ครีเอเตอร์คืออะไร นี่แหละโอกาสทองในยุคคอนเทนต์
การเติบโตของแพลตฟอร์มออนไลน์และการเข้าถึงผู้คนจำนวนมากของโลกอินเทอร์เน็ต ทำให้มีอาชีพใหม่เกิดขึ้นมา ซึ่งอาชีพดังกล่าวก็เติบโตและมีจำนวนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยอาชีพที่ว่านี้คือ “ครีเอเตอร์” นั่นเอง ทุกบทความที่คุณอ่าน ทุกคลิปที่คุณดู ทุกรูปภาพที่คุณมองเห็น หรือคอนเทนต์ไหน ๆ ก็ตามที่คุณเสพ ล้วนเป็นฝีมือของครีเอเตอร์ (Creator) ทั้งสิ้น ถ้าเราจะบอกว่าครีเอเตอร์คือเบื้องหลังของความบันเทิงต่าง ๆ บนโลกใบนี้ก็ไม่ผิดแต่อย่างใด และในวันนี้ ANGA จะพาคุณไปเจาะลึกว่าอาชีพครีเอเตอร์คืออะไร, ครีเอเตอร์ดิจิทัล หมายถึงอะไร ใครที่กำลังสนใจอาชีพนี้อยู่หรืออยากจะเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ล่ะก็ ลองมาทำความใจอาชีพนี้ให้มากขึ้นผ่านบทความนี้ได้เลย
ครีเอเตอร์คืออะไร
ครีเอเตอร์คือผู้สร้างสรรค์เนื้อหา โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีชื่อเสียงโด่งดัง มีผู้ติดตามเยอะ ๆ หรือเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ซึ่งครีเอเตอร์สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความถนัดของครีเอเตอร์แต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นดนตรี, งานศิลปะ, งานเขียน, วิดีโอ, ภาพภ่าย, กราฟิก, พอดแคสต์ หรืออื่น ๆ ก็ตาม แล้วครีเอเตอร์ดิจิทัลคืออะไรล่ะ? เหมือนหรือต่างกับครีเอเตอร์ทั่วไปไหม?
ครีเอเตอร์ดิจิทัลหมายถึงผู้สร้างสรรค์เนื้อหา ที่ใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นเครื่องมือหลักในการเผยแพร่ผลงาน อาทิ YouTube, TikTok, Facebook, Instagram, X (Twitter), Web Blog หรือ Website เป็นต้น นั่นหมายความว่าครีเอเตอร์ดิจิทัลจะรู้ทันเทรนด์ ข่าวสาร และการอัปเดตใหม่ ๆ อยู่เสมอ จากนั้นก็ผลิตคอนเทนต์ที่เป็นประเด็นฮอตฮิตหรือสิ่งที่ผู้คนกำลังสนใจออกมา เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ที่มีอยู่จำนวนมหาศาล
ประเภทของครีเอเตอร์
ครีเอเตอร์คือผู้ที่ทำงานในสายการผลิต ซึ่งคอนเทนต์ที่ผลิตออกมาก็มีอยู่หลากหลายมาก สังเกตได้จากคอนเทนต์ที่เราเห็นบน Social Media ในชีวิตประจำวัน โดยประเภทของครีเอเตอร์จะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ตามประเภทของผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมา ได้แก่ Text Based, Image Based และ Video Based แต่อย่างไรก็ตามคอนเทนต์ครีเอเตอร์หนึ่งคน อาจจะสร้างสรรค์ผลงานได้มากกว่าหนึ่งประเภทก็ได้
1. Text Based
ครีเอเตอร์ประเภท Text Based จะเน้นการสร้างสรรค์เนื้อหาที่อาศัยตัวอักษรเป็นหลักในการสื่อสาร พวกเขาใช้ทักษะการเขียนเพื่อถ่ายทอดความคิด ข้อมูล และเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านรูปแบบการเขียนที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน
- การเขียนบทความให้ความรู้ต่าง ๆ บนเว็บไซต์
- การเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัย
- การเขียนเนื้อหาสำหรับโฆษณาหรือแคมเปญการตลาด
- การเขียนอีเมลทางการตลาด (Email Marketing)
- การเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัย
- การเขียนบทความวิจารณ์รีวิวภาพยนตร์หรือหนังสือ
- การเขียนสคริปต์สำหรับพอดแคสต์หรืองานวิดีโอ
2. Image Based
ครีเอเตอร์ประเภท Image Based จะถ่ายทอดเรื่องราว ความคิด หรือสารที่ต้องการสื่อออกมาเป็นรูปภาพ โดยอาจจะเป็นเทคนิคการถ่ายภาพ ฝีมือในการวาดภาพ และความสามารถในการออกแบบภาพกราฟิกด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
- การถ่ายภาพสินค้า ภาพบุคคล หรือสิ่งของ
