1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. “Craft” Content Marketing กลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ให้แตกต่าง
Craft Content Marketing
เผยแพร่เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2024 | แก้ไขเมื่อ: มีนาคม 13, 2024

“Craft” Content Marketing กลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ให้แตกต่าง

Table Of Contents

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในสายอาชีพด้านการตลาด คงจะเคยเห็นคำว่า “Content is King” ผ่านตามาบ้างไม่มากก็น้อย วลีนี้มีความหมายว่าเนื้อหา (Content) มีความสำคัญอย่างมาก จนเปรียบดั่งราชาบนโลกออนไลน์ หากขาดคอนเทนต์ไปก็ไม่สามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายมาสนใจคุณได้เลย เพราะคอนเทนต์เป็นเหมือนเครื่องมือที่ทุกแบรนด์ใช้สื่อสารกับลูกค้า โดยคอนเทนต์มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ, รูปภาพ, วิดีโอ, เสียง, บทความ และรวมถึงสื่อรูปแบบอื่น ๆ ด้วย

ดังนั้น ถ้าคุณอยากให้คนรู้จักธุรกิจของคุณมากขึ้น มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น หรืออยากให้ยอดขายของธุรกิจเติบโตขึ้น การทำ Content Marketing (การสร้างคอนเทนต์เพื่อจุดประสงค์ทางการตลาด) คือสิ่งที่คุณไม่ควรมองข้ามไป แต่ทว่าในทุกวันนี้ ใคร ๆ ก็สามารถทำคอนเทนต์ได้ทั้งนั้น เจ้าของธุรกิจก็ทำได้ คนทั่วไปก็ทำได้ ไม่ใช่มีเพียงแค่นักการตลาดเท่านั้น เพราะแค่การโพสต์ภาพสินค้าพร้อมใส่ราคาลงไปก็ถูกเรียกว่าเป็นคอนเทนต์ได้แล้ว จึงทำให้คอนเทนต์ในท้องตลาดส่วนใหญ่ดูคล้ายคลึงกันไปหมด

แล้วคุณจะทำอย่างไรให้คอนเทนต์ของคุณแตกต่างจากคนอื่นล่ะ? คำตอบคือการ “Craft” คอนเทนต์ขึ้นมาใหม่ เพื่อเจาะใจลูกค้าจากการใช้ Insight ของจริงนั่นเอง! ซึ่ง Craft Content Marketing คืออะไร ทำอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง บทความนี้จะมาคลายข้อสงสัยให้คุณรู้กัน

Craft Content Marketing คือ

Craft Content Marketing คืออะไร

Craft Content Marketing หรือ Craft Marketing คือกลยุทธ์ในการสร้างคอนเทนต์ให้แตกต่างจากผู้อื่น โดยจะเป็นการทำความเข้าใจสินค้าและดึงเอา Insight ของลูกค้ามาเป็นส่วนประกอบในการ Craft คอนเทนต์ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้คอนเทนต์ดังกล่าวออกมาตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ว่านี้ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายแบบกว้าง ๆ แต่เป็นกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง

โดยคอนเทนต์ที่ถูก Craft ขึ้นมาด้วยวิธีการนี้จะมีความแตกต่างจากคอนเทนต์ทั่ว ๆ ไป ตรงที่คอนเทนต์ทั่วไปถูกสร้างจากมุมมองของคนทำเพียงฝ่ายเดียว สื่อสิ่งที่อยากบอกออกไป แต่ไม่ได้คำนึงว่าผู้รับอยากได้ยินหรืออยากเห็นอะไร ส่วน Craft Content Marketing จะเป็นการทำคอนเทนต์ในมุมมองของกลุ่มเป้าหมาย มีการวิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร และสื่อสิ่งที่ผู้รับอยากได้ยินออกมาเป็นคอนเทนต์นั่นเอง

Craft Marketing มาจากไหน ใครเป็นผู้นิยาม

ที่มาของ Craft Marketing เกิดมาจาก “คุณไกด์” CEO ของ Insightout Service เอเจนซี่ด้านการตลาดออนไลน์ที่โดดเด่นด้านการทำ Content Marketing ที่มีการทำคอนเทนต์ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากผู้อื่น (ศึกษาแบบเจาะลึกและ Craft สิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างพิถีพิถัน จนเกิดมาเป็นคอนเทนต์ที่แตกต่างจากคอนเทนต์ในท้องตลาด) ทำให้คอนเทนต์ที่ได้มาจากคนที่เข้าใจใน Insight ของกลุ่มเป้าหมายและสินค้าอย่างแท้จริง และสร้างผลลัพธ์ให้แก่ธุรกิจของลูกค้าได้มากมายมหาศาล

ซึ่งทางแองก้าเองก็มีความสนใจในเรื่องนี้ไม่น้อย จึงได้เชิญคุณไกด์มาร่วมรายการ “ปฏิบัติศาสตร์” เพื่อพูดคุยและแชร์ประสบการณ์ในด้านการทำ Content Marketing ด้วยเทคนิค Craft Marketing กับคุณเกน Managing Director ของ ANGA และเราได้สรุปประเด็นสำคัญต่าง ๆ มาไว้ในบทความนี้ให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ หากต้องการรับชมบทสัมภาษณ์เรื่อง Craft Marketing แบบเต็ม ๆ ก็สามารถรับชมผ่านทางวิดีโอด้านล่างนี้เลย

