1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. AI คืออะไร เจาะลึกเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่นักการตลาดต้องรู้
AI คือ
เผยแพร่เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2024

AI คืออะไร เจาะลึกเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่นักการตลาดต้องรู้

Table Of Contents

เมื่อก่อนเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักหรือมีบทบาทมากนัก ทำให้เป็นเรื่องไกลตัวและไม่ได้มีบทบาทสำคัญมากนัก แต่ในปัจจุบันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า AI คือเครื่องมือที่ใครหลาย ๆ คนขาดไปไม่ได้ โดยเฉพาะกับนักการตลาดออนไลน์ นักเขียน และนักเรียนนักศึกษา ทั้งในแง่ของการใช้ส่วนตัว ใช้เพื่อการศึกษา ใช้ทำงาน ไปจนถึงใช้ในการทำธุรกิจเลย แล้วเจ้าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ คืออะไร? ปัญญาประดิษฐ์ มีอะไรบ้าง? ทำไมถึงสำคัญจนใคร ๆ ก็ต้องเข้าไปใช้งานกันทุกวัน ตามมาหาคำตอบได้ในบทความนี้เลย แต่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือ ANGA จะมาแนะนำกลยุทธ์ในการปั้นเว็บไซต์ให้ติดอันดับบน Google Search ควบคู่ไปกับ AI Platform ด้วยเช่นกัน ใครทำ SEO หรือเป็นสายการตลาดอยู่แล้ว ห้ามพลาด!

AI คืออะไร

AI (Artificial Intelligence) คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อเลียนแบบความสามารถของมนุษย์ในด้านการคิด การเรียนรู้ และการแก้ปัญหา โดย AI จะอาศัยระบบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน ทำให้มีความสามารถครอบคลุมหลายด้านและถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น Google Maps (บริการแผนที่จาก Google) ที่เราใช้งานเป็นประจำ หรือ Siri ผู้ช่วยอัจฉริยะที่รองรับการสั่งการและโต้ตอบด้วยเสียงสำหรับอุปกรณ์ iOS เป็นต้น

ถึงแม้จะมีความสามารถมากมาย ทั้งในด้านของการหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เรียนรู้ ตัดสินใจ ประมวลผล ตีความ ฯลฯ เหมือนมนุษย์ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ AI ไม่สามารถทำได้เหมือนมนุษย์ได้ อย่างการตัดสินใจอะไรบ้างอย่างที่ต้องอาศัยอารมณ์หรือจริยธรรม การใช้ประสาทสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพราะ AI เก็บข้อมูลมาจากเนื้อหาที่ถูกอัปโหลดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีทั้งข้อมูลที่เป็นความจริงผสมปนเปไปกับข้อมูลเท็จที่ AI ไม่สามารถแยกแยะได้ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณจะใช้ AI ทำงานให้ล่ะ คุณต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนเผยแพร่ จึงจะเป็นการดีที่สุด

AI ข้อดี ข้อเสีย มีอะไรบ้าง

AI ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและการทำงานของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้จะมีประโยชน์กับเรามาก อาทิ เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ ประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว ฯลฯ แต่ก็มีข้อเสียและความท้าทายเช่นกัน ทั้งเรื่องความเป็นส่วนตัว ประเด็นด้านจริยธรรมในการตัดสินใจของ AI และแนวโน้มในการเข้ามาแทนที่มนุษย์ในบางสาขาอาชีพ

ข้อดีของ AI

  • เพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่ต้องการความละเอียดและซ้ำซ้อน
  • ประมวลผลและผลิตผลงานออกมาได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับของมนุษย์
  • AI สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เหนื่อยล้าหรือต้องการพักผ่อน
  • ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • มีการพัฒนาเพื่อทำความเข้าใจคำสั่งของผู้ใช้งานและภาษากับเจตนาของมนุษย์อยู่เสมอ

ข้อเสียของ AI

  • มีต้นทุนสูงในการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบ AI (สำหรับผู้พัฒนา)
  • อาจเกิดปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล
  • อาจทำให้ทักษะบางอย่างของมนุษย์มีประสิทธิภาพน้อยลง จากการพึ่งพา AI มากเกินไป
  • อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของพนักงานในบางสาขาอาชีพ

AI มีกี่ประเภท พร้อมยกตัวอย่าง

AI มีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันไป ในแต่ละอุตสาหกรรมและการใช้งาน การแบ่งประเภทของ AI สามารถทำได้หลายวิธี โดยจะขึ้นอยู่กับมุมมองและเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา สำหรับบทความนี้จะแบ่ง AI ออกเป็น 6 ประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

