1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. เร่งยอดขายให้ “พุ่ง” ด้วยกลยุทธ์ลับจากการทำ SEO
เร่งยอดขายให้พุ่งด้วย SEO
เผยแพร่เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2024

เร่งยอดขายให้ “พุ่ง” ด้วยกลยุทธ์ลับจากการทำ SEO

Table Of Contents

กว่าลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าในแต่ละครั้ง มักจะใช้ระยะเวลาการตัดสินใจนานนับเดือน หรือผ่านการค้นหาข้อมูลหลาย ๆ ครั้งก่อน โดยเฉพาะกับสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าสูง ซึ่งในบางครั้งลูกค้าอาจจะมีความสนใจในสินค้าประเภทเดียวกันกับธุรกิจของเราอยู่ แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันจำเป็นหรือควรค่าแก่การซื้อมาใช้งานมากนัก จึงปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป จนกว่าจะถึงจุดที่ลูกค้ามองว่าจำเป็นและถึงค่อยตัดสินใจซื้อ

แล้วเมื่อไหร่จะถึงเวลาที่ลูกค้าต้องการและตัดสินใจซื้อสินค้าจากเรา? เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามันจะนานกี่วัน กี่เดือน หรือกี่ปี เนื่องจากมันเป็นเรื่องของปัจจัยและความต้องการส่วนบุคคล ด้วยเหตุนี้ โอกาสที่จะเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย ให้มาเป็นลูกค้าของเราจริง ๆ จึงมีน้อยมาก แต่คุณรู้หรือไม่ว่า… คุณสามารถทำ SEO เพื่อเร่งให้พวกเขา “ตัดสินใจซื้อ” และกลายเป็นลูกค้าของคุณโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัวได้

ซึ่งคุณจะต้องทำ SEO ด้วยกลยุทธ์ใด และทำไม SEO ถึงช่วยเร่งความต้องการของพวกเขาได้? สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้เลย ANGA (แองก้า) รวบรวมข้อมูลและพร้อมพาคุณไปเจาะประเด็นสุดฮอตนี้แล้ว!

SEO

 “แบรนด์จะเติบโตได้อย่างไร” มาทำความเข้าใจก่อนลงมือทำ SEO

แบรนด์จะเติบโตได้จากการมีกลุ่มลูกค้าใหม่ (New Customer) และกลุ่มคนที่มีแนวโน้มในการซื้อสินค้า (Light Buyer) มากขึ้น โดยทั้ง 2 กลุ่มนี้จะตัดสินใจซื้อได้ก็ต่อเมื่อมีความพร้อมทางด้านจิตใจ (Mental Availability) และมีความสะดวกต่อการซื้อสินค้า (Physical Availability) แล้ว

เพราะเมื่อมีความพร้อมทางด้านจิตใจ (ใจพร้อมซื้อ ใจอยากได้ และมองว่าสิ่งนั้นจำเป็นกับตัวเอง) ก็พร้อมจ่ายเงินซื้อสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการด้วยเช่นกัน และยิ่งคุณวางขายสินค้าบนช่องทางที่มีขั้นตอนการสั่งซื้อที่ง่ายดายด้วยล่ะก็ โอกาสที่จะได้ยอดขายก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย และจะยิ่งพุ่งขึ้นไปอีกหากคุณทำ SEO ด้วยกลยุทธ์ “สร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง เพิ่มความต้องการ และกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ” ที่เราจะมาอธิบายกันไปในหัวข้อถัดไป

Online Shoping

การซื้อสินค้าออนไลน์เกิดขึ้นได้อย่างไร?

