1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. Meta Description คืออะไร? และเขียนอย่างไรให้ง่ายต่อการติดอันดับ SEO
Meta Description คือ
เผยแพร่เมื่อ: มิถุนายน 17, 2021 | แก้ไขเมื่อ: กรกฎาคม 31, 2024

Meta Description คืออะไร? และเขียนอย่างไรให้ง่ายต่อการติดอันดับ SEO

Table Of Contents

Meta Description คืออะไร?

Meta Description คือ
Meta Description คืออะไร?

Meta Description คือ คำอธิบายเนื้อหาเว็บไซต์ คอยทำหน้าที่อธิบายภาพรวมของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งจะแสดงขึ้นเมื่อผู้ใช้งานค้นหาบน Search engines Meta Description จะปรากฏอยู่ในบรรทัดที่สองใต้ Headline และ URL เว็บไซต์ ในหน้า SERP (Search Engine Result Page)

แม้ว่า Meta Description จะมีผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ไม่มากนัก แต่ของมันต้องมี เพราะ Meta Description คือส่วนที่ใช้ในการอธิบายขยายความจาก Meta Title หรือ Headline เป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้ค้นหาเข้าใจถึงเนื้อหาภายในเว็บเพจและดึงดูดให้ตัดสินใจคลิกเข้าไปยังหน้าเว็บเพจของเรา วิธีเขียน Meta Description และ Meta Title ควรเขียนให้มี Keyword SEO และเนื้อหาที่สอดคล้องกัน เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสที่ผู้ค้นหาจะหาเว็บไซต์ของเราเจอ เพิ่มโอกาสในการติดอันดับ SEO ให้มากขึ้น

หลักการเขียน Meta Description

หลักการเขียน Meta Description
หลักการเขียน Metal Description คืออะไร

1. เลือกใช้ Keyword SEO แต่พอดี

อย่างที่เราทราบกันดีว่า Keyword SEO คือส่วนสำคัญที่ใช้ในการจัดอันดับ SEO ดังนั้น Keyword ที่เราเลือกนำมาใช้ควรเลือกคำที่มีจำนวนการค้นหาที่มากเพื่อให้การทำ SEO ของเราได้ผลดีที่สุด แต่ไม่ใช่ว่าจะใส่ทุก Keyword SEO ที่มีลงไปได้ เพราะการใส่ Keyword มากเกินไปจะทำให้เนื้อหาของ Meta Description ดูไม่เข้ากัน อ่านแล้วสับสน จับใจความลำบาก ดูไม่เป็นธรรมชาติ ทำให้ผู้ค้นหาไม่แน่ใจ กลายเป็นการหลีกเลี่ยงไม่กดคลิกเข้าไปดูเนื้อหาในหน้าเว็บเพจของเรา

“Meta Description SEO ที่ดี ควรมี Keyword SEO ไม่เกิน 2 คำ และควรสอดคล้องกับ Meta Title”

Meta Title คืออะไร

2. พยายามใส่ Keyword ไว้ต้นๆ

ในการเขียน Meta Description แนะนำให้พยายามใส่ Keyword SEO ไว้ช่วงต้นของข้อความ ส่วนหนึ่งเพราะ Google และพฤติกรรมของผู้ค้นหาส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับข้อความช่วงแรกมากที่สุด

“Meta Description ควรใส่ Keyword สำคัญไว้ที่ช่วงต้นหรือช่วงกลางข้อความ”

3. เขียนเฉพาะข้อมูลสำคัญ

แม้ว่า Meta Description จะเป็นส่วนคำอธิบายขยายความของ Meta Title แต่เนื้อหาที่ปรากฏในหน้า SERP ก็ยังมีพื้นที่จำกัดอยู่ ดังนั้นควรเขียนสรุปเฉพาะข้อมูลสำคัญที่กลุ่มเป้าหมายของเราต้องการค้นหา หากเราใส่ข้อความยาวจนเกินไป อาจถูกตัดคำออกไปบางส่วนกลายเป็น “ …” ทำให้เนื้อหาหรือ Keyword สำคัญที่อยู่ส่วนนั้นหายตามไปด้วย

“Meta Description ที่เหมาะสม ควรมีขนาด 120 – 160 ตัวอักษร”

4. ไม่จำเป็นต้องมีทุกหน้า แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ควรมี

อาจจะฟังดูย้อนแย้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว Meta Description ไม่จำเป็นจะต้องมีทุกหน้าก็ได้ หากเว็บไซต์ของเรา เป็น Blog หรือ มีการเพิ่มบทความจำนวนมากทุกวัน การใส่ Meta Description จะทำให้สิ้นเปลืองเวลาเกินไป และ Meta Description ก็ไม่ได้ส่งผลต่อการจัดอันดับ SEO มากนัก

แต่ถ้าเราไม่ได้มีบทความใหม่จำนวนมากในทุกวัน ก็ควรใส่ Meta Description เอาไว้ เพราะถ้าเราไม่ใส่ Meta Description ให้กับเว็บเพจ Google จะทำการดึงข้อมูลมาใส่ให้เอง ซึ่งเนื้อหาที่ถูกดึงมาอาจไม่ใช่ส่วนสำคัญ จนทำให้ผู้ค้นหาเข้าใจผิดว่าเว็บเพจของเราไม่ตรงกับความต้องการของตนเอง ทำให้เสียโอกาสที่จะเกิด Traffic ไปเปล่าๆ

Meta Description ไม่มีไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ควรมี

สรุป Meta Description คืออะไร?

Meta Description คือ คำอธิบายเว็บไซต์ที่ขยายความมาจาก Meta Title แม้จะไม่ได้มีผลต่อการจัดอันดับ SEO มากนัก แต่การเขียนสรุปและใส่ Keyword ให้ถูกหลักการเขียน Meta Description มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ค้นหาตัดสินใจกดคลิกเข้าเว็บไซต์ของเรามากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยในการทำ SEO

บทความที่เกี่ยวข้อง

จดโดเมน .co.th ทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง จดที่ไหนดี 2025

ปัจจุบันคนไทยหันมาค้นหาข้อมูลและช้อปปิ้งออนไลน์กันแทบทั้งหมดแล้ว การมีตัวตนบนโลกออนไลน์ผ่านเว็บไซต์จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะถ้าคุณมีโดเมน .co.th ที่นอกจากจะดูน่าเชื่อถือแล้ว
62

รวม 10 แอปแต่งรูปขายของ ใช้งานง่าย ดาวน์โหลดฟรี

สิ่งที่ดึงดูดความสนในของผู้บริโภคหรือลูกค้าได้มากที่สุด คงไม่พ้นรูปภาพที่คุณใช้ในการโปรโมตนำเสนอสินค้า ถึงแม้ว่าคุณจะเขียนข้อความนำเสนอโปรโมชันลดแรงแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีรูปภาพสวย ๆ ที่ดึงดูดสายตา ผู้บริโ
54

NPC คืออะไร NPC TikTok คืออะไร เทรนด์ไลฟ์สดที่กำลังมาแรง

ถ้าคุณเป็นคนที่ใช้งาน TikTok (ติ๊กต็อก) เป็นประจำ ไม่ว่าจะใช้ในการติดตามข่าวสาร เสพคอนเทนต์ หรือซื้อ-ขายสินค้าก็ตาม คุณคงจะเคยเห็นการไลฟ์สดหลาย ๆ รูปแบบ ทั้ง PK ใน TikTok ทั้งแสดงความสามารถพิเศษ และรว
42
th