื่องแท็ก H1 ยาวเกินไป ทำให้ผู้อ่านอาจสับสนและไม่สามารถจับประเด็นสำคัญของหน้าเว็บได้อย่างรวดเร็ว

วิธีแก้ไข

ปรับความยาวของแท็ก H1 ให้อยู่ระหว่าง 20-70 ตัวอักษร พยายามสื่อสารหัวข้อหลักของหน้าเว็บอย่างกระชับและตรงประเด็น ใช้คำหลักสำคัญในช่วงต้นของแท็ก H1

4. Multiple H1 tags

ปัญหาเรื่องมีแท็ก H1 หลายแท็กในหน้าเดียว ทำให้โครงสร้างเนื้อหาของหน้าเว็บอาจสับสนและส่งผลเสียต่อ SEO

วิธีแก้ไข

ใช้แท็ก H1 เพียงแท็กเดียวต่อหน้า โดยให้เป็นหัวข้อหลักที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของหน้านั้น ใช้แท็ก H2, H3 และอื่น ๆ สำหรับหัวข้อย่อย

5. Duplicate H1

ปัญหาเรื่องแท็ก H1 ซ้ำกันในหลายหน้าของเว็บไซต์ ทำให้เครื่องมือค้นหาสับสนว่าหน้าไหนเกี่ยวข้องกับคำค้นหามากที่สุด

วิธีแก้ไข

สร้างแท็ก H1 ที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละหน้าในเว็บไซต์ ให้แต่ละแท็ก H1 อธิบายเนื้อหาเฉพาะของหน้านั้น ๆ อย่างชัดเจน ใช้คำหลักที่เกี่ยวข้องและแตกต่างกันในแต่ละหน้า

6. Identical Title and H1 tags

ปัญหาเรื่องแท็ก Title และ H1 เหมือนกัน ทำให้เสียโอกาสในการนำเสนอหน้าเว็บจากมุมมองที่แตกต่างและรวมคำหลักที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

วิธีแก้ไข

ใช้ข้อความที่แตกต่างกันสำหรับแท็ก Title และ H1 โดยให้แท็ก Title มุ่งเน้นที่การดึงดูดคลิกจากผลการค้นหา ในขณะที่แท็ก H1 ควรสรุปเนื้อหาหลักของหน้าเว็บอย่างชัดเจน ทั้งสองแท็กควรมีความเกี่ยวข้องกันแต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกประการ

ปัญหาด้านการ Redirect

การ Redirect คือการเปลี่ยนเส้นทางการเข้าถึงหน้าเว็บ ถ้าทำไม่ถูกต้องอาจส่งผลเสียต่อประสบการณ์ผู้ใช้และ SEO การแก้ไขปัญหา Redirect จะช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. Redirect chain

ปัญหาเรื่อง Redirect chain เกิดขึ้นเมื่อมีการ Redirect หลายครั้งติดต่อกันก่อนถึงหน้าปลายทาง ทำให้เว็บไซต์โหลดช้าและส่งผลเสียต่อ SEO

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบและลบ Redirect ที่ไม่จำเป็นออก พยายามให้มีการ Redirect ไม่เกิน 1 ครั้งจากหน้าต้นทางถึงหน้าปลายทาง ปรับปรุง Redirect ให้ชี้ตรงไปยังหน้าปลายทางโดยตรง

2. Redirect loop

ปัญหาเรื่อง Redirect loop เกิดขึ้นเมื่อหน้าเว็บ Redirect วนไปมาไม่สิ้นสุด ทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถโหลดได้และส่งผลเสียอย่างมากต่อประสบการณ์ผู้ใช้

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบการตั้งค่า Redirect ทั้งหมด หาต้นตอของ Redirect loop และแก้ไขให้ถูกต้อง ตรวจสอบการตั้งค่าในไฟล์ .htaccess หรือการตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์ที่อาจก่อให้เกิดปัญหา

3. Redirect to 4xx or 5xx

ปัญหาเรื่อง Redirect ไปยังหน้าที่มีข้อผิดพลาด (4xx หรือ 5xx) ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการได้และส่งผลเสียต่อ SEO

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบและแก้ไข Redirect ที่นำไปสู่หน้าข้อผิดพลาด ปรับปรุง Redirect ให้ชี้ไปยังหน้าที่ถูกต้องและใช้งานได้ หากหน้าปลายทางไม่มีอยู่แล้ว ให้ลบ Redirect นั้นออกหรือชี้ไปยังหน้าที่มีเนื้อหาใกล้เคียงที่สุด

4. Meta refresh redirect

การใช้ Meta refresh redirect เป็นวิธีการ Redirect ที่ล้าสมัยและอาจส่งผลเสียต่อ SEO และประสบการณ์ผู้ใช้