3 ขั้นตอนการ Craft คอนเทนต์ให้ประสบความสำเร็จ

ขั้นตอนการทำ Craft Content Marketing ให้ประสบความสำเร็จมีอยู่ 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. การเข้าใจสินค้าและกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อรู้แล้วว่าลูกค้าของเราคือใคร ต้องการผลักดันสินค้าชิ้นไหน และต้องการขายสินค้าให้กับคนกลุ่มใด ให้เดินหน้าศึกษาข้อมูลของสินค้าด้วยตัวเองก่อนเลย (ไม่จำเป็นต้องรอให้ลูกค้าส่งบรีฟมา) เช่น ติดต่อขอชมสินค้าจริง ทดลองใช้สินค้าจริง เพื่อให้คุณได้เห็นและสัมผัสสินค้าจนครบทุกมิติ หรือพูดคุยขอ Insight กับลูกค้าโดยตรง เพื่อให้ได้มุมมองใหม่ ๆ หรือข้อมูลในส่วนที่เราเข้าถึงเองไม่ได้

หากคุณรับบรีฟผ่านทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่าจะมาในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอก็ตาม สุดท้ายแล้วคุณก็จะไม่สามารถผลิตคอนเทนต์ให้แตกต่างจากคนอื่นได้เลย เนื่องจากคุณไม่ใช่คนที่รู้จักสินค้าจริง ๆ จึงไม่สามารถนำประสบการณ์ที่ได้ในมุมมองของลูกค้าผู้ใช้จริงมาสร้างคอนเทนต์ได้นั่นเอง

ตัวอย่าง

หากสินค้าคืออะลูมิเนียม คุณคิดว่าใครคือคนที่จะซื้ออะลูมิเนียม? ให้ลิสต์แยกออกมาเลยว่ามีใครบ้าง สมมติว่ามีอยู่ 3 กลุ่มคือ ช่างรับเหมาก่อสร้างบ้าน, เจ้าของบ้าน และสถาปนิก จากนั้นให้คุณทำความเข้าใจต่อว่ากลุ่มคนเหล่านี้สนใจอะลูมิเนียมในเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่น 

  • ช่าง : สนใจว่าอะลูมิเนียมแต่ละแบบประกอบยังไง เหมาะกับงานแบบไหน
  • เจ้าของบ้าน : สนใจคุณภาพและความสวยงาม
  • สถาปนิก : สนใจ Conceptual Design

2. การสื่อสารออกไป

การทำคอนเทนต์ไม่ได้มีกรอบตายตัว คุณสามารถ Craft คอนเทนต์ได้อย่างอิสระ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มเป้าหมายที่คุณอยากส่งสารออกไปคือคนกลุ่มไหน อยากให้พวกเขาได้รับรู้อะไร ซึ่งจากข้อมูลที่เราได้ในขั้นตอนที่ 1 จะพบว่ากลุ่มของลูกค้าที่สนใจในอะลูมิเนียมมีอยู่ 3 กลุ่ม ต่อมาให้เราเลือกช่องทางที่จะใช้ในการสื่อสาร อาทิ Social Media หรือ Website 

หากตัดสินใจเลือก Facebook เป็นช่องทางหลักในการทำ Content Marketing แนะนำให้สร้างเพจออกเป็น 3 เพจตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อที่จะได้ทำคอนเทนต์และส่งสารออกไปให้ตรงกับผู้รับมากที่สุด ไม่ควรยำรวมคอนเทนต์ทุกแบบทุกสไตล์ไว้ในเพจเดียวกัน เพราะจะทำให้คุณสับสนและไม่รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มต้องการอะไรกันแน่

นอกจากนี้ คุณอาจจะต้องดึงเอากลยุทธ์หรือวิธีการทางการตลาดออนไลน์อื่น ๆ เข้ามาใช้ด้วย เช่น เขียนแคปชั่นโดยสอดแทรกคีย์เวิร์ด SEO ลงไป, นำคอนเทนต์ที่ได้ไปยิงโฆษณาร่วมด้วย หรือการทำรูปภาพให้เป็นขนาดต่าง ๆ ตามที่แพลตฟอร์มกำหนด เป็นต้น (เช็กขนาดรูป Facebook ได้ที่นี่)

3. การวัดผลลัพธ์

ติดตามและวัดผลลัพธ์ว่าคอนเทนต์ที่เราทำเป็นไปตามที่ลูกค้าคาดหวังไว้หรือไม่ โดยรายงานทั้งผลลัพธ์ที่ดีและผลลัพธ์ที่ไม่ดีควบคู่กันไป ถ้าผลตอบรับของคอนเทนต์ไหนที่ไม่ดี ให้เราค้นหาว่าข้อผิดพลาดในคอนเทนต์นั้นคืออะไร เรียนรู้จากมัน และมองหาวิธีการแก้ปัญหา เพื่อนำประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนาคอนเทนต์ใหม่ ๆ ในอนาคต

