1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. Content Pillar กลยุทธ์ปั้นคอนเทนต์มัดใจคนอ่านแบบปัง ๆ 
Cover - Content Pillar
เผยแพร่เมื่อ: ตุลาคม 4, 2024 | แก้ไขเมื่อ: ตุลาคม 7, 2024

Content Pillar กลยุทธ์ปั้นคอนเทนต์มัดใจคนอ่านแบบปัง ๆ 

Table Of Contents

หากคุณมีการติดตามเพจต่าง ๆ บน Facebook หรือบัญชี Social Media ของหลาย ๆ ธุรกิจ คุณจะพบว่าคอนเทนต์บนเพจเหล่านั้นมีความแตกต่างกันออกไป บางเพจทำคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาและ Mood & Tone เป็นไปนั้นทิศทางเดียวกัน เรียกได้ว่ามีการคุมมาตรฐานของเนื้อหาอย่างเข้มข้น แต่บางเพจก็มีเนื้อหาไม่คงที่ ผสมปนเปและดูไปคนละทิศคนละทาง ในฐานะที่คุณเป็นผู้บริโภคคุณก็ต้องเชื่อมั่นและตัดสินใจเลือกแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ที่ดีกว่าอยู่แล้ว และ “Content Pillar” นี่เอง ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการทำคอนเทนต์ของแบรนด์ให้แข็งแกร่งและชัดเจนขึ้น

Content Pillar คืออะไร? ประโยชน์ของ Content Pillar มีอะไรบ้าง? ขั้นตอนการสร้าง Content Pillar ทำอย่างไร? ANGA จะมาอธิบายให้คุณรู้ผ่านบทความนี้! ไม่เพียงแค่นั้นเรายังมีตัวอย่างการทำ Content Pillar และ Content Pillar Strategy มาฝากกันด้วย ถ้าคุณพร้อมวางกลยุทธ์ทำคอนเทนต์ มุ่งปั้นแบรนด์ให้ปังแล้ว เราไปติดตามอ่านกันต่อได้เลย

Content Pillar

Content Pillar คืออะไร?

Content Pillar คือกลยุทธ์ในการจัดระเบียบและวางแผนการจัดทำคอนเทนต์ เพื่อให้คอนเทนต์ที่จะเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณชนมีความสอดคล้องกัน อยู่ในทิศทางเดียวกัน โดยที่ไม่หลุดจากแกนคอนเทนต์หลักที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก ซึ่งนอกจากจะทำให้ทีมงานทุกคนในฝั่งของแบรนด์มองภาพเดียวกันและทำงานได้อย่างราบรื่นแล้ว ยังช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจแบรนด์มากขึ้นและมองเห็นจุดเด่นของแบรนด์ชัดเจนขึ้นอีกด้วย

Content Pillar มีกี่ประเภท?

ประเภทของ Content Pillar สามารถแตกออกไปได้ไม่รู้จบ เช่นเดียวกันกับประเภทของคอนเทนต์ เพราะจะขึ้นอยู่กับแต่ละแบรนด์เลย ว่าจะมีการแบ่งประเภทของ Content Pillar อย่างไร ดังนั้น แองก้าจึงขอนำตัวอย่างประเภทของ Content Pillar ที่ถูกนำไปใช้งานบ่อย ๆ มาอธิบายให้ทราบแทน

แบ่งตามประเภทของเนื้อหา

  • Branded : เนื้อหาที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้แก่แบรนด์
  • Education : เนื้อหาให้ความรู้ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค
  • Promotion : เนื้อหาส่งเสริมการขาย โปรโมชั่นลดราคาต่าง ๆ 
  • Life Style : เนื้อหาอื่น ๆ ทั่วไป ที่มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือไม่ก็ได้
  • Real Time : เนื้อหาที่เล่นตามเทรนด์หรือกระแสสังคมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
  • Seasoning Content : เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลหรือวันหยุดต่าง ๆ 

แบ่งตามรูปแบบของเนื้อหา

  • Blog Post (บทความ)
  • Infographics (ภาพอินโฟกราฟิก)
  • Single Photo / Album Photo
  • Video / Short Video (วิดีโอ)
  • Podcast (คอนเทนต์เสียง)

แบ่งตามประเภทของธุรกิจ

  • ธุรกิจค้าปลีก (แบ่งตามสินค้า) : เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องสำอาง อาร์ตทอย โมเดล สินค้าไอที ฯลฯ
  • ธุรกิจให้บริการ (แบ่งตามการบริการ) : คอร์สเรียน ที่พัก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาล ฯลฯ