วิธีแก้ไข

  • แทนที่ Meta refresh redirect ด้วยการ Redirect แบบ 301 (permanent) หรือ 302 (temporary)
  • ใช้การ Redirect ผ่านการตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์ เช่น ใช้ .htaccess สำหรับ Apache
  • สำหรับ Nginx ใช้คำสั่ง rewrite ในการตั้งค่า server block
  • หากใช้ PHP สามารถใช้ฟังก์ชัน header เพื่อทำ Redirect
  • ตรวจสอบและแก้ไขทุกหน้าที่ใช้ Meta refresh redirect

5. 302, 303, 307 temporary redirects

การใช้ Redirect แบบชั่วคราว (302, 303, 307) แทนที่จะเป็น 301 (permanent) สำหรับการเปลี่ยนแปลงถาวร ทำให้ประสิทธิภาพ SEO ลดลง

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบ Redirect ทั้งหมดและเปลี่ยนเป็น 301 (permanent) สำหรับการเปลี่ยนแปลงถาวร
  • ใช้ 302, 303, หรือ 307 เฉพาะกรณีที่ต้องการ Redirect ชั่วคราวจริง ๆ เท่านั้น
  • สำหรับ Apache ใช้ RewriteRule ใน .htaccess เพื่อตั้งค่า 301 redirect
  • สำหรับ Nginx ใช้คำสั่ง rewrite กับ flag permanent
  • ในกรณีที่ใช้ PHP ให้ใช้ header(“HTTP/1.1 301 Moved Permanently”);
  • ตรวจสอบและอัปเดต Redirect map ของเว็บไซต์ให้เป็นปัจจุบัน
วิธีทําให้-Google-หาเว็บเราเจอ

ปัญหาด้าน Internal Links

Internal Links (ลิงก์ภายใน) คือลิงก์ที่เชื่อมโยงระหว่างหน้าต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์เดียวกัน การจัดการลิงก์ภายในที่ดีช่วยในการนำทางผู้ใช้และกระจายค่า PageRank ภายในเว็บไซต์ ซึ่งส่งผลดีต่อ SEO

1. No inbound links

ปัญหาเรื่องหน้าเว็บไม่มีลิงก์ภายในชี้มา ทำให้หน้านั้นเข้าถึงได้ยากสำหรับทั้งผู้ใช้และ search engine bots

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบและเพิ่มลิงก์ภายในที่ชี้มายังหน้าที่ไม่มีลิงก์เข้า โดยเพิ่มลิงก์จากหน้าที่เกี่ยวข้องหรือหน้าหลัก ปรับปรุงโครงสร้างเนวิเกชันของเว็บไซต์ให้ครอบคลุมทุกหน้า สร้าง sitemap ที่มีลิงก์ไปยังทุกหน้าสำคัญ

2. Internal links missing anchor

ปัญหาเรื่องลิงก์ภายในไม่มีข้อความแอนเคอร์ (anchor text) ทำให้ผู้ใช้และ search engines ไม่เข้าใจว่าลิงก์นั้นเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบและเพิ่มข้อความแอนเคอร์ที่มีความหมายให้กับทุกลิงก์ภายใน หลีกเลี่ยงการใช้ข้อความทั่วไปเช่น “คลิกที่นี่” แต่ใช้คำที่อธิบายเนื้อหาปลายทางอย่างชัดเจน เช่น “วิธีการสมัครสมาชิก” หรือ “รายละเอียดสินค้า”

3. Nofollow internal links

ปัญหาเรื่องการใช้ attribute nofollow กับลิงก์ภายในโดยไม่จำเป็น ทำให้เสียโอกาสในการกระจายค่า PageRank และอาจส่งผลเสียต่อ SEO

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบและลบ attribute nofollow ออกจากลิงก์ภายในที่ไม่จำเป็น ใช้ nofollow เฉพาะกับลิงก์ที่ไม่ต้องการให้ search engines ติดตาม เช่น ลิงก์ในส่วนความคิดเห็นที่ผู้ใช้สามารถโพสต์ได้ หรือลิงก์ไปยังหน้าที่ไม่สำคัญ เช่น นโยบายความเป็นส่วนตัว

4. One inbound internal link

ปัญหาเรื่องหน้าเว็บมีเพียงลิงก์ภายในเดียวที่ชี้มา ทำให้การเข้าถึงหน้านั้นจำกัดและอาจส่งผลเสียต่อ SEO

วิธีแก้ไข

เพิ่มลิงก์ภายในที่ชี้มายังหน้านั้นจากหน้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาเพิ่มลิงก์ในส่วนนำทาง เมนูหลัก หรือ footer ถ้าหน้านั้นมีความสำคัญ สร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในหน้าอื่นๆ และเพิ่มลิงก์มายังหน้านี้ ใช้ internal linking strategy ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มการเชื่อมโยงระหว่างหน้าต่างๆ ภายในเว็บไซต์

ปัญหาด้าน External Links

External Links (ลิงก์ภายนอก) คือลิงก์ที่เชื่อมโยงจากเว็บไซต์ของคุณไปยังเว็บไซต์อื่น การจัดการลิงก์ภายนอกที่ดีช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ โดยเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพ

1. External links missing anchor

ปัญหาเรื่องลิงก์ภายนอกไม่มีข้อความแอนเคอร์ (anchor text) ทำให้ผู้ใช้ไม่ทราบว่าลิงก์นั้นจะพาไปยังเนื้อหาใด และอาจส่งผลเสียต่อ SEO

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบและเพิ่มข้อความแอนเคอร์ที่มีความหมายให้กับทุกลิงก์ภายนอก ใช้คำที่อธิบายเนื้อหาปลายทางอย่างชัดเจน เช่น “ข้อมูลเพิ่มเติมจาก WHO” หรือ “รายงานฉบับเต็มจาก UNICEF” หลีกเลี่ยงการใช้ข้อความทั่วไปเช่น “คลิกที่นี่” หรือ “อ่านเพิ่มเติม”

2. Nofollow external links

ปัญหาเรื่องการใช้ attribute nofollow กับลิงก์ภายนอกทั้งหมดโดยไม่จำเป็น อาจส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ในมุมมองของ Google

วิธีแก้ไข

พิจารณาการใช้ nofollow อย่างเหมาะสม โดยใช้กับลิงก์ที่เป็นโฆษณา ลิงก์ที่ผู้ใช้สามารถเพิ่มได้ (เช่น ในส่วนความคิดเห็น) หรือลิงก์ที่คุณไม่รับรองคุณภาพ สำหรับลิงก์ที่ชี้ไปยังแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ควรเอา nofollow ออกเพื่อแสดงความเชื่อมโยงตามธรรมชาติ

3. External links Timed out

ปัญหาเรื่องลิงก์ภายนอกไม่สามารถเข้าถึงได้หรือโหลดช้าเกินไป ทำให้ประสบการณ์ผู้ใช้แย่ลงและอาจส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบลิงก์ภายนอกทั้งหมดเป็นประจำ ใช้เครื่องมือตรวจสอบลิงก์เสียเพื่อระบุปัญหา ลบหรือแทนที่ลิงก์ที่ไม่ทำงานด้วยลิงก์ที่ใช้งานได้ พิจารณาใช้บริการ redirect ชั่วคราว (เช่น archive.org) สำหรับลิงก์ที่สำคัญแต่ไม่สามารถเข้าถึงได้แล้ว ตั้งค่า timeout ที่เหมาะสมสำหรับการโหลดลิงก์ภายนอกเพื่อไม่ให้กระทบกับความเร็วของเว็บไซต์โดยรวม

ปัญหาด้าน Localization

การทำ Localization คือการปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับภาษาและวัฒนธรรมของผู้ใช้ในแต่ละท้องถิ่น การจัดการ Localization ที่ดีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ SEO สำหรับตลาดต่างประเทศและปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้

1. Invalid language code

ปัญหาเรื่องการใช้รหัสภาษาที่ไม่ถูกต้องในแท็ก hreflang หรือ lang ทำให้ search engines ไม่สามารถระบุภาษาของเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบและแก้ไขรหัสภาษาให้ถูกต้องตามมาตรฐาน ISO 639-1 เช่น ใช้ “th” สำหรับภาษาไทย “en” สำหรับภาษาอังกฤษ หากต้องการระบุประเทศด้วย ให้ใช้รหัสประเทศตามมาตรฐาน ISO 3166-1 Alpha 2 เช่น “en-US” สำหรับภาษาอังกฤษ (สหรัฐอเมริกา)

2. Hreflang page doesn’t link out to itself

ปัญหาเรื่องหน้าเว็บที่มี hreflang ไม่มีลิงก์ชี้กลับมายังตัวเอง ซึ่งอาจทำให้ Google สับสนในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างหน้าภาษาต่าง ๆ

วิธีแก้ไข

เพิ่ม hreflang ที่ชี้กลับมายังหน้าปัจจุบันในทุกหน้าที่มีการใช้ hreflang เช่น หน้าภาษาไทยควรมี <link rel=”alternate” hreflang=”th” href=”https://example.com/th/”> ชี้มายังตัวเอง

3. Hreflang to non-canonical

ปัญหาเรื่อง hreflang ชี้ไปยัง URL ที่ไม่ใช่ canonical version ทำให้ Google สับสนในการระบุเวอร์ชันหลักของหน้านั้น ๆ

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบและแก้ไข hreflang ให้ชี้ไปยัง canonical URL เสมอ ตรวจสอบว่า canonical URL และ hreflang URL สอดคล้องกันในทุกหน้า

4. Hreflang and HTML lang do not match

ปัญหาเรื่องค่า hreflang และ HTML lang attribute ไม่ตรงกัน ทำให้เกิดความสับสนในการระบุภาษาของหน้าเว็บ

