1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. วิธีค้นหา Micro Influencer ที่ใช่สำหรับแบรนด์
เผยแพร่เมื่อ: มีนาคม 20, 2024 | แก้ไขเมื่อ: สิงหาคม 13, 2024

วิธีค้นหา Micro Influencer ที่ใช่สำหรับแบรนด์

Table Of Contents

การสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของแบรนด์ ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร เพราะทุกวันนี้แบรนด์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดมาก จากเดิมที่เน้นการสร้างคอนเทนต์บนช่องทางของแบรนด์และการยิงโฆษณาออนไลน์เป็นหลัก ตอนนี้ได้มีการดึงเอาเหล่า Micro Influencer เข้ามาช่วยปั้นแบรนด์แล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของการทำ Influencer Marketing นั่นเอง

Micro Influencer เป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่อยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้รับความนิยม และมีความสำคัญกับการทำธุรกิจในยุคนี้เป็นอย่างมาก จนเรียกได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการนำมาซึ่งยอดขายเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีการขายสินค้าบนโลกออนไลน์

หากคุณกำลังสงสัยว่า Micro Influencer คือใคร, Micro Influencer ยอดฟอลเท่าไหร่, Micro Influencer ต่างกับ Influencer อย่างไร และหา Micro Influencer อย่างไรให้เจอคนที่ใช่สำหรับแบรนด์ ต้องมาติดตามอ่านและหาคำตอบกันในบทความนี้เลย

Micro Influencer คือใคร

Micro Influencer คือคนที่มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ในด้านต่าง ๆ เช่น แฟชั่น, สกินแคร์, เครื่องสำอาง, อาหาร, ศัลยกรรม, รถยนต์, สุขภาพ, ออกกำลังกาย, บ้าน, เกม, กาแฟ, ไลฟ์สไตล์ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยส่วนใหญ่ Micro Influencer 1 คน จะผลิตคอนเทนต์และมีความถนัดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับเชี่ยวชาญ และอาจจะสนใจในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยได้ เช่น Micro Influencer “A” ที่เน้นสายแฟชั่นเป็นหลัก แต่ก็มีความสนใจและทำคอนเทนต์เกี่ยวกับการแต่งหน้าออกมาด้วยเช่นกัน เป็นต้น

Micro Influencer มียอดฟอลเท่าไหร่?

Micro Influencer จะมียอดผู้ติดตาม (Followers) บัญชี Social Media ตั้งแต่ 10,000 – 100,000 คน หากยอดฟอลต่ำกว่า 10,000 คนจะจัดเป็น Nano Influencer และถ้ายอดฟอลมากกว่า 100,000 คน จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของ Macro Influencer แทน ซึ่งยอดฟอลเหล่านี้มีผลต่อรายรับที่อินฟลูเอนเซอร์ได้ และปริมาณการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ด้วย

Micro Influencer ต่างกับ Influencer อย่างไร 

Influencer (อินฟลูเอนเซอร์) คือผู้มีอิทธิพลต่อความคิดและมีความสามารถในการชักจูงผู้ติดตามให้คล้อยตาม จนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการตามคำแนะนำได้ ซึ่ง Influencer สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามยอดผู้ติดตาม โดย Micro Influencer เป็นหนึ่งในประเภทของ Influencer นั่นเอง และนี่คือ Influencer ทั้ง 4 ประเภท

  • Nano Influencer มีผู้ติดตาม 1,000 – 10,000 คน
  • Micro Influencer มีผู้ติดตาม 10,000 – 100,000 คน
  • Macro Influencer มีผู้ติดตาม 100,000 – 1,000,000 คน
  • Mega Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่ 1,000,000 คนขึ้นไป