แบ่งตามจุดประสงค์ทางการตลาด

  • เพิ่ม Impression / Traffic / View
  • เพิ่มยอดผู้ติดตาม (Follower)
  • กระตุ้นให้เกิด Engagement (คอมเมนต์ ไลก์ แชร์)
  • สร้าง Conversion (กระตุ้นการซื้อ เพิ่มยอดขาย สมัครสมาชิก)
  • สร้างแบรนด์ดิ้ง เสริมภาพลักษณ์ สร้างความน่าเชื่อถือ

ประโยชน์ของการทำ Content Pillar คืออะไร

  • ทำให้รู้ว่าในแต่ละเดือนแบรนด์ต้องการสื่อสารอะไร
  • ช่วยให้แบรนด์บรรลุจุดประสงค์ทางการตลาดง่ายขึ้น
  • เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
  • ช่วยสร้างแบรนด์ดิ้ง ส่งเสริมภาพลักษณ์ ทำให้แบรนด์เป็นที่น่าจดจำ
  • ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย
  • วัดผลลัพธ์ง่าย เช่น ทำให้รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายชอบเนื้อหาแบบไหนมากที่สุด
  • การวางแผนล่วงหน้า จะทำให้คุณสามารถจัดการงานได้อย่างเป็นระบบ รู้ว่าต้องเรียงลำดับการทำคอนเทนต์ไหนก่อน-หลัง
  • ประหยัดเวลาในการทำงานระหว่างเดือน เพราะไม่ต้องมานั่ง Research คิดหัวข้อการทำคอนเทนต์ใหม่ทุกวัน
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ SEO และผลักดันอันดับเว็บไซต์ให้สูงขึ้น จากการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 

6 ขั้นตอนการทำ Content Pillar 

ขั้นตอนการทำ Content Pillar แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ซึ่งครอบคลุมกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การกำหนดจุดประสงค์ การวิเคราะห์คู่แข่ง การคิดหัวข้อ การจัดการคอนเทนต์ การสร้างคอนเทนต์ และการวิเคราะห์สรุปผล โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

1. กำหนดจุดประสงค์ในการทำ Content Pillar

การทำ Content Pillar จะสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อมีการวางรากฐานอย่างมั่นคง ซึ่งสามารถทำได้โดยการกำหนดจุดประสงค์หรือเป้าหมายให้ชัดเจนตั้งแต่แรก เช่น เดือนนี้ต้องการให้ยอดขายของสินค้า A สูงขึ้น, ต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์, ต้องการให้คนรู้จักสินค้าใหม่ของแบรนด์เยอะ ๆ , อยากให้ยอดผู้ติดตามแฟนเพจเพิ่มขึ้น, อยากให้คนรู้จักสินค้า B ในวงกว้าง, อยากบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ ฯลฯ 

2. วิเคราะห์คู่แข่งและกลุ่มเป้าหมาย

ศึกษาว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร สนใจอะไร มีปัญหาอะไร กำลังมองหาอะไรจากสินค้าหรือบริการของคุณ ชอบเนื้อหาแบบไหน และมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าอย่างไร เพื่อให้คุณสามารถสร้างคอนเทนต์ให้ออกมาตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

จากนั้นก็มาวิเคราะห์คู่แข่งกันต่อว่าคู่แข่งของคุณคือใคร, มีกลยุทธ์การทำคอนเทนต์อย่างไร, กำหนด Content Pillar อย่างไร, เน้นการเผยแพร่เนื้อหาแบบไหน, คาดการณ์จุดประสงค์ในการทำคอนเทนต์ของคู่แข่ง และวิเคราะห์กลยุทธ์ของคู่แข่งว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ จากเดือนก่อน ๆ ที่ผ่านมา เพื่อหาช่องว่างของคู่แข่ง เรียนรู้ปัญหาของคู่แข่ง และทำมาปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อให้เอาชนะคู่แข่งในตลาดได้

3. คิดหัวข้อทำคอนเทนต์พร้อมระบุรายละเอียด

Research หาไอเดียในการทำคอนเทนต์ให้ตรงกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายอยากเห็น และระดมความคิดเพื่อกำหนดหัวข้อคอนเทนต์ (หัวข้อและสัดส่วนของคอนเทนต์ จะอิงไปตามจุดประสงค์ของแต่ละแบรนด์ในแต่ละเดือน) พร้อมกับระบุรายละเอียดของคอนเทนต์แต่ละหัวข้อด้วย เช่น