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบและแก้ไขให้ค่า hreflang และ HTML lang attribute ตรงกันในทุกหน้า เช่น หน้าภาษาไทยควรมี <html lang=”th”> และ <link rel=”alternate” hreflang=”th” href=”…”> ที่สอดคล้องกัน

5. Confirmation (return) links missing on hreflang pages

ปัญหาเรื่องหน้าเว็บที่ถูกอ้างอิงใน hreflang ไม่มีลิงก์กลับไปยังหน้าอื่น ๆ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างหน้าไม่สมบูรณ์

วิธีแก้ไข

เพิ่ม hreflang tags ที่ครบถ้วนในทุกหน้าที่เกี่ยวข้อง ทุกหน้าควรมี hreflang ที่ชี้ไปยังทุกเวอร์ชันภาษาที่มี รวมถึงชี้กลับมายังตัวเองด้วย

6. Multiple language codes for one page

ปัญหาเรื่องมีรหัสภาษาหลายรหัสสำหรับหน้าเดียว ทำให้ search engines สับสนว่าควรแสดงหน้านี้สำหรับภาษาใด

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบและแก้ไขให้แต่ละหน้ามีรหัสภาษาเดียวที่ถูกต้อง หากหน้านั้นรองรับหลายภาษาจริงๆ ให้แยกเนื้อหาออกเป็นหน้าแยกสำหรับแต่ละภาษา

7. Invalid HTML lang

ปัญหาเรื่องการใช้ค่า lang attribute ที่ไม่ถูกต้องในแท็ก HTML ทำให้เบราว์เซอร์และ screen readers ไม่สามารถระบุภาษาของหน้าเว็บได้อย่างถูกต้อง

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบและแก้ไขค่า lang attribute ในแท็ก HTML ให้ถูกต้องตามมาตรฐาน ISO 639-1 เช่น <html lang=”th”> สำหรับหน้าภาษาไทย

8. Language duplicates in hreflang

ปัญหาเรื่องมี hreflang ซ้ำกันสำหรับภาษาเดียวกัน ทำให้ search engines สับสนว่าควรแสดงหน้าไหนสำหรับภาษานั้น ๆ

วิธีแก้ไข

ตรวจสอบและแก้ไข hreflang ให้มีเพียงหนึ่ง URL ต่อหนึ่งภาษา (และประเทศ) เท่านั้น หากมีหลายหน้าสำหรับภาษาเดียวกัน ให้เลือกหน้าหลักเป็นตัวแทนในการใช้ hreflang

9. HTML lang missing

ปัญหาเรื่องไม่มีการระบุ lang attribute ในแท็ก HTML ทำให้เบราว์เซอร์และ screen readers ไม่ทราบว่าหน้าเว็บนั้นเป็นภาษาอะไร

วิธีแก้ไข

เพิ่ม lang attribute ในแท็ก HTML ของทุกหน้า เช่น <html lang=”th”> สำหรับหน้าภาษาไทย <html lang=”en”> สำหรับหน้าภาษาอังกฤษ

10. X-default hreflang attribute missing

ปัญหาเรื่องไม่มีการระบุ x-default hreflang สำหรับหน้าเริ่มต้นที่ควรแสดงเมื่อไม่มีหน้าที่ตรงกับภาษาของผู้ใช้

วิธีแก้ไข

เพิ่ม x-default hreflang ในชุด hreflang tags เช่น <link rel=”alternate” hreflang=”x-default” href=”https://example.com/”> โดยชี้ไปยังหน้าที่ควรแสดงเป็นค่าเริ่มต้น (มักเป็นหน้าภาษาอังกฤษหรือหน้าเลือกภาษา)

ปัญหาด้าน Images

รูปภาพเป็นส่วนสำคัญในการสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีและช่วยในการ SEO แต่หากจัดการไม่ดีอาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพของเว็บไซต์

1. Image too big

ปัญหาเรื่องขนาดไฟล์รูปภาพใหญ่เกินไป ทำให้หน้าเว็บโหลดช้าและส่งผลเสียต่อประสบการณ์ผู้ใช้

วิธีแก้ไข

  • บีบอัดรูปภาพโดยใช้เครื่องมือออนไลน์หรือซอฟต์แวร์เฉพาะทาง
  • ปรับขนาดรูปภาพให้เหมาะสมกับการแสดงผลจริงบนหน้าเว็บ
  • ใช้ฟอร์แมตรูปภาพที่เหมาะสม เช่น JPEG สำหรับภาพถ่าย, PNG สำหรับภาพที่ต้องการความโปร่งใส
  • พิจารณาใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น WebP ที่ให้คุณภาพดีแต่ขนาดไฟล์เล็ก

2. Alt text missing

ปัญหาเรื่องไม่มี alt text (คำอธิบายภาพ) ทำให้ผู้ใช้ที่มีปัญหาทางสายตาและ search engines ไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาของรูปภาพได้