แนะนำเครื่องมือช่วยทำคอนเทนต์

เครื่องมือช่วยทำ Content Marketing ที่เราจะมาแนะนำในวันนี้ มีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน คือ Google Trends, Observation Interview และ Big Data แต่ต้องบอกก่อนว่าไม่มีเครื่องมือไหนแม่นยำและช่วยคุณได้แบบ 100% แม้จะเป็นเครื่องมืออื่น ๆ ที่นอกเหนือจากในบทความนี้ก็ตาม เพราะคุณจะต้องลงมือทำด้วยตัวเอง ทดลองทำคอนเทนต์หลาย ๆ แบบ และนำ Learning ที่ได้มาปรับใช้ในครั้งต่อ ๆ ไป เพื่อหารูปแบบและวิธีการทำคอนเทนต์ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ

เครื่องมือช่วยทำคอนเทนต์

Google Trends

Google Trends เป็นเครื่องมือจาก Google ที่ใช้ในการติดตามเทรนด์ที่กำลังเป็นที่นิยม และสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการค้นหาของผู้ใช้งานได้ คุณสามารถใช้ Google Trends ค้นหาเทรนด์ต่าง ๆ และไอเดียในการทำคอนเทนต์ เพื่อนำมาวิเคราะห์และทำเนื้อหาให้ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายได้แบบฟรี ๆ

Observation Interview

Observation Interview เป็นการเก็บข้อมูลและหา Insight จากกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าโดยตรง อย่างการโทรศัพท์ไปสอบถามลูกค้าว่าสิ่งที่ชอบในสินค้านี้คืออะไร, มีความคาดหวังหรือสิ่งที่ต้องการจากการซื้อสินค้าอย่างไร, สิ่งที่ไม่ชอบและอยากให้ปรับปรุงคืออะไร, สิ่งที่ทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นนี้จากทางบริษัทคืออะไร หรือประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้สินค้าเป็นอย่างไรบ้าง เป็นต้น

Big Data

Big Data คือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการรวบรวม Insight ของผู้บริโภคเอาไว้อย่างละเอียด อาทิ ข้อมูลส่วนตัว, ข้อมูลการเงิน, ข้อมูลการตลาด, ข้อมูลพฤติกรรม, ข้อมูลทางการแพทย์ และข้อมูลด้านอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้คุณได้รู้ข้อมูลในเชิงลึก เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำ Content Marketing และการทำการตลาดออนไลน์ได้ แต่ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มาจากแหล่งฟรี คุณจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้แก่บริษัทขายข้อมูล (Data Agency)

บทสรุป

และทั้งหมดนี้ก็คือการสร้างคอนเทนต์ให้แตกต่างจากคนอื่น หรือ Craft Content Marketing นั่นเอง โดยคุณไกด์ก็ได้มีคำแนะนำสำหรับคนที่อยากทำคอนเทนต์ให้เก่งเพิ่มเติมว่าคุณต้องทำตัวเป็นแก้วที่รั่ว พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง

สุดท้ายนี้ ถ้าคุณอยากให้ลูกค้าอยู่กับคุณไปนาน ๆ คือให้คุณ Craft คอนเทนต์ Craft เนื้องาน ไปพร้อม ๆ กับ Craft ความรู้สึกของลูกค้าไปด้วย โดยการนำ “ศาสตร์ของการทำเกิน” หรือ “Above & Beyond” มาปรับใช้ ยิ่งให้ลูกค้ามากเท่าไหร่ คุณยิ่งได้มากเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทำเยอะเกินไป จาก 100% อาจจะทำเพิ่มเป็น 150% ก็เพียงพอแล้ว เพราะสิ่งนี้จะทำลูกค้าเกิดความประทับใจและยินดีร่วมงานกับคุณต่อไปนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

HubSpot คืออะไร? ช่วยดูแลธุรกิจ ครบจบในตัวเดียวจริงไหม?

สำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้ ทีมที่องค์กรขาดไปไม่ได้เลยคือทีมการตลาดและทีมขาย ทั้งสองทีมนี้ต้องทำงานร่วมกัน ในการดึงลูกค้าเข้ามาและปิดการขาย แต่ด้วยความที่ต่างทีมต่างมีลำดับขั้นตอนและรายละเอียดของเนื้องา
43

Google Analytics 4 คืออะไร ต่างจากเวอร์ชันเก่าอย่างไร

Google Analytics (GA) เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมาก สำหรับนักการตลาดและแบรนด์ที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพราะ GA จะช่วยให้คุณรู้จักกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้งานบนเว็บไซต์มากขึ้น และทำให้คุณได้ข้อมูล
30

Technical SEO คืออะไร? กับ 8 เทคนิคการปรับปรุงฉบับพื้นฐาน

Search Engine Optimization (SEO) เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้อย่างยั่งยืนและนำมาซึ่งผลลัพธ์ด้านการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งการทำ SEO จะประกอบไปด้วยฝั่งของ On-Page S
34
th