  • รูปแบบของคอนเทนต์จะเป็นภาพเดี่ยว อัลบั้มโพสต์ บทความ หรือวิดีโอ
  • ประเภทของเนื้อหาเป็น Promotion, Product, Branded, Lifestyle ฯลฯ
  • เวลาในการโพสต์เนื้อหา เช่น 7.00 – 11.00 น. หรือ 16.00 – 20.00 น. เป็นต้น
  • ระบุช่องทางหรือแพลตฟอร์มที่จะโพสต์เนื้อหา เช่น Facebook, LINE OA, Twitter, Instagram, Lemon8, LinkedIn ฯลฯ
  • รูปแบบของการโพสต์ เช่น Organic หรือยิงแอด โดยส่วนใหญ่มักจะเป็น Organic Post

4. จัดคอนเทนต์ลงไปใน Calendar

นำหัวข้อคอนเทนต์ไปจัดระเบียบลงในตารางปฏิทินรายเดือน ว่าในแต่ละวันหรือในแต่ละสัปดาห์ มีการเผยแพร่คอนเทนต์อะไรบ้าง สัปดาห์ไหนเน้นคอนเทนต์ที่มีเนื้อหายังไง เว้นระยะห่างของคอนเทนต์อย่างไร ฯลฯ เพื่อให้คุณมองเห็นภาพรวมของคอนเทนต์ในเดือนนั้น ๆ หากจัดมาแล้วยังไม่ถูกใจ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ทุกเมื่อ

5. ผลิตและเผยแพร่คอนเทนต์

ผลิตเนื้อหาตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในขั้นตอนที่ 3 จากนั้นก็ทำการเผยแพร่ไปยังแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตามกำหนดการ ซึ่งถ้าคุณผลิตคอนเทนต์ไว้ล่วงหน้าได้ ก็ยิ่งง่ายเลย! เพราะคุณสามารถกำหนดเวลาโพสต์ล่วงหน้าได้ ทำให้คุณไม่ต้องวุ่นวายมาโพสต์คอนเทนต์ในวันดังกล่าวนั่นเอง

6. รายงานสรุปผลและวิเคราะห์ผลลัพธ์

เมื่อจบเดือนแล้ว ให้คุณทำรายงานสรุปผลสิ่งที่เกิดขึ้นกับคอนเทนต์ทั้งหมด อาทิ Impression, Like, Comment, Shared, ความเห็นของคอมเมนต์ส่วนใหญ่, คอนเทนต์ไหนที่ทำให้มีคนทักแช็ตหรือสร้าง Conversion ได้มากที่สุด เพื่อวัดประสิทธิภาพของคอนเทนต์ และให้คุณได้วิเคราะห์ว่าคอนเทนต์แบบไหนปังไม่ปัง จากนั้นก็สามารถนำไปพัฒนา Content Pillar ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในเดือนถัดไปได้

Content Pillar ตัวอย่างธุรกิจคลินิกรักษาสัตว์เลี้ยง

Content Pillar ตัวอย่าง

เรามาดูตัวอย่าง Content Pillar ของธุรกิจคลินิกรักษาสัตว์เลี้ยงแห่งหนึ่งกัน! คลินิกนี้มีบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่ครอบคลุม ทั้งการรักษาโรค, การตรวจสุขภาพ, การฉีดวัคซีนป้องกันโรค, บริการทำหมัน, บริการขูดหินปูน, บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน, บริการโรงแรมรับฝากสัตว์เลี้ยง และยังมีสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงขายด้วย ซึ่งจุดประสงค์ของ Content Pillar ในเดือนนี้คือการเพิ่มผู้ใช้บริการและกระตุ้นยอดขาย แต่ก็ยังคงต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่คลินิกด้วย เพราะยังเปิดธุรกิจมาได้ไม่นานนัก

จึงมีการวาง Content Pillar ไว้ว่าใน 1 สัปดาห์จะต้องมีการอัปเดตคอนเทนต์ทุกวัน ครอบคลุมเนื้อหาหลากหลายประเภท จากตัวอย่างในภาพ Content Calendar สามารถอธิบายได้ดังนี้

  • สีส้ม : การนำเสนอบริการหลัก แจ้งกลุ่มเป้าหมายให้ทราบว่าเรามีบริการอะไรบ้าง
  • สีฟ้า : คำถามที่พบบ่อย (FAQ) จะอยู่ในรูปภาพของ Single Photo ตอบคำถามสั้น ๆ เพื่อให้ความรู้และช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นที่ผู้อ่านกำลังเผชิญอยู่
  • สีเขียว : Video Content ให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง โดยมีแพทย์มีให้ข้อมูล เพื่อดึงดูดความสนใจและ
  • สีม่วง : เนื้อหาเกี่ยวกับแบรนด์ เช่น จุดเด่นของคลินิก, แนะนำสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ, บรรยากาศภายในคลินิก ฯลฯ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
  • สีแดง : โปรโมชันส่งเสริมการขาย สำหรับกระตุ้นยอดขายในเดือนนั้น ๆ 