วิธีแก้ไข

  • เพิ่ม alt text ที่อธิบายเนื้อหาของรูปภาพอย่างกระชับและตรงประเด็นให้กับทุกรูปภาพ
  • ใช้คำหลัก (keywords) ที่เกี่ยวข้องใน alt text อย่างเป็นธรรมชาติ
  • หลีกเลี่ยงการใส่คำว่า “รูปภาพของ” หรือ “ภาพ” ใน alt text เพราะ screen readers จะอ่านส่วนนี้ให้โดยอัตโนมัติ
  • สำหรับรูปภาพที่เป็นเชิงตกแต่งและไม่มีความหมายสำคัญ ให้ใช้ alt=”” เพื่อให้ screen readers ข้ามไป
Technical-SEO-Audit

ปัญหาด้าน JavaScript

JavaScript เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเว็บไซต์แบบ dynamic แต่หากใช้ไม่เหมาะสมอาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพและ SEO

1. JavaScript not compressed

ปัญหาเรื่อง JavaScript ไม่ถูกบีบอัด ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่และโหลดช้า

วิธีแก้ไข

  • ใช้เครื่องมือบีบอัด JavaScript เช่น UglifyJS หรือ Closure Compiler
  • เปิดใช้งานการบีบอัด GZIP บนเซิร์ฟเวอร์

2. JavaScript not cached

ปัญหาเรื่อง JavaScript ไม่ถูกเก็บแคช ทำให้ต้องโหลดใหม่ทุกครั้งที่เข้าชมเว็บไซต์

วิธีแก้ไข

  • ตั้งค่า cache headers ให้เหมาะสมสำหรับไฟล์ JavaScript
  • ใช้ versioning หรือ fingerprinting สำหรับไฟล์ JavaScript เพื่อให้แคชได้นานขึ้นแต่ยังสามารถอัปเดตได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

3. JavaScript too big

ปัญหาเรื่องไฟล์ JavaScript มีขนาดใหญ่เกินไป ทำให้โหลดช้าและใช้ทรัพยากรมาก

วิธีแก้ไข

  • แยกโค้ด JavaScript เป็นโมดูลและโหลดเฉพาะส่วนที่จำเป็น
  • ใช้เทคนิค code splitting เพื่อแบ่งโค้ดเป็นส่วนๆ และโหลดตามความต้องการ
  • ตรวจสอบและลบโค้ดที่ไม่ได้ใช้งาน (dead code) ออก

4. Too many JavaScript files

ปัญหาเรื่องมีไฟล์ JavaScript จำนวนมากเกินไป ทำให้ต้องส่ง HTTP requests หลายครั้ง

วิธีแก้ไข

  • รวมไฟล์ JavaScript ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน
  • ใช้เทคนิค HTTP/2 server push เพื่อส่งไฟล์ JavaScript ที่จำเป็นพร้อมกับ HTML
  • พิจารณาใช้ module bundler เช่น Webpack เพื่อจัดการไฟล์ JavaScript อย่างมีประสิทธิภาพ

5. JavaScript not minified

ปัญหาเรื่อง JavaScript ไม่ถูก minify ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น

วิธีแก้ไข

  • ใช้เครื่องมือ minify JavaScript เช่น UglifyJS หรือ Terser
  • รวมขั้นตอนการ minify เข้าไปใน build process ของโปรเจค
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช้เวอร์ชัน production (minified) ของ JavaScript libraries บนเว็บไซต์จริง

ปัญหาด้าน CSS

CSS (Cascading Style Sheets) เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดรูปแบบและการแสดงผลของเว็บไซต์ การจัดการ CSS ที่ดีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ

1. CSS too big

ปัญหาเรื่องไฟล์ CSS มีขนาดใหญ่เกินไป ทำให้หน้าเว็บโหลดช้า

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบและลบ CSS ที่ไม่ได้ใช้งาน
  • ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ CSS เพื่อหา selectors ที่ไม่จำเป็น
  • พิจารณาใช้ CSS frameworks เฉพาะส่วนที่จำเป็น
  • แยก CSS เป็นหลายไฟล์และโหลดตามความต้องการของแต่ละหน้า

2. CSS not compressed

ปัญหาเรื่อง CSS ไม่ถูกบีบอัด ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น

วิธีแก้ไข

  • ใช้เครื่องมือบีบอัด CSS เช่น cssnano หรือ Clean-CSS
  • เปิดใช้งานการบีบอัด GZIP บนเซิร์ฟเวอร์สำหรับไฟล์ CSS

3. CSS not cached

ปัญหาเรื่อง CSS ไม่ถูกเก็บแคช ทำให้ต้องโหลดใหม่ทุกครั้งที่เข้าชมเว็บไซต์

วิธีแก้ไข

  • ตั้งค่า cache headers ให้เหมาะสมสำหรับไฟล์ CSS
  • ใช้เทคนิค versioning หรือ fingerprinting สำหรับไฟล์ CSS เพื่อให้แคชได้นานขึ้น
  • พิจารณาใช้ CDN (Content Delivery Network) สำหรับไฟล์ CSS