- การออกแบบโปสเตอร์หรือแบนเนอร์โฆษณา
- การสร้างภาพประกอบสำหรับหนังสือหรือนิตยสาร
- การวาดภาพประกอบหนังสือ หรือวาดลงบนสิ่งต่าง ๆ
- การทำ Animation 2D หรือ Motion Graphics
- การสร้างภาพ NFT (Non-Fungible Token) สำหรับตลาดคริปโต
3. Video Based
ครีเอเตอร์ประเภท Video Based จะใช้วิดีโอเป็นเครื่องมือหลักในการนำเสนอเนื้อหา โดยพวกเขานำภาพเคลื่อนไหว เสียง และเทคนิคพิเศษต่าง ๆ มาใช้ในวิดีโอ เพื่อทำให้วิดีโอน่าสนใจและถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ชม ซึ่งการทำงานประเภทนี้มักต้องอาศัยทักษะที่หลากหลาย ตั้งแต่ทักษะในการถ่ายทำไปจนถึงทักษะในการตัดต่อ
- การทำวิดีโอสั้นลง TikTok, Reels หรือ YouTube Shorts
- การทำวิดีโอสอนทักษะหรือให้ความรู้ (Tutorial)
- การผลิตรายการทอล์คโชว์หรือพอดแคสต์แบบวิดีโอ
- การถ่ายทอดสอด (Live Stream) บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ
- การถ่ายทำ Vlog ต่าง ๆ อาทิ Vlog Week, Vlog ไปทำงาน ฯลฯ
- การสร้างวิดีโอ Animation หรือ Motion Graphics
- การทำวิดีโอรีวิวสินค้าหรือบริการ
- การสร้างภาพยนตร์ ซีรีส์ หรือมิวสิควิดีโอ
ถ้าอยากเป็นครีเอเตอร์ ควรมีทักษะอะไรบ้าง
การเป็นครีเอเตอร์ในยุคดิจิทัลนั้นต้องอาศัยทักษะที่หลากหลาย ทั้ง Hard Skills และ Soft Skills เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีคุณภาพและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะที่ครีเอเตอร์ดิจิทัลควรมี มีดังนี้
- ทักษะการสร้างเนื้อหา (Content Creation Skills) ในสายใดสายหนึ่งที่ตัวเองถนัด
- ทักษะในการใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ (Social Media Skills)
- ทักษะการใช้เครื่องมือและโปรแกรม สำหรับสร้างคอนเทนต์ (Technical Skills)
- ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) เพราะทักษะนี้จะทำให้สารของคุณส่งไปยังเป้าหมายอย่างตรงจุดและแม่นยำ
- ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ยิ่งมีทักษะนี้มากแค่ไหน ยิ่งทำให้คอนเทนต์ของคุณโดดเด่นมากเท่านั้น
- ทักษะการจัดการเวลา (Time Management) เพราะครีเอเตอร์มักต้องทำงานพร้อมกันหลาย ๆ โปรเจกต์ และมีกำหนดการส่งงานที่ชัดเจน
- ทักษะในการปรับตัว (Adaptability) เพราะโลกดิจิทัลมีเทรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ทุกวัน รวมถึงแพลตฟอร์มและระบบต่าง ๆ ก็หมั่นอัปเดตเวอร์ชันกันอยู่บ่อย ๆ ถ้าคุณตามไม่ทันและปรับตัวให้เข้ากับการอัปเดตใหม่ ๆ ไม่ได้ คอนเทนต์ก็อาจจะดูล้าหลังและมีเอนเจเมนต์น้อยได้
บทสรุป
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าครีเอเตอร์คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการขับเคลื่อนวงการสื่อและการตลาดยุคใหม่ เพราะพวกเขาไม่ได้เป็นแค่ผู้ผลิตเนื้อหาออกมาให้เราเสพเท่านั้น ยังเป็นผู้นำเทรนด์และสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้อีกด้วย แน่นอนว่าครีเอเตอร์ก็คืออาชีพหนึ่ง มีการทำงานก็ต้องมีรายได้เข้ามา และรายได้จากการเป็นครีเอเตอร์ในบางครั้งก็มากกว่ารายได้ของมนุษย์เงินเดือนทั่ว ๆ ไป นี่จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำไมใคร ๆ ก็หันมาเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์กันอย่างถ้วนหน้า ก่อนจะจบบทความนี้ไป ขอฝากไว้สักเล็กน้อยสำหรับใครก็ตามที่อยากเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ เราแนะนำให้คุณทำคอนเทนต์ในเรื่องที่ตัวเองรักและถนัด แล้วคุณจะทำได้นาน มีความสุข และไม่ท้อถอยอย่างง่าย ๆ และเราก็ขออวยพรให้คุณประสบความสำเร็จในการเป็นครีเอเตอร์อย่างที่คุณต้องการ!