  1. Natural Language Processing (NLP) : เทคโนโลยีที่มีความสามารถในการประมวลผลและเข้าใจภาษาของมนุษย์ อาทิ การแปลภาษา การตอบคำถาม หรือการวิเคราะห์เจตนาและความรู้สึกในข้อความ อย่าง Google Translate, Gemini, Claude AI, ChatGPT ฯลฯ
  2. General AI : ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไปที่มีความสามารถในการเรียนรู้และเลียนแบบสิ่งที่มนุษย์ทำ อย่างการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ความคิดสร้างสรรค์ และการเข้าใจในอารมณ์ของผู้อื่น (ณ ตอนนี้ยังไม่มี AI ประเภทนี้เกิดขึ้นจริง กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการพัฒนาต่อไป)
  3. Machine Learning : เป็น AI ที่มีความสามารถในการเรียนรู้จากข้อมูลต่าง ๆ พร้อมกับตัดสินใจทำนายผลลัพธ์ในอนาคตด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องถูกเขียนโปรแกรมโดยตรง ตัวอย่างเช่นระบบแนะนำภาพยนตร์หรือสื่อของ Netflix ให้แก่ผู้ใช้งาน จากการนำประวัติการรับชมมาวิเคราะห์ความสนใจ เป็นต้น
  4. Narrow AI : เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง แบบเฉพาะเจาะจง เช่น Siri ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบคำถามและทำตามคำสั่งของผู้ใช้งานอุปกรณ์ Apple
  5. Computer Vision : เทคโนโลยีที่มีความสามารถในการทำความเข้าใจและตีความข้อมูลจากภาพหรือวิดีโอ
  6. Deep Learning : คล้ายกับ Machine Learning แต่จะมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ในระดับที่ลึกกว่า ซับซ้อนกว่า เพราะมีการใช้โครงข่ายประสาทเทียมที่มีหลายชั้นในการเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมาก ทำให้มีความแม่นยำมากกว่า เช่น AlphaGo ของ Google DeepMind ที่ใช้ Deep Learning ในการเอาชนะแชมป์โลกเกมโกะ

แนะนำกลยุทธ์ปั้นเว็บไซต์ให้ติดอันดับด้วย ASEO

ในยุคที่เทคโนโลยีและ AI กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญ การทำ SEO แบบเดิมอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ASEO (Adaptive Search Engine Optimization) จึงเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณเติบโตได้อย่างยั่งยืนทั้งบน Search Engine และ AI-powered platforms

ASEO คือแนวคิดการทำ SEO ที่มุ่งเน้นการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริทึมและพฤติกรรมผู้ใช้งานในโลกดิจิทัล โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ Discovery (ทำให้ Googlebot และ AI Engine ค้นพบและเข้าใจเนื้อหาเว็บไซต์ได้ง่าย), Engagement (สร้างการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน) และ Results (มุ่งสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญที่น่าเชื่อถือในด้านนั้น ๆ)

7 องค์ประกอบสำคัญของ ASEO

  1. Technical Issues (ปรับปรุงโครงสร้างและการทำงานของเว็บไซต์)
  2. SXO หรือ Search Experience Optimization (ปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้งานควบคู่กับ SEO)
  3. External Signal (สร้างความน่าเชื่อถือจากปัจจัยภายนอกเว็บไซต์)
  4. Link Building (สร้าง Backlink คุณภาพสูงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ)
  5. SILO-based Structure (จัดระเบียบเนื้อหาให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน โดยการใช้ Internal Link เชื่อมโยงเนื้อหาประเภทเดียวกัน)
  6. High-quality Content (สร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ ตรงตามหลัก Google E-E-A-T)
  7. Keyword Research & Intent (ค้นหาและเข้าใจเจตนาของคีย์เวิร์ดที่ User ใช้ค้นหาจริง)

บทสรุป

จะบอกว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI คือสิ่งที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกของเราก็ว่าได้ ด้วยความสามารถในการเรียนรู้และตัดสินใจ ทำให้ AI ปฏิวัติวิธีการทำงานและการใช้ชีวิตของมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะกับนักการตลาดทั้งหลาย ถึงแม้ Artificial Intelligence จะพบกับความท้าทายอย่างความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งานและความบกพร่องด้านจริยธรรม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า AI มีประโยชน์ต่อเราอย่างมาก สุดท้ายนี้ ถ้าคุณไม่อยากโดน AI แย่งงานไป ต้องเรียนรู้วิธีใช้ AI เข้ามาช่วยทำงานอย่างชาญฉลาด

บทความที่เกี่ยวข้อง

Telegram คืออะไร ใช้ทำอะไร เล่นยังไง อันตรายไหม

การติดต่อสื่อสารกับคนอื่นในยุคนี้ ไม่ได้ลำบากยากเย็นเหมือนในยุคก่อน เพราะมีอินเทอร์เน็ตและสิ่งที่เรียกว่าโปรแกรมแช็ต (Chat) อย่างที่ใช้กันแพร่หลายในไทยก็คือ LINE กับ Messenger ส่วนโปรแกรมที่นิยมไปทั่ว
4

WordPress คืออะไร ทำความรู้จักระบบสร้างเว็บไซต์อันดับหนึ่ง

รู้หรือไม่ว่ากว่า 40% ของเว็บไซต์ทั่วโลก หรือแม้แต่เว็บไซต์ที่คุณเคยเข้าไปใช้งาน ล้วนเป็นเว็บไซต์ WordPress (เวิร์ดเพรสส์) ทั้งสิ้น ด้วยระบบการจัดการที่ง่าย ขั้นตอนสร้างเว็บไซต์ที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งสามาร
5

การตลาด SEO (SEO Marketing) คืออะไร ต่างกับ SEM อย่างไร

ณ ตอนนี้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงธุรกิจผ่านโลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าพวกเขาต้องการซื้อสินค้าหรือกำลังมองหาคำตอบเรื่องอะไร เพียงแค่เข้าไปใน Google พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงไป ก็พบกับคำตอบและสินค้าที่ต้อ
4
th