4. Too many CSS files

ปัญหาเรื่องมีไฟล์ CSS จำนวนมากเกินไป ทำให้ต้องส่ง HTTP requests หลายครั้ง

วิธีแก้ไข

  • รวมไฟล์ CSS ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน
  • ใช้เทคนิค CSS sprites สำหรับรูปภาพที่ใช้บ่อย
  • พิจารณาใช้ CSS-in-JS หรือ CSS modules เพื่อจัดการ styles อย่างมีประสิทธิภาพ

5. CSS not minified

ปัญหาเรื่อง CSS ไม่ถูก minify ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น

วิธีแก้ไข

  • ใช้เครื่องมือ minify CSS เช่น cssnano หรือ Clean-CSS
  • รวมขั้นตอนการ minify เข้าไปใน build process ของโปรเจค
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช้เวอร์ชัน production (minified) ของ CSS frameworks บนเว็บไซต์จริง

ปัญหาด้าน Mobile Optimization

การปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์มือถือเป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบัน เนื่องจากผู้ใช้ส่วนใหญ่เข้าถึงเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์มือถือ

1. Viewport meta tag missing

ปัญหาเรื่องไม่มี viewport meta tag ทำให้เว็บไซต์แสดงผลไม่เหมาะสมบนอุปกรณ์มือถือ

วิธีแก้ไข

  • เพิ่ม viewport meta tag ในส่วน <head> ของหน้าเว็บ:
  • <meta name=”viewport” content=”width=device-width, initial-scale=1″>

2. Fixed width value in viewport meta tag

ปัญหาเรื่องการกำหนดค่าความกว้างแบบตายตัวใน viewport meta tag ทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถปรับขนาดได้อย่างเหมาะสมบนอุปกรณ์ที่หลากหลาย

วิธีแก้ไข

  • แก้ไข viewport meta tag ให้ใช้ค่า width=device-width แทนการกำหนดค่าตายตัว
  • หลีกเลี่ยงการใช้ user-scalable=no เพื่อให้ผู้ใช้สามารถซูมได้ตามต้องการ

3. Use of incompatible plugins

ปัญหาเรื่องการใช้ plugins ที่ไม่รองรับอุปกรณ์มือถือ เช่น Flash

วิธีแก้ไข

  • หลีกเลี่ยงการใช้ plugins ที่ไม่รองรับมือถือ
  • ใช้เทคโนโลยีทางเลือกที่เป็นมาตรฐานเว็บ เช่น HTML5, CSS3, และ JavaScript
  • พิจารณาใช้ responsive design แทนการสร้างเว็บไซต์แยกสำหรับมือถือ

4. Minimum text to HTML ratio

ปัญหาเรื่องสัดส่วนของเนื้อหาข้อความต่อโค้ด HTML ต่ำเกินไป ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อ SEO และประสบการณ์ผู้ใช้บนมือถือ

วิธีแก้ไข

  • เพิ่มเนื้อหาที่มีคุณภาพและเกี่ยวข้องกับหัวข้อของหน้าเว็บ
  • ลดการใช้โค้ด HTML ที่ไม่จำเป็น
  • ใช้ semantic HTML เพื่อให้โครงสร้างหน้าเว็บมีความหมายมากขึ้น
  • พิจารณาใช้ lazy loading สำหรับเนื้อหาที่อยู่ด้านล่างของหน้าเว็บ

ปัญหาด้าน Performance

ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสบการณ์ผู้ใช้และการจัดอันดับใน search engines การวัดและปรับปรุงตัวชี้วัดประสิทธิภาพต่างๆ จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณทำงานได้ดีขึ้นทั้งในสภาพแวดล้อมจริงและในการทดสอบ

1. Largest Contentful Paint (LCP) in real-world conditions

LCP วัดเวลาที่ใช้ในการแสดงผลเนื้อหาส่วนใหญ่ที่มองเห็นได้บนหน้าจอ ในสภาพแวดล้อมการใช้งานจริง

วิธีแก้ไข

  • ปรับปรุงเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์
  • ลดขนาดไฟล์ CSS และ JavaScript ที่บล็อกการเรนเดอร์
  • ใช้ lazy loading สำหรับรูปภาพและวิดีโอ
  • ปรับปรุงการโหลดแหล่งข้อมูลสำคัญ เช่น การใช้ preload

2. Interaction to Next Paint (INP) in real-world conditions

INP วัดความรวดเร็วในการตอบสนองต่อการโต้ตอบของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อมการใช้งานจริง

วิธีแก้ไข

  • ลดการทำงานที่ซับซ้อนบน main thread
  • แยกงานที่ใช้เวลานานออกเป็นชิ้นเล็กๆ
  • ใช้ Web Workers สำหรับการประมวลผลที่ซับซ้อน
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพของ event handlers

