
How To ติดตั้ง Google Tag Manager ด้วยตัวเอง อัพเดต 2025
เคยสงสัยไหมว่าทำไมนักการตลาดถึงรู้ว่ามีคนเข้าใช้งานเว็บไซต์กี่คน, คนกดเข้าเว็บไซต์จากที่ไหน, Conversion ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์เป็นอย่างไร ฯลฯ คำตอบก็คือพวกเขาใช้เครื่องมือ Google Tag Manager (GTM) เข้ามาช่วยติดตามและวัดผลพฤติกรรมของผู้ใช้งานในเชิงลึกนั่นเอง
แต่ก่อนที่จะใช้งานได้ คุณก็ต้องมีการติดตั้ง Google Tag Manager บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของคุณเสียก่อน ซึ่งขั้นตอนนี้นี่เองที่ทำให้หลาย ๆ คนล้มเลิกความตั้งใจที่จะใช้งาน GTM ไป เพราะคิดว่าการติดตั้ง Google Tag Manager มีความซับซ้อน ดูเป็นเชิงเทคนิคมาก ๆ แต่จริง ๆ แล้ว Google Tag Manager ติดตั้งได้ไม่ยากอย่างที่คิดเลย ซึ่งคุณเองก็ทำได้! มาดูวิธีติดตั้ง Google Tag Manager ไปพร้อม ๆ กับแองก้ากันได้เลย
Google Tag Manager คืออะไร
Google Tag Manager คือเครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้งแท็ก (Tag) บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันมือถือ ซึ่งแท็กในที่นี้เปรียบเสมือนชิ้นส่วนของโค้ดที่ใช้สำหรับการติดตามและวัดผลพฤติกรรมของผู้ใช้งาน เพื่อให้นักการตลาดรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์และแอปฯ มีอะไรบ้าง มี Conversion เกิดขึ้นบ้างไหม หรือจะใช้ในการวัดประสิทธิภาพของแคมเปญก็ได้ โดย Google Tag Manager รองรับทั้งแท็กที่เป็นแพลตฟอร์มของ Google เอง, แท็กที่เป็น Social Media, แท็ก Third-Party และยังรวมไปถึง Custom Tag ด้วยเช่นกัน
ข้อดีของการติดตั้ง Google Tag Manager
- ช่วยลดขั้นตอนการทำงานและทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น เช่น คุณไม่ต้องนำโค้ดยาว ๆ ที่มีความซับซ้อนไปฝังไว้บนเว็บไซต์ ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าจะถูกตำแหน่งหรือเปล่า ถ้าฝังไว้ผิดที่ก็อาจมีปัญหาได้ พอคุณหันมาใช้ GTM ขั้นตอนการทำงานก็เหลือแค่การติดตั้ง Google Tag Manager และการนำแท็กต่าง ๆ ไปใส่ใน GTM แค่นั้นเอง
- ทำให้คุณจัดงานแท็กต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ โดยที่ไม่ต้องเขียนโค้ดเพิ่ม หรือพึ่งพา Web Developer กับ Programmer เหมือนการสร้างเว็บไซต์
- ลดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากการแก้ไขโค้ดด้วยตัวเองได้ และถ้าแท็กที่ติดไปมีปัญหาอะไร หรือแม้แต่การเลือก Trigger ผิด ก็สามารถกู้ประวัติกลับมาให้เป็นเหมือนเดิมได้เช่นกัน
- User Interface ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย ค้นหาเมนูต่าง ๆ สะดวก ไม่ซับซ้อน
วิธีติดตั้ง Google Tag Manager ด้วยตัวเองง่าย ๆ
การติดตั้ง Google Tag Manager ไม่ยากเลย คุณสามารถติดตั้ง GTM ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ใน 3 ขั้นตอน เพียงแค่อ่านและทำความเข้าใจวิธีติดตั้ง Google Tag Manager ให้ดี ค่อย ๆ ทำไปทีละขั้นตอน ใช้ระยะเวลาไม่นานก็เสร็จแล้ว หากพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยว่า Google Tag Manager ติดตั้งอย่างไร (ฉบับ WordPress)
1. ลงชื่อเข้าใจหรือสร้างบัญชีผู้ใช้งาน
- เข้าไปที่ https://tagmanager.google.com
- ลงชื่อเข้าใช้ (Sign in) ด้วย Gmail หรือกดสร้างบัญชีใหม่ (Create account)
- สามารถเข้าไปใช้งานได้ฟรี โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าบริการใด ๆ
2. สร้างบัญชีใน Google Tag Manager
หลังจากที่ลงชื่อเข้าใช้งานด้วยบัญชีของ Google เรียบร้อยแล้ว ระบบก็จะแสดงหน้า Home หรือ Dashboard ของ Google Tag Manager ขึ้นมา ให้คุณมองไปที่มุมขวาบนแล้วคลิกไปที่ “Create Account” เพื่อสร้างบัญชี Google Tag Manager ของเว็บไซต์ธุรกิจ สำหรับข้อมูลที่ต้องกรอกลงไป มีดังนี้
- Account Name : ชื่อโดเมนเว็บไซต์, ชื่อธุรกิจ
- Country : เลือกประเทศ
- Container name : URL เว็บไซต์ (ไม่ต้องใส่ https://)
- Target platform : ประเภทของ Container หรือแพลตฟอร์มที่คุณจะติดตั้ง Tag หรือ “Web”
- กด Create เพื่อสร้างบัญชี GTM
3. ติดตั้ง Google Tag Manager บนเว็บไซต์
- เข้าไปที่ Workspace บน Google Tag Manager
- คลิกไปที่ “More” และ เลือก “Install Google Tag Manager”
- คัดลอกโค้ด GTM ทั้ง <head> และ <body> เอาไว้
- เข้าไปที่ระบบหลังบ้านของเว็บไซต์ WordPress
- ติดตั้งปลั๊กอิน Google Tag Manager for WordPress และเปิดใช้งาน
- คัดลอก Google Tag Manager ID ไปใส่ไว้ในปลั๊กอิน Google Tag Manager for WordPress
- เข้าไปที่ “Setting” และคลิกที่ “Google Tag Manager”
- ฝังโค้ดชุดแรกไว้ที่ <head> และฝังโค้ดชุดที่สองไว้ที่ <body>
- ล้างแคชเว็บไซต์หลังติดตั้ง Google Tag Manager เสร็จ
บทสรุป
เห็นไหมว่าการติดตั้ง Google Tag Manager ไม่ได้ซับซ้อนขนาดนั้น หวังว่าคุณจะสามารถติดตั้ง Google Tag Manager ด้วยตัวเองได้หลังจากที่อ่านบทความนี้จบแล้ว ทั้งนี้ อย่าลืมตรวจสอบว่า Google Tag Manager ติดตั้งได้ถูกต้องไหม ปลั๊กอินเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือไม่ รวมถึงการทดสอบว่า Tag ทำงานได้อย่างถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาด
วิธีการตรวจสอบการทำงานของ GTM ทำได้โดยการเข้าไปที่ระบบหลังบ้าน WordPress และเลือก Google Tag Manager Preview เพราะถ้า Google Tag Manager มีการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้ข้อมูลของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ที่ได้มาไม่แม่นยำ ผลของการวิเคราะห์ก็ผิดเพี้ยน และยังส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ที่ผู้ใช้จะได้รับอีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง

Organic Traffic คืออะไร พร้อมวิธีเพิ่ม Traffic บนเว็บไซต์
