1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. รู้ไว้ไม่โป๊ะ 3 วิธีเช็กที่มาของรูปภาพด้วย Google Fact Check
วิธีเช็คที่มาของรูป
เผยแพร่เมื่อ: ธันวาคม 4, 2023

รู้ไว้ไม่โป๊ะ 3 วิธีเช็กที่มาของรูปภาพด้วย Google Fact Check

Table Of Contents

เครื่องมือยอดนิยมและมีผู้ใช้งานทุกวินาทีอย่าง Google หมั่นปล่อยฟีเจอร์ใหม่ ๆ เครื่องมือเด็ด ๆ รวมถึงอัปเดตเวอร์ชันของผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วโลก รู้สึกประทับใจและอยากเข้ามาใช้บริการซ้ำอีกในทุก ๆ วัน และในช่วงเดือนตุลาคม 2023 ที่ผ่านมานี้ ทาง Google ก็มีการปล่อยฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อว่า “Fact Check” ออกมาด้วย
Google Fact Check ถูกปล่อยออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานรู้รายละเอียดเกี่ยวกับที่มาของรูปภาพ สำหรับตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และที่มาที่ไปของรูปภาพที่พบบน  Google Search Engine เนื่องจากก่อนหน้านี้ มีผู้ใช้งานมากมายตั้งคำถามต่อ Google เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของรูปภาพเหล่านี้นั่นเอง และในบทความนี้ แองก้าก็จะมาแนะนำวิธีเช็กที่มาของรูปภาพด้วยฟีเจอร์นี้กัน!

Google Fact Check

วิธีเช็กรูปภาพด้วยการใช้ฟีเจอร์ Google Fact Check สามารถทำได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่คุณค้นหารูปภาพที่คุณต้องการบน Google Image จากนั้นให้ทำการคลิกขวาที่รูปภาพที่สนใจ แล้วกด “About this image”  และรายละเอียดเรื่องที่มาของภาพก็จะปรากฏขึ้นใต้ Thumnail หากคุณอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ก็สามารถกดเข้าไปอ่านได้เลย

วิธีเช็กที่มาของรูปภาพด้วย Google Fact Check

1. เช็กประวัติของรูปภาพ

วิธีเช็กที่มาของรูปภาพวิธีที่หนึ่งคือการเช็ก “ประวัติ” ของรูปภาพ ข้อมูลจาก Google Fact Check จะระบุว่าครั้งแรกที่รูปภาพนี้ปรากฏบน Google Search คือเมื่อไหร่ และแหล่งที่มาแรกของภาพนั้นคือเว็บไซต์ใด ซึ่งจะทำให้คุณทราบว่าต้นฉบับของภาพนี้มาจากที่ไหน

2. วิธีการใช้รูปภาพของเว็บไซต์อื่น ๆ 

คุณสามารถตรวจเช็กได้ว่ารูปภาพดังกล่าวถูกนำไปใช้อย่างไรในเว็บไซต์อื่น ๆ หรือมีกล่าวถึงรูปภาพนี้อย่างไรบ้าง โดยข้อมูลนี้จะช่วยในเรื่องของการกล่าวอ้างอิงถึงที่มาของรูปภาพ

3. ข้อมูล Metadata ของรูปภาพ

คุณจะรู้ถึงข้อมูล Metadata ของรูปภาพนั้นด้วย อาทิ รูปภาพนี้ถูกสร้างโดยอะไร ใช่ AI หรือไม่ ใครเป็นเจ้าของรูปภาพนี้ ใครเป็นผู้เผยแพร่รูปภาพนี้ เป็นต้น

Google Fact Check About this image

Fact Check Explorer เป็นอีกวิธีเช็กที่มาของรูปภาพอีกวิธีหนึ่ง โดยจะเป็นการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของรูปภาพเป็นหลัก ว่าเป็นรูปภาพที่เกิดขึ้นจริงไหม เป็นข่าวปลอมหรือไม่ ซึ่งจะนำข้อมูลจาก APIs ขององค์กรที่จัดการเรื่องข่าวปลอมและสื่อระดับโลกมาใช้งาน