3. Cumulative Layout Shift (CLS) in real-world conditions

CLS วัดความเสถียรภาพของเลย์เอาต์หน้าเว็บ โดยคำนวณจากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของเนื้อหาที่ไม่คาดคิดในสภาพแวดล้อมการใช้งานจริง

วิธีแก้ไข

  • กำหนดขนาดของรูปภาพและวิดีโอล่วงหน้า
  • จองพื้นที่สำหรับโฆษณาและเนื้อหาที่โหลดภายหลัง
  • หลีกเลี่ยงการแทรกเนื้อหาเหนือเนื้อหาที่มีอยู่
  • ใช้ CSS transform สำหรับแอนิเมชันแทนการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติที่ส่งผลต่อเลย์เอาต์

4. First Contentful Paint (FCP) in real-world conditions

FCP วัดเวลาที่ใช้ในการแสดงผลเนื้อหาแรกบนหน้าจอ เช่น ข้อความหรือรูปภาพ ในสภาพแวดล้อมการใช้งานจริง

วิธีแก้ไข

  • ลดขนาดและบีบอัดไฟล์ HTML, CSS, และ JavaScript
  • ใช้ caching อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ลดเวลาในการเริ่มต้นการเชื่อมต่อ (Time to First Byte)
  • ลดหรือชะลอการโหลดของ JavaScript ที่ไม่จำเป็นในการแสดงผลเริ่มต้น

5. Largest Contentful Paint (LCP) in a lab environment

LCP ที่วัดในสภาพแวดล้อมการทดสอบ ซึ่งอาจแตกต่างจากสภาพแวดล้อมการใช้งานจริง

วิธีแก้ไข

  • ใช้วิธีการเดียวกับ LCP ในสภาพแวดล้อมจริง
  • ทดสอบบนอุปกรณ์และเครือข่ายที่หลากหลาย
  • ใช้เครื่องมือ Chrome DevTools, Lighthouse, หรือ WebPageTest เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

6. Cumulative Layout Shift (CLS) in a lab environment

CLS ที่วัดในสภาพแวดล้อมการทดสอบ

วิธีแก้ไข

  • ใช้วิธีการเดียวกับ CLS ในสภาพแวดล้อมจริง
  • ทดสอบกับขนาดหน้าจอและความละเอียดที่หลากหลาย
  • ตรวจสอบ CLS ในระหว่างการพัฒนาโดยใช้ Chrome DevTools

7. First Contentful Paint (FCP) in a lab environment

FCP ที่วัดในสภาพแวดล้อมการทดสอบ

วิธีแก้ไข

  • ใช้วิธีการเดียวกับ FCP ในสภาพแวดล้อมจริง
  • ทดสอบกับการจำลองความเร็วเครือข่ายต่างๆ
  • ใช้ Lighthouse หรือ WebPageTest เพื่อวิเคราะห์ FCP ในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้

8. Speed Index

Speed Index วัดความเร็วในการแสดงผลเนื้อหาที่มองเห็นได้บนหน้าจอ

วิธีแก้ไข

  • ปรับปรุงการโหลดทรัพยากรสำคัญ
  • ใช้เทคนิค Critical CSS เพื่อแสดงผลเนื้อหาสำคัญเร็วขึ้น
  • ลดการใช้งาน JavaScript ที่บล็อกการเรนเดอร์
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพของเซิร์ฟเวอร์และการส่งข้อมูล

9. Time to Interactive (TTI)

TTI วัดเวลาที่ใช้จนกระทั่งหน้าเว็บสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์

วิธีแก้ไข

  • ลดขนาดและจำนวนของ JavaScript bundles
  • ใช้ code splitting เพื่อโหลดเฉพาะ JavaScript ที่จำเป็น
  • ชะลอการทำงานของ JavaScript ที่ไม่จำเป็นสำหรับการโต้ตอบเริ่มต้น
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพของ event handlers และ animations

10. Total Blocking Time (TBT)

TBT วัดเวลารวมที่ main thread ถูกบล็อกไม่ให้ตอบสนองต่อการป้อนข้อมูลของผู้ใช้

วิธีแก้ไข

  • แยกงานที่ใช้เวลานานออกจาก main thread โดยใช้ Web Workers
  • แบ่งงานที่ใช้เวลานานออกเป็นชิ้นเล็กๆ
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพของ JavaScript โดยลดการคำนวณที่ไม่จำเป็น
  • ชะลอการโหลดและการทำงานของ JavaScript ที่ไม่จำเป็นสำหรับการโต้ตอบเริ่มต้น
วิธีเพิ่ม-Traffic-เว็บไซต์-scaled

ปัญหาด้าน AMP

AMP (Accelerated Mobile Pages) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาโดย Google เพื่อเพิ่มความเร็วในการโหลดหน้าเว็บบนอุปกรณ์มือถือ แม้ว่า AMP จะไม่ใช่ปัจจัยจัดอันดับโดยตรง แต่ก็สามารถช่วยปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้และประสิทธิภาพของเว็บไซต์ได้

