1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. ทำความรู้จักอีกหนึ่งประเภทสื่อ! Owned Media คืออะไร? ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไร?
Owned Media คืออะไร
เผยแพร่เมื่อ: มีนาคม 10, 2023 | แก้ไขเมื่อ: กรกฎาคม 30, 2024

ทำความรู้จักอีกหนึ่งประเภทสื่อ! Owned Media คืออะไร? ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไร?

Table Of Contents

“สื่อ” เป็นส่วนหนึ่งของการทำการตลาดที่มีอิทธิพลต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก ซึ่งธุรกิจจำเป็นจะต้องให้ความใส่ใจกับการใช้สื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย รวมถึงโฆษณาสินค้าและบริการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้และต้องการซื้อสินค้า แน่นอนว่าสื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันนี้ก็คงไม่พ้น “สื่อสังคมออนไลน์” (Social Media) ซึ่งสามารถแบ่งการสื่อสารออกได้ 4 ประเภทหลัก ๆ คือ Paid Media, Earned, Shared, Owned โดยแต่ละประเภทก็จะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป
แต่ในบทความนี้แองก้า (ANGA) จะพาคุณเจาะลึกว่า สื่อประเภท Owned Media คืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง แล้วทำไมธุรกิจจึงไม่ควรมองข้ามและต้องใช้ Owned Media เพื่อให้ธุรกิจสามารถเข้าใจและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เจาะลึก! Owned media คืออะไร?

Owned Media คือ สื่อที่แบรนด์เป็นเจ้าของเอง เช่น ช่องทาง Social Media ต่าง ๆ , Podcast, Blog, เว็บไซต์บริษัท ซึ่งแบรนด์สามารถควบคุมคอนเทนต์ได้ทั้งหมด ทำให้สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าได้โดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดกับการใช้สื่อประเภทอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น การนำภาพข่าวจากสื่อมวลชนหรืออินฟลูเอนเซอร์ มาแสดงบนเว็บไซต์หรือ Social Media ของแบรนด์ 

นอกจากนี้ Owned Media ยังถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสื่อสารข้อมูลไปยังกลุ่มลูกค้า หากมีการสร้างคอนเทนต์ที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ที่ลูกค้าสงสัย หรือต้องการทราบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น รวมคำถามที่พบบ่อย แนะนำการใช้สินค้า แนะนำสรรพคุณของสินค้า ช่องทางการติดต่อเมื่อสินค้ามีปัญหา ทั้งบน Social Media และเว็บไซต์ ดังนั้นแบรนด์จึงควรให้ความสำคัญกับการผลิตคอนเทนต์ในสื่อเหล่านี้ เพื่อให้มีข้อมูลที่ครบถ้วน จนสามารถสร้างความมั่นใจและดึงดูดลูกค้าเข้ามาได้

Owned media ข้อดี-ข้อเสีย

ข้อดีและข้อจำกัดที่ควรรู้ของ Owned Media คืออะไรบ้าง?

ข้อดีของ Owned Media คืออะไร?

ไม่มีค่าใช้จ่าย 

อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้นว่า Owned Media คือสื่อที่แบรนด์เป็นเจ้าของเอง ทำให้สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ผ่านช่องทางที่แบรนด์เป็นเจ้าของ โดยไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อช่องทางอื่น ๆ ในการโฆษณาหรือสื่อสารกับลูกค้า

จัดการคอนเทนต์ได้อย่างเต็มที่ 

นอกจากแบรนด์จะเป็นเจ้าของสื่อแล้ว แบรนด์ยังเป็นคนที่เข้าใจความต้องการหรือข้อสงสัยของลูกค้าอย่างถ่องแท้ ทำให้สามารถวางแผน รวมถึงผลิตคอนเทนต์ที่ตรงจุด ตรงใจ และตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อจำกัดของ Owned Media คืออะไร?