การซื้อสินค้าออนไลน์เกิดขึ้นจาก 4 ขั้นตอนนี้ คือ การกระตุ้น, การสำรวจ, การประเมิน และการตัดสินใจซื้อ ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับ Mental Availability และ Physical Availability ตามที่เราได้กล่าวไปในก่อนหน้านี้ โดยการจะทำให้ผู้ซื้อมีความพร้อมเหล่านี้ได้ เราก็ต้องทำพวกเขามองเห็นแบรนด์ของเราอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งการทำ SEO เป็นวิธีการที่ตอบโจทย์อย่างมาก เพราะสามารถเพิ่มความต้องการและช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อได้ และความเกี่ยวข้องระหว่างการทำ SEO กับขั้นตอนการซื้อสินค้าออนไลน์จะเป็นอย่างไร ตามไปดูกันต่อได้เลย

1. การกระตุ้น (Trigger)

พฤติกรรมการซื้อสินค้าจะเริ่มต้นจาก “ความต้องการ” ซึ่งความต้องการนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อถูกกระตุ้น จากปัจจัยภายใน (ความรู้สึก ความโหยหา ความต้องการ) และปัจจัยภายนอก (เห็นโฆษณา เห็นรีวิวสินค้า เห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต) จากนั้นคนเราก็จะเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าชิ้นนั้น อาจจะเป็นการค้นหาชื่อสินค้า, แบรนด์ หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของแบรนด์นั้นโดยตรงก็ได้เช่นกัน

ถูกกระตุ้น > เกิดความต้องการ > เริ่มค้นหา

สิ่งที่คุณควรทำมีดังนี้

  • สร้างเว็บไซต์ของแบรนด์เพื่อรองรับการค้นหาผ่าน Search Engine หรือ Google
  • ปรับปรุงเว็บไซต์ให้ SEO Friendly และทำบทความ SEO ในคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  • นำเสนอเนื้อหาที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อดึงดูดให้พวกเขามาเป็นลูกค้าของคุณ

จากนั้น เมื่อคอนเทนต์หรือเว็บไซต์ของคุณติดอันดับบนหน้าการค้นหา (SERP : Search Engine Results Page) ก็จะเกิดการเข้าถึงกลุ่มคนที่มีแนวโน้มในการซื้อสินค้า จึงเกิดเป็นการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) จุดนี้จึงทำให้ Mental Availability ถูกกระตุ้นให้มีความต้องการในตัวสินค้ามากขึ้นนั่นเอง

ติดอันดับ SEO > คนรู้จักแบรนด์ > สนใจและต้องการ

2. การสำรวจ (Exploration)

พอคนเราสนใจในเรื่องอะไรสักเรื่อง ก็จะมีความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งนั้นเพิ่มขึ้น จึงมีการสำรวจและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งคนเราจะใช้เวลาในขั้นตอนนี้นานมากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับประเภทและมูลค่าของสินค้าเป็นหลัก อย่างการซื้อรถยนต์ ก็จะใช้เวลาในการหาข้อมูลนานกว่าการซื้อเสื้อผ้าเครื่องประดับ เป็นต้น

ในขณะที่ผู้คนค้นหาข้อมูล พวกเขาจะถูกโจมตีด้วยโฆษณาแบบ Retargeting บนทุกแพลตฟอร์ม แน่นอนว่าการยิงโฆษณาเข้าถึงคนได้ง่ายและรวดเร็ว แถมยังระบุเจาะจงได้อีกด้วยว่า ต้องการยิงไปตรงพื้นที่ใดหรือส่งไปยังคนกลุ่มไหน แต่คนส่วนใหญ่ย่อมดูออกและรู้ดีว่านี่คือ โฆษณา จึงไม่ได้รู้สึกจดจำและนำมาใส่ใจ หรือกระตุ้นความต้องการของ Mental Availability ได้มากเท่าไหร่นัก

ในทางกลับกัน ถ้าพวกเขาเห็นแบรนด์ของคุณ เห็นสินค้าของคุณบ่อย ๆ แบบ Organic ด้วยการค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง พวกเขาจะรู้สึกอยากจดจำแบรนด์และเชื่อถือในสิ่งที่เห็นทาง Organic มากกว่า และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยกระตุ้น Mental Availability ได้

3. การประเมิน (Evaluation)