Content Pillar Strategy ที่เราอยากแนะนำ

  1. เนื้อหาต้องมีคุณภาพและเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้อ่านติดตามคุณและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์
  2. ลองใส่คีย์เวิร์ด (Keyword) ลงไปในเนื้อหา เพื่อเสริมประสิทธิภาพของ SEO
  3. คุมมาตรฐานของเนื้อหาให้มั่นคง เช่น การเลือกใช้สี, สไตล์การออกแบบ, คุณภาพของภาพที่ใช้ ฯลฯ
  4. โพสต์คอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ อัปเดตเนื้อหาและเทรนด์ใหม่ ๆ ในแวดวงธุรกิจเป็นประจำ
  5. ตอบกลับความคิดเห็นที่เกิดขึ้นบนคอนเทนต์ต่าง ๆ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรและกระตุ้น Engagement
  6. ใช้เครื่องมือทางการตลาด (MarTech) เข้ามาช่วยอย่างการใช้ Gemini ในการหาข้อมูล คิดไอเดียทำคอนเทนต์, การใช้ Google Keyword Planner หรือ SEMRush ช่วยทำ Keyword Research หรือการใช้ Trello ช่วงจัดระเบียบ Content Pillar และวางแผนการทำงาน เป็นต้น 

“Content Pillar ช่วยเรื่องการทำ SEO ได้เยอะเลยครับ เช่น เอาไปช่วยวางแผนเนื้อหาหลักและเนื้อหารอง (เนื้อหาที่มาคอยซัพพอร์ตประสิทธิภาพของ SEO เนื้อหาหลัก) ทีนี้คุณก็จะรู้ว่าควรทำเนื้อหาอะไรก่อนหลัง มีเนื้อหาอะไรอยู่ในมือแล้วบ้าง ซึ่งจะทำให้เนื้อหาบนเว็บไซต์ดูน่าเชื่อถือและช่วยให้ Google มองว่าเว็บไซต์เราเชี่ยวชาญตามหลัก E-E-A-T ครับ” – Piyawat Supsindumrong | Senior SEO Specialist at ANGA Bangkok

บทสรุป

สรุปว่า Content Pillar คือกลยุทธ์ในการวางแผนและจัดระเบียนคอนเทนต์ให้มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ธุรกิจ และตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ซึ่งเป็นเหมือนหัวใจหลักในการทำคอนเทนต์ที่แบรนด์ยึดมั่นเอาไว้ การทำ Content Pillar มีความสำคัญมาก แบรนด์ที่มีการทำ Content Pillar จะมีแนวทางการทำคอนเทนต์ที่ชัดเจน มองปุ๊บรู้ปั๊บ ว่าผ่านการวางแผนมาเป็นอย่างดี นอกจากจะช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ทางการตลาดแล้ว ยังช่วยทำให้ได้รับความไว้วางใจในวงกว้างด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

จดโดเมน .co.th ทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง จดที่ไหนดี 2025

ปัจจุบันคนไทยหันมาค้นหาข้อมูลและช้อปปิ้งออนไลน์กันแทบทั้งหมดแล้ว การมีตัวตนบนโลกออนไลน์ผ่านเว็บไซต์จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะถ้าคุณมีโดเมน .co.th ที่นอกจากจะดูน่าเชื่อถือแล้ว
62

รวม 10 แอปแต่งรูปขายของ ใช้งานง่าย ดาวน์โหลดฟรี

สิ่งที่ดึงดูดความสนในของผู้บริโภคหรือลูกค้าได้มากที่สุด คงไม่พ้นรูปภาพที่คุณใช้ในการโปรโมตนำเสนอสินค้า ถึงแม้ว่าคุณจะเขียนข้อความนำเสนอโปรโมชันลดแรงแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีรูปภาพสวย ๆ ที่ดึงดูดสายตา ผู้บริโ
54

NPC คืออะไร NPC TikTok คืออะไร เทรนด์ไลฟ์สดที่กำลังมาแรง

ถ้าคุณเป็นคนที่ใช้งาน TikTok (ติ๊กต็อก) เป็นประจำ ไม่ว่าจะใช้ในการติดตามข่าวสาร เสพคอนเทนต์ หรือซื้อ-ขายสินค้าก็ตาม คุณคงจะเคยเห็นการไลฟ์สดหลาย ๆ รูปแบบ ทั้ง PK ใน TikTok ทั้งแสดงความสามารถพิเศษ และรว
42
th