ต้องใช้เวลาเพื่อให้เป็นที่รู้จัก

เนื่องจาก Owned Media เป็นช่องทางที่แบรนด์ต้องสร้างขึ้นแบบ Organic หากเป็นแบรนด์ใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก จะต้องใช้เวลาเพื่อรอให้ Owned Media ของแบรนด์เป็นที่รู้จักผ่านการทำคอนเทนต์ที่น่าสนใจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดึงดูดให้ผู้ที่สนใจสินค้าหรือบริการเข้ามาติดตาม

มีข้อจำกัดในการใช้สื่อที่ต้องปฏิบัติตาม

แม้ว่าแบรนด์จะสร้าง Owned Media ขึ้นมาเอง แต่แบรนด์ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของที่แท้จริงของสื่อนั้น ๆ ซึ่งแต่ละสื่อก็มีข้อจำกัดที่แบรนด์ต้องศึกษาให้เข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนว่าหากใช้บริการเอเจนซี่โฆษณาก็จะไม่ต้องกังวลเรื่อง เพราะทางเอเจนซี่จะเป็นผู้ที่คอยดูแลเรื่องเหล่านี้ให้ทั้งหมด แต่ก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายตามมาด้วยเช่นกัน

กลยุทธ์การใช้ Owned media กับธุรกิจ B2C และ B2B

แม้ Owned Media จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการสื่อสารสำหรับทุกธุรกิจ แต่ด้วยรูปแบบธุรกิจและโมเดลการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน จึงต้องแบ่งกลยุทธ์การใช้ Owned Media ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การใช้ Owned Media กับธุรกิจ B2C และ B2B

Owned media กับธุรกิจ B2C และ B2B

การใช้ Owned Media กับธุรกิจ B2C (Business to Customer)

เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ B2C คือผู้ซื้อ (Buyer) หรือ ผู้ใช้คนสุดท้าย (End User) ดังนั้นการใช้กลยุทธ์สื่อสารแบบผลัก (Push Strategy) ผ่านการสร้างความน่าเชื่อถือ หรือประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ จะช่วยดึงดูดให้ลูกค้ารู้จักและสนใจ Owned Media ของแบรนด์ได้ 

แต่แน่นอนว่าสำหรับธุรกิจแบบ B2C แล้ว การที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้น เมื่อ Owned Media ของแบรนด์เริ่มเป็นที่รู้จักแล้ว ก็อาจจะต้องใช้กลยุทธ์สื่อสารแบบดึงดูด (Pull Strategy) หรือการใช้สื่อประเภท Paid Media ในการเผยแพร่เนื้อหา หรือข้อมูลของสินค้าและบริการ เพื่อเร่งให้ลูกค้าเกิดการซื้อสินค้าหรือบริการ

การใช้ Owned Media กับธุรกิจ B2B (Business to Business)

กลุ่มเป้าหมายของการใช้ Owned Media กับธุรกิจ B2B ก็คือเพื่อหาลูกค้า B2B เช่น พ่อค้าคนกลาง, ร้านค้าปลีก, ตัวแทนจำหน่าย ดังนั้นจึงควรใช้กลยุทธ์สื่อสารแบบผลัก (Push Strategy) เพื่อโน้มน้าวใจ และสร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้ในฐานะผู้นำของอุตสาหกรรมนั้น ๆ ผ่านการผลิตคอนเทนต์ที่สะท้อนคุณค่าของธุรกิจ และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในอนาคตบนเว็บไซต์ และ Landing Page ซึ่งเป็น Owned Media ที่เหมาะกับธุรกิจ B2B และเป็นจุดที่เห็นผลลัพธ์ชัดเจน เช่น ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้า, กรอกฟอร์มติดต่อ หรือเข้ามาหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์และสินค้าของแบรนด์ 

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Owned Media ในการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของธุรกิจ B2B อย่างการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลในรูปแบบ Product Lookbook หรือ Digital Brochure เพื่อนำเสนอและผลักดันให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ อีกทั้งยังสามารถใช้สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลในรูปแบบ Digital Newsletter, Digital Catalogue เพื่อส่งมอบคอลเลกชันใหม่ หรือแจ้งข่าวสารของสินค้าและบริการให้ลูกค้าตัวจริงที่มีความสำคัญกับแบรนด์ของเราให้รับรู้ก่อนใคร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายทันทีได้อีกด้วย

การกำหนด KPI ของสื่อประเภท Owned Media

แน่นอนว่าการใช้สื่อประเภทต่าง ๆ ย่อมต้องมีการกำหนด KPI ที่ชัดเจน เพื่อวัดผลและความสำเร็จของสิ่งที่สื่อสารออกไป ซึ่งการกำหนด KPI จะต้องดูจากวัตถุประสงค์ในการสื่อสารของสื่อแต่ละประเภท ว่าทำไปเพื่ออะไร ต้องการสื่อสารอะไร หรือกลุ่มเป้าหมายคือใคร แน่นอนว่าเมื่อวัตถุประสงค์แตกต่างกัน KPI ก็จะแตกต่างกันไปด้วย โดยการกำหนด KPI ในส่วนของ Owned Media มีดังนี้

KPI ของสื่อประเภท Owned Media

Tips น่ารู้: Peso Model คืออะไร?

