How To ทำ SEO ให้ปัง สำหรับเว็บไซต์หลายภาษา
เว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะทำเว็บไซต์แค่เพียงภาษาเดียว โดยจะเน้นไปที่ภาษาของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก อย่างเว็บไซต์ในประเทศไทยส่วนมากก็จะมีแค่ภาษาไทยเพียงภาษาเดียวเท่านั้น แต่ในปัจจุบันก็มีเว็บไซต์หลายภาษาไม่น้อยเลย เพราะมันช่วยขยายฐานลูกค้าได้จริงและตอบโจทย์การใช้งานของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นชาวต่างชาติ โดยที่พวกเขาไม่ต้องใช้ Google Translate และได้รับผลลัพธ์เป็นภาษาแปลก ๆ อีกต่อไป
เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2024 ที่ผ่านมา ANGA ได้รับเชิญให้ไปเข้าร่วมงาน Google Search Central Live 2024 ซึ่งเป็นงานสัมมนาที่ Google จัดขึ้นมาเพื่ออัปเดตข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ Google Search ซึ่งภายในงานก็จะมีเนื้อหาหลากหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือเคล็ดลับทำ SEO สำหรับเว็บไซต์หลายภาษานั่นเอง และแองก้าก็ได้สรุปเนื้อหาสำคัญมาให้ในบทความนี้แล้ว ถ้าคุณอยากให้เว็บไซต์หลายภาษาของคุณถูกต้องตามหลัก และมีโอกาสติดอันดับ SEO ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ต้องติดตามอ่านบทความนี้จนจบ!
เคล็ดลับทำ SEO บนเว็บไซต์หลายภาษาให้ได้ผลดี
- การติดโค้ด hreflang บนหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้ Google เข้าใจว่าหน้าเว็บดังกล่าวเป็นภาษาอะไร ซึ่งจะง่ายต่อการตรวจสอบของ Google มากขึ้น เช่น ถ้าคุณมีเว็บไซต์ 3 ภาษา ทั้ง 3 หน้านั้นจะต้องใช้โค้ดชุดเดียวกัน เพื่อระบุว่า URL ไหนเป็นภาษาอะไร เช่น ภาษาเกาหลีคือ kr, ภาษาญี่ปุ่นคือ jp และภาษาอังกฤษคือ en เป็นต้น
- การระบุ URL ของแต่ละภาษาใน Sitemap สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระบบ CMS ที่คุณใช้งาน อย่าง WordPress ก็สามารถใช้ Yoast SEO ในทำสร้าง Sitemap พร้อมระบุภาษาได้ หรืออาจจะแก้ไข sitemap โดยการระบุ URL ของแต่ละหน้าเว็บก็ได้เช่นกัน (ถ้าทำวิธีนี้ ไม่ต้องติดโค้ด hreflang)
- เนื้อหาและ URL ของหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้า ควรมีความสอดคล้องกัน เพราะ Google จะจับ Signal เหล่านี้ไปประมวลผลว่าเป็นภาษาอะไร เพื่อวิเคราะห์โค้ดต่อ เพราะ URL อย่าง anga.co.th/en/ ไม่ใช่การบอก Google ว่าหน้านี้เป็นภาษาอังกฤษแต่อย่างใด
- ถ้าเว็บไซต์ไหนมีมากกว่า 2 ภาษาในหน้าเดียว รวมทั้งยังไม่มีการระบุบอก Google ด้วยวิธีข้างต้น อาจทำให้เว็บไซต์ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะติดอันดับได้ เพราะ Google ชื่นชอบหน้าเว็บไซต์ที่มีการระบุภาษาชัดเจนมากกว่า
อยากให้เว็บไซต์ติดอันดับในหลาย ๆ ประเทศต้องทำยังไง?
- การใช้ ccTLD (Country Code Top-level Domain) อย่าง .th, .jp หรือ .sg เป็นวิธีช่วยที่ดีที่สุด
- การใช้ gTLD (Generic Top-Level Domain) เช่น Subdomain อย่าง sg.anga.com และ th.anga.com
- การแยก Path ระบุภาษาบนโดนเมนเดียวกัน เช่น anga.com/th และ anga.com/sg
- Server location (IP) การมีเซิร์ฟเวอร์ที่ใกล้กับประเทศของเป้าหมายก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยได้
- อื่น ๆ เช่น สกุลเงินบนเว็บไซต์ และ Business Profile อาจมีผลเล็กน้อยในการจัดอันดับ
บทสรุป
สรุปเคล็ดลับในการทำ SEO บนเว็บไซต์หลายภาษาจาก Google Search Central Live 2024 อย่างแรกคือการติดโค้ด hreflang หรือระบุ URL ของแต่ละภาษาใน Sitemap และการทำเนื้อหาให้มีความสอดคล้องกับภาษาที่ระบุของแต่ละหน้า เพราะการตั้งชื่อ URL อย่าง /en/ ไม่ได้เป็นการบ่งบอกภาษาของหน้านั้น ๆ ในสายตาของ Google นั่นเอง ส่วนใครที่ถามว่า “ใช้ปลั๊กอินแปลภาษาได้ไหม?” คำตอบคือสามารถใช้ได้ หากคุณภาพเนื้อหาดี เป็นภาษาธรรมชาติของมนุษย์ และอ่านทำความเข้าใจง่าย (หากใช้ปลั๊กอินแปลภาษา อย่าลืมรีเช็กความถูกต้องก่อนเผยแพร่ทุกครั้ง)
บทความอื่น ๆ จากงาน Google Search Central Live 2024
- เทคนิคดูกราฟ Google Search Console
- 8 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ SEO ที่คุณต้องรู้! (Google ตอบเอง)
- Google แชร์เคล็ดลับใช้ Google Trends สำหรับคนทำ SEO
- เทคนิคทำ Video SEO ดันอันดับวิดีโอบน Search จาก Google