หลังจากที่ผู้ซื้อรู้แล้วว่าตัวเองต้องการสินค้าอะไร บางคนอาจจะมีการตัดสินใจแล้วว่า จะเลือกซื้อของแบรนด์ไหน แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่มั่นใจว่าควรซื้อสินค้าจากแบรนด์ใด คนกลุ่มนี้จะเข้าไปสู่ขั้นตอนถัดไป นั่นก็คือการประเมินหรือเปรียบเทียบนั่นเอง

ตัวอย่างพฤติกรรมของกลุ่มผู้ซื้อ หากสินค้าคือ “ฟิลเลอร์”

ฟิลเลอร์เป็นตัวอย่างของสินค้าที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเปรียบเทียบนาน เพราะฟิลเลอร์มีราคาสูงและมีเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย หากเลือกผิดอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เรามาดูกันดีกว่าว่าผู้คนที่สนใจอยากฉีดฟิลเลอร์เขาจะทำอย่างไรบ้าง?

  1. ค้นหาข้อมูลใน Google : คลินิกฉีดฟิลเลอร์ 2024 , ฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี
  2. เจอรายชื่อคลินิกที่มีบริการฉีดฟิลเลอร์ขึ้นมาเพียบ (ทั้ง Organic ทั้ง Google Ads)
  3. อ่านบทความที่มีการเปรียบเทียบคลินิกฉีดฟิลเลอร์หลาย ๆ แห่ง
  4. ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคลินิกที่สนใจเพิ่มเติม : เข้าไปที่เว็บไซต์คลินิก อ่านคอนเทนต์ ทำความรู้จักแพทย์ ดูรีวิวฉีดฟิลเลอร​์ เช็กราคาและโปรโมชัน
  5. ติดต่อคลินิกที่สนใจ 2-3 แห่ง เพื่อเปรียบเทียบว่าที่ไหนดีที่สุด
  6. สุดท้ายคนมักจะเลือกคลินิกที่น่าเชื่อถือที่สุด จากการค้นหาแบบ Organic 

SEO ช่วยอะไร? 

หากคุณทำคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ สามารถตอบคำถามสิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องการได้ รวมถึงสอดแทรก Unique Selling Points ลงไปในคอนเทนต์ที่คุณทำ คุณก็จะสามารถกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกของคนกลุ่มนี้ได้ไม่ยาก เพราะ SEO จะทำให้พวกเขาเห็นแบรนด์ของคุณง่ายขึ้น ส่วนคอนเทนต์ที่ดีจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์คุณ

4. การตัดสินใจซื้อ (Purchase)

จาก 3 ขั้นตอนที่ผ่านมา ไม่ได้การันตีว่าผู้คนจะจ่ายเงินซื้อสินค้าจริง ๆ เพราะถ้าทุกอย่างพร้อม แต่ดันไม่มีช่องทางการสั่งซื้อที่ง่ายและสะดวก พวกเขาก็อาจจะเปลี่ยนใจไปซื้อแบรนด์อื่น ๆ แทนได้ ดังนั้น Physical Availability จึงได้เข้ามามีในบทบาทตรงนี้ เพื่อให้พวกเขาพร้อมและตัดสินใจซื้อสินค้าได้ทันที

สิ่งที่คุณควรทำคืออะไร?

  • สร้างเส้นทางให้ลูกค้าเดินไปที่ร้านค้าง่าย ๆ : มีหน้าสินค้าที่สามารถกดใส่ตะกร้าและจ่ายเงินซื้อได้ทันที, วางลิงก์เชื่อมโยงไปยังหน้าสินค้าให้เห็นง่าย ๆ , ลงขายสินค้าในแพลตฟอร์ม e-Commerce ฯลฯ
  • สร้างระบบการซื้อสินค้าที่ทำได้ง่ายและสะดวกที่สุด : วางเมนูสินค้าไว้ในตำแหน่งที่มองเห็นง่าย ๆ , มีระบบการสั่งซื้อไม่ซับซ้อน, มีการติดตั้งช่องทางการชำระเงินที่ปลอดภัย ฯลฯ

SEO VS Paid Search เลือกอะไรดี?