วิธีเช็กรูปภาพด้วย Fact Check Explorer ให้เริ่มจากการใส่ Keyword ลงไปในช่องค้นหา จากนั้นลิสต์รายชื่อเว็บไซต์สื่อที่เคยพูดถึงเรื่องดังกล่าวก็จะปรากฏขึ้นมาให้คุณได้ตรวจสอบ โดยจะประกอบไปด้วยรูปภาพ, วันที่, หัวข้อข่าว, เนื้อหา และชื่อองค์กร

Google SGE หรือ Search Generative Experience เป็นหนึ่งในฟีเจอร์ของ Google ที่นำ Generative AI เข้ามาช่วยตอบคำถามผู้ใช้งานแบบครบถ้วนจบในที่เดียว ในลักษณะของการพูดคุยโต้ตอบกัน โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องกดเข้าไปอ่านในเว็บไซต์เลย ซึ่งตัว Google SGE นี้ ก็ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอ้างอิงหรือที่มาของข้อมูลและรูปภาพอีกด้วย ดังนั้น ฟีเจอร์ SGE นี้ ก็นับเป็นวิธีเช็กที่มาของรูปภาพเช่นกัน

ขอบคุณภาพจาก Search Engine land

ทุกวันนี้ มีพื้นที่ในการให้ข้อมูลข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์มากมาย บางครั้งข่าวที่เราได้อ่านไปอาจจะไม่ใช่เรื่องจริงก็เป็นได้ รวมถึงในส่วนของรูปภาพที่ถูกเผยแพร่ออกมาเช่นกัน เพื่อไม่ให้คุณถูกตกเป็นเหยื่อขององค์กรสื่อปลอม และได้รับข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของรูปภาพที่ถูกต้อง คุณตรวจสอบรายละเอียดโดยการใช้ Google Fact Check เสียก่อน

ซึ่งในบทความนี้ ทาง ANGA ก็ได้เอาวิธีเช็กที่มาของรูปภาพด้วย Google Fact Check มาฝากกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าถามว่าตอนนี้ใช้งานได้เลยไหม? ต้องขอตอบว่าใช้งานได้แค่บางพื้นที่เท่านั้น และยังคงรองรับเฉพาะภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียว ส่วนประเทศไทยและภาษาอื่น ๆ อาจจะต้องรอการเปิดตัวจริง หลังจากผ่านพ้นช่วงทดสอบไปก่อน

บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้งาน AI ของ Google

  •  Google Maps AI การใช้ AI มานำทางและแสดงแผนที่ที่แม่นยำมากกว่าเดิม
  •  Google Shopping AI การใช้ AI มาสร้างโมเดลลองเสื้อผ้าออนไลน์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สรุปเนื้อหาจากงาน Google Search Central Live 2024

Google Search Central Live 2024 คืองานสัมมนาที่ทาง Google จัดขึ้นมาเพื่ออัปเดตข้อมูลด้าน Google Search โดยเฉพาะ จัดเต็มไปด้วยเนื้อหาเรื่องการทำ SEO (Search Engine Optimization), Search Engine, Search
104

Google กลับลำไม่ยกเลิก Third-Party Cookies แล้ว!

ย้อนกลับไปในปี 2019 ได้มีประกาศสำคัญที่ว่า Google ยกเลิก Cookies บน Chrome และคาดว่าจะเลิกใช้ Third-Party Cookies ทั้งหมดได้ภายในปี 2024 เพราะ Google ต้องการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน พร้อมทั้ง
164

Search Engine คืออะไร มีอะไรบ้าง และแบ่งออกเป็นกี่ประเภท?

หลาย ๆ คนคงจะเคยเห็นคำว่า “Search Engine (เสิร์ชเอนจิน)” ผ่านตามาบ้างแล้ว จากการอ่านบทความหรือฟังพอดแคสต์ที่พูดถึงการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่มุ่งเน้นการเพิ่ม Or
130
th