1. No AMP pages used

ปัญหาเรื่องไม่มีการใช้งานหน้า AMP บนเว็บไซต์ ซึ่งอาจทำให้เสียโอกาสในการเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพสำหรับผู้ใช้บนอุปกรณ์มือถือ

วิธีแก้ไข

  • ประเมินความเหมาะสมของ AMP สำหรับเว็บไซต์ของคุณ
  • สร้างหน้า AMP สำหรับเนื้อหาสำคัญ เช่น บทความหรือหน้าผลิตภัณฑ์
  • ใช้ AMP HTML, AMP JS, และ AMP CSS ในการพัฒนา
  • เพิ่ม rel=”amphtml” link ในหน้าปกติและ canonical link ในหน้า AMP
  • ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องของหน้า AMP
  • ติดตามประสิทธิภาพและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

Tips ดี ๆ จาก SEO Specialist

จริง ๆ AMP ไม่ได้จำเป็นสำหรับทุกเว็บ รวมถึงไม่แนะนำให้ใช้ด้วย เพราะพบปัญหาบนเว็บไซต์ที่ใช้งาน AMP บ่อยครั้ง อีกทั้งยังควบคุมได้ยากด้วย หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจะทำให้มี Issue ขึ้นบน Google Search Console จำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออันดับ SEO ได้ แต่ถ้าคุณต้องการใช้ AMP จริง ๆ แนะนำให้เขียน AMP อย่างเดียว โดยไม่ต้องใช้งานร่วมกับภาษาหรือ CMS อื่น ๆ 

  •  เว็บที่ควรใช้ AMP คือเว็บ Static ที่ไม่ได้มีระบบอะไรมาก อย่างเว็บข่าวหรือเว็บบทความ
  • AMP ยังได้รับความนิยมในบางประเทศที่อินเทอร์เน็ตช้าอีกด้วย

บทสรุปเรื่อง Technical SEO

Technical SEO คือการทำให้เว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพมากที่สุด เพื่อให้เว็บไซต์สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ด้วยการติดอันดับบน Google ในตำแหน่งที่ดีที่สุด หากคุณเป็นมือใหม่ในด้านนี้ แนะนำให้คุณทำเช็กลิสต์และปรับปรุง Technical SEO ตามเทคนิคต่าง ๆ ที่เราได้แนะนำไปในบทความนี้ก่อนได้เลย เพราะเทคนิคเหล่านี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่คุณควรลงมือทำก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมให้เว็บไซต์นั่นเอง

ก่อนจะจากกันไปขอแนะนำเครื่องมือที่ใช้ในการทำ Technical SEO สักนิด เพื่อเป็นไกด์ไลน์ให้คุณเห็นภาพมากขึ้น นั่นก็คือเครื่องมือ Google Search Console (วิเคราะห์และตรวจสอบปัญหาของเว็บไซต์), PageSpeed Insights (วิเคราะห์และแนะนำแนวทางในการปรับปรุง PageSpeed) รวมถึง SEMrush Ahrefs และ Screaming Frog ที่สามารถวิเคราะห์ปัญหาและช่วยปรับปรุงเว็บไซต์ในเชิงลึกได้อีกด้วยANGA (แองก้า) ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ SEO บริการรับทำ SEO ครบวงจร พร้อมบริการตรวจสอบคุณภาพเว็บไซต์และรับทำ SEO Technical Audit เพื่อสร้างการเติบโตแก่ให้เว็บไซต์และธุรกิจของคุณในระยะยาว

บทความที่เกี่ยวข้อง

แนะนำ 12 ไอเดียของขวัญปีใหม่แจกลูกค้า 2025

เทศกาลสำคัญอย่างวันปีใหม่ ถือเป็นช่วงเวลาที่หลาย ๆ ธุรกิจใช้เป็นโอกาสในการสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า การมอบของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้าหรือกระเช้าปีใหม่ให้ลูกค้าช่วยสร้างความประทับใจได้เป็นอย่างดี เ
13

Featured Snippet คืออะไร ผลลัพธ์ที่เหนือกว่าอันดับ 1 บน Google

การแข่งขันเพื่อให้ติดอันดับ 1 บน Google เป็นเรื่องที่ยากและท้าทายอย่างมาก เพราะคุณต้องแข่งขันกับเว็บไซต์ของคู่แข่ง แถมยังต้องปรับปรุงเว็บไซต์ให้ถูกใจ Google และสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานด้วย แต
5

เปิด 320 รายชื่อบริษัท Agency ในไทย อัปเดตล่าสุด 2025

การทำธุรกิจให้เติบโตในตอนนี้มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง หนึ่งในเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจไม่สามารถมองข้ามไปได้เลยก็คือการทำการตลาดออนไลน์ แต่การสร้างทีมการตลาดที่แข็งแกร่งไม่ได้ใช้ระยะเวลาสั้นและทำได้ง่
5
th