ข้อดีของการใช้ Micro Influencer ในธุรกิจ

  • ช่วยโน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี เพราะ Micro Influencer เป็นกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายอย่างมาก
  • อัตราการมีส่วนร่วม (Engagement) สูงกว่าโพสต์ที่แบรนด์ลงเอง
  • เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าได้อย่างเฉพาะเจาะจง
  • กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ติดตามรู้สึกเชื่อใจ Micro Influencer มากกว่าแบรนด์ จึงช่วยกระตุ้นยอดขายได้
  • ช่วยทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก (Brand Awareness) และช่วยให้เกิดการจดจำแบรนด์ได้ดี
  • ทำให้แบรนด์ถูกเอ่ยถึงบนโลกออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและส่งผลต่อ SEO ด้วย
  • แบรนด์สามารถควบคุม Micro Influencer ได้ง่าย ทั้งในแง่ของงบประมาณและลักษณะของคอนเทนต์
  • สามารถวัดผลได้จากการดูข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโพสต์นั้น ๆ ในหลังบ้านบัญชีของ Micro Influencer
  • ค่าใช้จ่ายในการจ้างงาน Micro Influencer ให้ผลิตคอนเทนต์บอกต่อรีวิวสินค้าไม่สูงนัก

Micro Influencer แบบไหนที่ใช่สำหรับแบรนด์

Micro Influencer ที่ใช่และตอบโจทย์กับแบรนด์ จะช่วยผลักดันยอดขายและทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในงบประมาณที่คุ้มค่าที่สุด ตัวอย่างเช่น 

  • Pimwa (Instagram Micro Influencer ผู้ติดตาม 88.9K) สายสุขภาพ แฟชั่น และไลฟ์สไตล์
  • ดมข้าว (TikTok Micro Influencer ผู้ติดตาม 95.1K) สายอาหาร โชว์กินอาหาร
  • PIMMOOK TheBeautyCitizen (YouTube Micro Influencer ผู้ติดตาม 56K) สายความงาม
  • Pure Swan (YouTube Micro Influencer ผู้ติดตาม 90.5K) สายไลฟ์สไตล์
  • เที่ยวสุดตัว  (YouTube Micro Influencer ผู้ติดตาม 87.7K) สายท่องเที่ยว

ซึ่งคุณสมบัติของ Micro Influencer ที่ใช่สำหรับแบรนด์ที่คุณต้องตามหาให้เจอคือ ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย, มียอด Engagement สูง, มีความน่าเชื่อถือ, สามารถสร้าง Content ที่น่าสนใจออกมาได้ และต้องเข้าใจในสินค้าหรือบริการเป็นอย่างดี

ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อคุณกำหนดเป้าหมายของแคมเปญนี้ได้แล้ว คุณจะต้องเลือก Micro Influencer ที่สามารถสร้างคอนเทนต์อันตอบโจทย์กับเป้าหมายของคุณได้ด้วย หากคอนเทนต์ไม่มีคุณภาพ รีวิวสินค้าแบบไม่จริงใจ หรือมีเนื้อหาที่ไม่ตรงกับที่แบรนด์แจ้งไป Micro Influencer คนนั้นอาจจะไม่สามารถโน้มน้าวใจผู้ติดตามให้มาซื้อสินค้าของแบรนด์ได้ นอกจากนี้ กลุ่มเป้าหมายของ Micro Influencer จะต้องเป็นกลุ่มคนที่มีความคล้ายคลึงกันกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ด้วย จึงจะทำให้แคมเปญนี้ประสบผลสำเร็จและสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้แก่แบรนด์ได้

มี Engagement สูง

Engagement หมายถึงการมีส่วนร่วมกับโพสต์ เช่น การกดถูกใจ การคอมเมนต์ การแชร์ การคลิก และการรับชม หากช่องของ Micro Influencer คนไหนมียอด Engagement สูง ๆ แปลว่าอินฟลูเอนเซอร์คนนี้ทำคอนเทนต์ออกมาโดนใจผู้ติดตามและมีคุณภาพ จนระบบของแพลตฟอร์มนั้น ๆ นำส่งคอนเทนต์ออกไปให้คนมองเห็นจำนวนมาก รวมทั้งยังแสดงถึงความสำเร็จในการโน้มน้าวใจผู้ติดตามให้โต้ตอบและสั่งซื้อสินค้าตามอีกด้วย

มีความน่าเชื่อถือ

การเลือก Micro Influencer ที่มีความน่าเชื่อถือจะส่งผลทำให้ตัวสินค้าที่อินฟลูเอนเซอร์รีวิวมีความน่าเชื่อถือตามไปด้วย ซึ่งลักษณะของอินฟลูเอนเซอร์ที่มีความน่าเชื่อถือมีดังนี้

  • เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ มากกว่าคนปกติทั่วไป
  • มีประสบการณ์ในการใช้งานสินค้าจริงและนำมาบอกต่อได้อย่างลื่นไหล
  • รีวิวอย่างตรงไปตรงมา ไม่อวยสินค้าจนเกินไป บอกครบทั้งจุดเด่นจุดด้อยของสินค้า
  • เผยแพร่เนื้อหาในเรื่องที่ตัวอย่างถนัดอย่างสม่ำเสมอ
  • มีไลฟ์สไตล์ที่สอดคล้องกับคอนเทนต์ที่นำเสนอหรือสินค้าที่นำมารีวิว

สร้าง Content ที่น่าสนใจ

คอนเทนต์ (Content) คือหัวใจหลักของการทำการตลาดในปัจจุบัน หากอินฟลูเอนเซอร์สามารถทำคอนเทนต์ออกมาได้น่าสนใจ ดูสดใหม่ และดูทันสมัยตามทันเทรนด์ จะทำให้ระบบนำส่งคอนเทนต์ไปยังหน้า Feed ได้ดีกว่าคอนเทนต์ที่ทำออกมาในรูปแบบเดิม ๆ และล้าสมัย ส่งผลให้ คอนเทนต์ได้รับความสนใจและมี Engagement มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ คุณจึงควรเลือก Micro Influencer ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตคอนเทนต์

เข้าใจสินค้าหรือบริการ

สิ่งที่ทำให้เหล่าอินฟลูเอเซอร์สามารถสร้างคอนเทนต์รีวิวออกมาได้ดีและมีประสิทธิภาพในการโน้มน้าวใจผู้ติดตามมากที่สุด มาจากการที่อินฟลูเอนเซอร์มีประสบการณ์ใช้งานสินค้าหรือบริการนั้นจริง ๆ เข้าใจในตัวสินค้าอย่างถ่องแท้ จนสามารถบอกต่อได้อย่างคล่องแคล่วและดูน่าเชื่อถือ เพราะผู้บริโภคในยุคนี้สามารถแยกออกว่ารีวิวไหนจริง รีวิวไหนปลอม ขอแค่อินฟลูเอนเซอร์จริงใจ บอกความจริงอย่างตรงไปตรงมา ก็พร้อมที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้ามาใช้ตามแล้ว

วิธีค้นหา Micro Influencer

วิธีการค้นหา Micro Influencer ที่ใช่สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

ค้นหาผ่าน Social Media Platform

อยากทำการตลาดบนแพลตฟอร์มไหน ก็เข้าไปตามหา Micro Influencer ในแพลตฟอร์มนั้นเลย เช่น ค้นหาจากแฮชแท็ก และค้นหาในกลุ่ม Facebook โดยแจ้งรายละเอียดและเงื่อนไขของอินฟลูเอนเซอร์ที่ต้องการ เป็นต้น

ใช้เครื่องมือค้นหา Micro Influencer

คุณสามารถใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยค้นหา Micro Influencer ที่เหมาะสมกับสินค้าและแบรนด์ของคุณได้ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวก็จะมีอยู่หลายแบบ สามารถคัดกรองข้อมูลตามความต้องการของคุณได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ จำนวนผู้ติดตาม ช่องทางในการโปรโมต รูปแบบของเนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย และรวมถึงสถานที่ด้วยเช่นกัน

ติดต่อ Influencer Agency

Influencer Agency คือเอเจนซี่ที่เชี่ยวชาญและให้บริการด้านการทำ Influencer Marketing โดยตรง ซึ่งหน้าที่ของพวกเขาคือรับโจทย์และความต้องการของแบรนด์ จากนั้นก็นำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อเฟ้นหาอินฟลูเอนเซอร์ที่ใช่ รวมถึงติดต่อประสานงานเรื่องการผลิตและโพสต์คอนเทนต์ด้วย วิธีนี้จะช่วยลดขั้นตอนการทำงานของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

เข้าร่วมงานอีเวนต์ Influencer

เข้าร่วมงานอีเวนต์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเจออินฟลูเอนเซอร์ใหม่ ๆ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์กับอินฟลูเอนเซอร์