PESO Model คือวิธีที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่ประเภทของการสื่อสารที่แบรนด์มีกับผู้บริโภค ที่ช่วยให้นักการตลาดเห็นภาพรวมของกิจกรรมทางการตลาดได้ใหญ่และชัดเจนขึ้น โดย PESO Model สร้างขึ้นมาโดย “Gini Dietrich” ผู้ก่อตั้ง Spin Sucks  ในปี 2009 เพื่อวางแผนการใช้สื่อรูปแบบต่าง ๆ ทั้งคอนเทนต์และกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่ง PESO Model สามารถแบ่งการสื่อสารออกได้ 4 ประเภท ดังนี้

  1. Paid Media: สื่อที่แบรนด์จ่ายเงินเพื่อให้ได้ช่องทางในการประชาสัมพันธ์ (ซื้อโฆษณา)
  2. Earned Media: สื่อที่ได้มาเมื่อมีคนพูดถึงสินค้า บริการ หรือแบรนด์ เช่น การไลค์ การแชร์ การบอกต่อแบบปากต่อปาก (Word of Mouth) เป็นต้น
  3. Shared Media: สื่อที่ลูกค้าสร้างขึ้นมาเป็น User Generated Content (UGC) เช่น การรีวิว
  4. Owned Media: สื่อที่แบรนด์เป็นเจ้าของเอง เช่น เว็บไซต์ ช่องทาง Social Media ต่าง ๆ อีเมล เว็บไซต์ Blog เป็นต้น

ซึ่งการจะทราบได้ว่า แบรนด์ของเราเหมาะกับการใช้สื่อประเภทใด จะขึ้นอยู่กับการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการใช้ Owned Media แล้วต่อยอดไปยังสื่ออีก 3 ประเภทที่เหลือ

เมื่อได้ทำความรู้จักกับ Owned Media กันแบบเจาะลึกไปแล้ว เชื่อว่าแบรนด์ต่าง ๆ ก็คงจะเริ่มเข้าใจกันแล้วว่า Owned Media คืออะไร แล้วทำไมธุรกิจต่าง ๆ ถึงควรทำ Owned Media นอกจากนี้ยังได้ทำความรู้จัก PESO Model แบบคร่าว ๆ ไปพอสมควรแล้วด้วย ซึ่งหากแบรนด์มีการศึกษาการสื่อสารทั้ง 4 ประเภทอย่างถี่ถ้วน และใช้สื่อทั้ง 4 ประเภทให้สอดคล้องและกลมกลืนกัน ก็จะช่วยให้แบรนด์ของคุณได้รับความสนใจจากลูกค้า และสามารถสร้างยอดขายได้อย่างแน่นอน 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Influencer Marketing กลยุทธ์การตลาดมาแรงที่แบรนด์ไม่ควรพลาด

Influencer Marketing คืออีกหนึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะผู้ติดตามของพวกเขาต่างเชื่อมั่นและไว้ในสิ่งที่อินฟลูเอนเซอร์พูด ทำให้เกิดความคล้อยตามได้ง่าย ประกอบกับช่องทา
19

สรุป Facebook Update 2024 มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง มาดูกัน

Facebook หรือ Meta เป็น Social Media Platform ที่พัฒนาและมีการอัปเดตอยู่เสมอ รวมทั้งยังมีประสิทธิภาพในแง่ของการทำการตลาดออนไลน์สูง โดยเฉพาะการยิงโฆษณา Facebook Ads เพราะกลุ่มผู้ใช้งานเดิมยังคงไม่ทิ้งแ
22

Character Marketing กลยุทธ์ปั้นแบรนด์ให้โดนเด่นเหนือคู่แข่ง

ปัจจุบันโลกธุรกิจเต็มไปด้วยการแข่งขันที่เข้มข้นและดุเดือดเป็นอย่างมาก แต่ละธุรกิจต่างงัดกลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาแข่งขันกัน ซึ่งธุรกิจที่สามารถทำให้ผู้บริโภคจดจำได้จะเป็นธุรกิจที่อยู่รอดในโลกธุรกิจต่อจา
35
th