SEO vs Paid Search

การยิงโฆษณา (Paid Search) มักจะมีการวัดผลด้วย ROI หรือ ROAS ซึ่งจะวัดผลได้ในระยะสั้นหรือระยะยาว ขึ้นอยู่กับเม็ดเงินและระยะเวลาที่คุณโฆษณาไป (หยุดจ่ายเงินเมื่อไหร่ หยุดแสดงผลเมื่อนั้น) ในขณะที่การทำ SEO มีการวัดผลด้วยประสิทธิภาพการเติบโตของแบรนด์ เน้นการเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนในระยะยาว 

ถ้าถามว่าระหว่าง SEO กับโฆษณาควรเลือกอะไรดี? แนะนำให้ทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไป เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดและผลตอบแทนที่สูงมากขึ้น อาจจะเริ่มจากการทำเว็บไซต์และ SEO ก่อน จากนั้นค่อยไปยิงโฆษณาก็ได้

บทสรุป

เราจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้ซื้อมีการใช้เครื่องมือการค้นหาอย่าง Google ในการสืบค้นข้อมูลในด้านต่าง ๆ ซึ่งการทำ SEO เพื่อรองรับการค้นหาของกลุ่มคนเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง จากเหตุผลด้านการกระตุ้นความต้องการและการตัดสินใจที่เราได้อธิบายไป

สุดท้ายนี้ หากคุณไม่ลงทุนกับการทำ SEO คุณจะเสียโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ (New Customer) และกลุ่มคนที่มีแนวโน้มในการซื้อสินค้า (Light Buyer) จำนวนมหาศาล และยังเสียเปรียบแบรนด์คู่แข่งที่มีการทำ SEO อีกด้วย จะปล่อยให้คู่แข่งแซงหน้าคุณต่อไป หรือคุณจะเป็นฝ่ายเติบโตและแซงหน้าพวกเขาเหล่านั้น? คุณเป็นคนเลือกเอง!

หากคุณต้องการที่ปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์และ SEO “แองก้า” ดิจิทัลเอเจนซี่ที่เชี่ยวชาญด้านการทำ SEO และยิงโฆษณาบนทุกแพลตฟอร์ม ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมวางกลยุทธ์อันแยบยลให้แก่ธุรกิจของคุณ เริ่มสร้างโอกาสและดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้แล้ววันนี้ ติดต่อเรามาได้ที่ @ANGA (LINE OA) หรือโทร 080-054-9199

ขอบคุณข้อมูลจาก Search Engine Land

บทความที่เกี่ยวข้อง

HubSpot คืออะไร? ช่วยดูแลธุรกิจ ครบจบในตัวเดียวจริงไหม?

สำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้ ทีมที่องค์กรขาดไปไม่ได้เลยคือทีมการตลาดและทีมขาย ทั้งสองทีมนี้ต้องทำงานร่วมกัน ในการดึงลูกค้าเข้ามาและปิดการขาย แต่ด้วยความที่ต่างทีมต่างมีลำดับขั้นตอนและรายละเอียดของเนื้องา
43

Google Analytics 4 คืออะไร ต่างจากเวอร์ชันเก่าอย่างไร

Google Analytics (GA) เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมาก สำหรับนักการตลาดและแบรนด์ที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพราะ GA จะช่วยให้คุณรู้จักกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้งานบนเว็บไซต์มากขึ้น และทำให้คุณได้ข้อมูล
30

Technical SEO คืออะไร? กับ 8 เทคนิคการปรับปรุงฉบับพื้นฐาน

Search Engine Optimization (SEO) เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้อย่างยั่งยืนและนำมาซึ่งผลลัพธ์ด้านการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งการทำ SEO จะประกอบไปด้วยฝั่งของ On-Page S
34
th