เครื่องมือค้นหา Micro Influencer ยอดนิยม

เครื่องมือค้นหา Micro Influencer นับว่าเป็น MarTech รูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายร้อยตัว ช่วยให้คุณค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ได้ทุกประเทศในโลก อาทิ Socialbakers, Influencer Marketing Hub, heepsy ฯลฯ แต่ในบทความนี้เราจะมาแนะนำเครื่องมือที่ใช้เจาะหา Micro Influencer ในประเทศไทยโดยเฉพาะ! จะมีเครื่องมือไหนกันบ้าง ไปดูกันเลย

1. Zocial Eye

Zocial Eye ของ Wisesight เป็นเครื่องมือค้นหา Micro Influencer ที่มีประสิทธิภาพสูง ครอบคลุมโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์ม มีฟังก์ชั่น Influencer Directory สำหรับค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ที่ใช่โดยเฉพาะ อัปเดตใหม่อยู่เสมอ พร้อมกับแสดงข้อมูลเชิงลึกของอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคนว่าตรงกับที่แบรนด์ต้องการหรือไม่ 

2. Tellscore

Tellscore เป็นแพลตฟอร์มค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ที่เน้น Micro Influencer และ Nano Influencer หลัก รวบรวมเหล่าอินฟลูเอนเซอร์จากทั่วประเทศไว้ได้กว่า 80,000 คน มีครบทุกสาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี สุขภาพ ท่องเที่ยว ความงาม ฯลฯ และสามารถวัดผลได้ว่าอินฟลูเอนเซอร์ที่ว่าจ้างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหนหลังจากจบแคมเปญ

3. Pickle

Pickle เป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ทั้งแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์ แบรนด์สามารถเข้าไปค้นหา Micro Influencer ที่ตรงกับความต้องการได้เลย นอกจากนี้ ยังสามารถพูดคุยติดต่องานกันผ่านแพลตฟอร์มได้เลย และทางแพลตฟอร์มยังซัพพอร์ตแบรนด์และช่วยแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างดี เช่น ปัญหาเรื่องอินฟลูเอนเซอร์ไม่ส่งงานตามกำหนด, อินฟลูเอนเซอร์โพสต์งานแล้วลบ เป็นต้น

สรุปบทความเกี่ยวกับวิธีค้นหา Micro Influencer 

การใช้ Micro Influencer มาช่วยในการโปรโมตสินค้าและทำการตลาดบนโลกออนไลน์ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมาก ซึ่งวิธีการค้นหา Micro Influencer ก็สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการหาผ่าน Social Media, การติดต่อ Influencer Agency, การพบปะพูดคุยกับอินฟลูเอนเซอร์โดยตรง และการใช้เครื่องมือช่วยค้นหา Micro Influencer อย่าง Zocial Eye, Tellscore หรือ Pickle นั่นเองหวังว่าบทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ Micro Influencer และวิธีค้นหา Micro Influencer ที่ใช่สำหรับแบรนด์ของคุณได้เป็นอย่างดี สุดท้ายนี้หากคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Influencer Marketing, Content Marketing, ทำ SEO หรือยิงโฆษณาก็ตาม สามารถรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของ ANGA ที่ LINE @ANGA ได้เลย!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Organic Traffic คืออะไร พร้อมวิธีเพิ่ม Traffic บนเว็บไซต์

Web Traffic คือผู้เข้าชมเว็บไซต์ ที่มีความสำคัญมาในการทำให้เว็บไซต์เติบโตและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง Traffic มาได้จากหลายช่องทาง อาทิ Paid, Direct, Social Media, Referral และ Organic Traffic แต่ Traf
51

Breadcrumb Navigation ป้ายนำทางบนเว็บไซต์ ที่ส่งผลดีต่อ SEO

เว็บไซต์ส่วนใหญ่มีหน้าเว็บและข้อมูลเยอะมาก อาจทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกสับสนและหลงทางได้ การมีตัวช่วยนำทางบนเว็บไซต์หรือ Breadcrumb Navigation ติดตั้งไว้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับ
47

รู้จัก DeepSeek AI เอไอสัญชาติจีนที่กำลังมาแรงในตอนนี้

ต้องบอกว่าในปี 2025 นี้ แพลตฟอร์ม AI เติบโตอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งยังตอบโจทย์การทำงานที่หลากหลายด้านได้อีกด้วย คุณสามารถใช้ AI ในการทำงานแทน อย่างเขียนบทความ สรุปข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ค้นหาข้อมูล เขี
51
th