STP Marketing คือกลยุทธ์การตลาดสุดคุ้มค่า
ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ การเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งเป็นสิ่งสำคัญ ANGA เชื่อว่า STP Marketing คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด โดย STP คือกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูง นอกจากจะทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายได้แล้ว ยังมัดใจลูกค้าเก่าได้อย่างเหนียวแน่น และช่วยลดทรัพยากรในการทำการตลาดได้อีกด้วย เรียกได้ว่ามีแต่คุ้มกับคุ้ม! มาทำความเข้าใจเรื่อง STP Marketing ไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้ได้เลย
STP Marketing คืออะไร
STP Marketing คือกลยุทธ์การตลาดที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแม่นยำ พร้อมทั้งนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด จากการเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่างถ่องแท้ โดย STP ย่อมาจาก Segmentation, Targeting และ Positioning ซึ่งเป็นสามขั้นตอนสำคัญที่เราใช้ในการวางแผนการตลาด ส่งผลให้นักการตลาดสามารถวิเคราะห์ตลาดได้อย่างเป็นระบบ และช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ทรัพยากรทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
การนำ STP Marketing มาเป็นส่วนหนึ่งในการทำการตลาด จะช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนากลยุทธ์ที่มีความเฉพาะจงเจาะกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นได้ ซึ่งแน่นอนว่าประสิทธิภาพและผลลัพธ์ก็ดีดีขึ้นด้วยเช่นกัน แทนที่เราจะทำการตลาดแบบกว้าง ๆ ที่อาจจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงครึ่งหนึ่งและไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง อันเป็นเหตุให้เปลืองทรัพยากรทางการตลาดโดยเสียเปล่า เราสามารถบอกได้ว่า STP คือตัวช่วยที่ดีในการทำให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงการสื่อสาร ปรับแต่งข้อเสนอ และช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มได้อย่างเต็มปาก
องค์ประกอบของ STP Marketing มีอะไรบ้าง
การวางแผนด้านการตลาด STP ประกอบด้วยขั้นตอนใดบ้าง? STP Marketing ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ Segmentation, Targeting และ Positioning ซึ่งแต่ละส่วนล้วนมีความสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดให้มีประสิทธิภาพ หากขาดส่วนใดไปก็อาจทำให้ผลลัพธ์ออกมาไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็นได้ ซึ่งรวมไปถึงการล้มเหลวด้วย โดย STP จะเริ่มจากการแบ่งกลุ่มลูกค้า เลือกกลุ่มเป้าหมาย และวางตำแหน่งสินค้าหรือบริการให้โดดเด่นในตลาด ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. Segmentation
ขั้นตอนแรกของการทำ STP Marketing คือ Segmentation คือการแบ่งตลาดออกเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะที่คล้ายคลึงกันของผู้บริโภค โดยอาจใช้เกณฑ์ต่าง ๆ มาเป็นตัวแบ่ง อาทิ ประชากรศาสตร์ พฤติกรรม ภูมิศาสตร์ หรือจิตวิทยา การแบ่งส่วนตลาดนี้ จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่าง STP – Segmentation ร้านอาหาร
ร้านอาหารแห่งหนึ่งอาจแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มครอบครัว กลุ่มคนทำงาน และกลุ่มนักท่องเที่ยว เนื่องจากแต่ละกลุ่มมีความต้องการและพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่แตกต่างกัน
2. Targeting
Targeting เป็นขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงสุด โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ขนาดของตลาด แนวโน้มในการทำกำไร และโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เราสามารถสร้างกลยุทธ์การตลาดที่ตอบสนองคนกลุ่มดังกล่าวจนเกิดเป็น Conversionได้
ตัวอย่าง STP – Targeting แบรนด์สกินแคร์
แบรนด์สกินแคร์ชื่อดัง เลือกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิงวัยทำงาน ที่มีอายุ 25-45 ปี มาทำ STP Marketing เพราะคนที่อยู่ในกลุ่มนี้เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับผิวพรรณและมีกำลังซื้อสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ
3. Positioning
Positioning คือการสร้างภาพลักษณ์และวางตำแหน่งของสินค้าหรือบริการให้ชัดเจน เพื่อให้เข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย โดย STP ในขั้นตอนนี้จะมุ่งเน้นหาจุดเด่นที่เหนือกว่าคู่แข่ง เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของเรา
ตัวอย่าง STP – Positioning บริษัทรับทำ SEO
บริษัทรับทำ SEO แห่งหนึ่ง วางตำแหน่งว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ SEO ผลักดันเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรกบน Google Search โดยเน้นผลลัพธ์ของการทำงานจริงมานำเสนอ เช่น การเลือกใช้คีย์เวิร์ด “บริษัทรับทำ SEO” มาทำ SEO ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คืออยู่ในอันดับ 1 จริง ๆ และนำผลลัพธ์นี้ไปเสนอต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พร้อมกับนำเสนอจุดแข็งด้านการบริการที่เป็นเลิศและความทันสมัยของเครื่องมือทำ SEO ที่เลือกใช้งานไปด้วย
ข้อดีของการทำ STP Marketing คืออะไร
การทำ STP Marketing มีประโยชน์กับธุรกิจหลายด้าน ทั้งในด้านการพัฒนากลยุทธ์การตลาด การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และอื่น ๆ ที่จะนำไปสู่การสื่อสารที่ตรงจุดมากที่สุด ทั้งหมดนี้จะทำให้แคมเปญของคุณมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจ
แคมเปญการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การทำ STP Marketing ช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดเป้าหมายได้แม่นยำขึ้น และทำการตลาดโดยมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายหลักเป้าหมายเดียว ทำให้การออกแบบแคมเปญตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าเดิม ส่งผลให้ Conversion Rate สูงขึ้น และลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในทำการตลาดที่ไม่ตรงกลุ่มได้มาก
สร้างโอกาสในการขยับขยายธุรกิจ
การวิเคราะห์ตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างละเอียดในการทำ STP Marketing อาจนำไปสู่การค้นพบโอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ และโอกาสในการขยับขยายธุรกิจ เช่น การค้นพบกลุ่มลูกค้าใหม่หรือความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ
เพิ่มคุณภาพสินค้าและบริการ สร้าง Customer Loyalty
ข้อมูลที่ได้จากการทำ STP Marketing คือข้อมูลที่เราสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นได้ เพราะการเข้าใจลักษณะเฉพาะและความต้องการของแต่ละกลุ่มช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างแท้จริง ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจและทำให้ลูกค้ามีความภักดีต่อแบรนด์มากขึ้น
สื่อตรงจุด สารตรงใจ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
STP Marketing คือกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถออกแบบเนื้อหา และเลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้า ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างประสบการณ์ที่ดีและความพึงพอใจของลูกค้าในระยะยาว
เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)
ROI หรือ Return on investment คือผลตอบแทนจากการลงทุน ที่ใช้วัดว่าการลงทุนในครั้งนี้คุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งการทำ STP Marketing ช่วยเพิ่ม ROI ได้ จากการจัดสรรงบประมาณทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ทำการตลาดส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงสุด จึงส่งผลให้ธุรกิจสามารถเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนทางการตลาดได้อย่างมีนัยสำคัญ
บทสรุป
STP Marketing คือกลยุทธ์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ทรัพยากรทางการตลาดได้อย่างคุ้มค่าและบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยผ่านกระบวนการ Segmentation (การแบ่งส่วนตลาด), Targeting (การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย) และ Positioning (การวางตำแหน่ง) ผลลัพธ์ที่ได้คือธุรกิจมีความโดดเด่นกว่าคู่แข่ง สินค้าและบริการตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น และสามารถสร้างยอดขายได้มากขึ้น ในขณะที่ลงทุนน้อยนั่นเอง