1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. บทความคืออะไร? เริ่มต้นเขียนบทความยังไงให้กลายเป็นคอนเทนต์ยอดฮิต
เผยแพร่เมื่อ: มิถุนายน 4, 2021 | แก้ไขเมื่อ: เมษายน 28, 2023

บทความคืออะไร? เริ่มต้นเขียนบทความยังไงให้กลายเป็นคอนเทนต์ยอดฮิต

Table Of Contents

ในปัจจุบันนี้การทำตลาดได้แปรเปลี่ยนจากออฟไลน์มาสู่แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ทำให้กลยุทธ์การสื่อสารมีความเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการสื่อสาร วิธีการสื่อสาร และรูปแบบการใช้สื่อเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ซึ่ง 1 ในรูปแบบการสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ยังคงใช้อย่างต่อเนื่องจากการสื่อสารแบบออพไลน์นั้นก็คือ “คอนเทนต์” ที่ทุกคนเรียกกันติดปากในยุคนี้ 

ซึ่งความจริงแล้วการทำคอนเทนต์ หรือเขียนคอนเทนต์นั้นมีพื้นฐานมาจากการเขียนบทความ กล่าวคือไม่ว่าจะเป็นบทความโฆษณาที่เคยเห็นกันบนหนังสือ หรือบทความที่ถูกตีพิมพ์ลงหนังสื่อพิมพ์เพื่อนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ล้วนเป็น “คอนเทนต์” ทั้งสิ้น วันนี้แองก้าจะมาอธิบายให้ฟังว่าบทความนั้นคืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับคอนเทนต์ และสุดท้ายเราจะเริ่มต้นเขียนบทความอย่างไรให้กลายเป็นคอนเทนต์ยอดฮิตบนโลกออนไลน์ได้ 

บทความคืออะไร

บทความคืออะไร?

บทความก็คืองานเขียนที่มีเนื้อหาเพื่อนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผู้เขียนนั้นตั้งใจจะสื่อสารออกไปโดยมีพื้นฐานจากความจริงมาเรียบเรียง เพื่อบอกเล่า แนะนำ หรือวิจารณ์ โดยบทความนั้นตามหลักการเขียนมีการแยกประเภทตามลักษณะเนื้อหาหลากหลายประเภทด้วยกัน เช่น บทความสัมภาษณ์, บทความวิเคราะห์, บทความวิจารณ์, บทความสารคดี, บทความวิชาการ, บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป เป็นต้น
สำหรับบทความเพื่อส่งเสริมทางการตลาดนั้นจะถูกแยกเป็น “บทความโฆษณา” และ “บทความข่าว” ทั้ง 2 นั้นทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน เพราะ “บทความโฆษณา” (Advertising) ทำหน้าที่เพื่อสร้างแรงจูงใจ และทำให้เกิดการตอบสนองต่อการตลาดหรือทำให้เกิดการขาย ส่วนหน้าที่ของ “บทความข่าว” นั้นจะเป็นการบอกกล่าวถึงวัตถุประสงค์ต่าง ๆ บอกให้ทราบถึงความเคลื่อนไหว หรือกิจกรรม ซึ่งสามารถนับเป็นการ PR (Public Relations) ได้

เริ่มต้นเขียนบทความยังไง?

การเขียนบทความนั้นมีหลายสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่ว่าจะเป็น หัวข้อที่จะเขียน แหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อนำมาเขียน สไตล์การเขียน แต่สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดก่อนจะเริ่มการเขียนบทความก็คือ วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความ ข้อนี้ถือเป็นการกำหนดทิศทางให้คุณได้ดีว่าคุณจะเขียนบทความเพื่ออะไร การทำคอนเทนต์ก็เช่นกัน ต้องรู้เสมอว่าทำไปเพื่ออะไรและคาดหวังว่าจะได้ผลลัพท์อย่างไรกลับมา เช่น อยากให้คนรับรู้ถึงสินค้าและบริการที่กำลังจะเปิดตัวใหม่ ให้เลือกเขียนบทความที่เป็นการรีวิว หรือเป็นบทข่าว PR เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทราบรายละเอียดต่าง ๆ ที่แบรนด์ต้องการให้ทราบ เป็นต้น

โครงสร้างของบทความ

โครงสร้างของบทความที่จะนำมาสร้างเป็นคอนเทนต์นั้นโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน ด้วยกันคือ

  • ชื่อเรื่องของบทความ (Headline)
  • ส่วนนำเรื่อง (Lead)  เป็นส่วนที่เกริ่นเรื่องราวของบทความ
  • ส่วนเนื้อหา (Body Copy) ส่วนที่ลงรายละเอียดของเนื้อหาต่าง ๆ มีกี่ย่อหน้าก็ได้
  • ส่วนสรุปเรื่อง (Conclusion) ส่วนที่สรุปบทความทั้งหมดซึ่งเป็นย่อหน้าสุดท้าย

ในบทความนั้นสามารถใช้ภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อหาได้ เพื่อเสริมการอธิบายเนื้อเรื่องให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น 

สำหรับการเขียนบทความเพื่อการทำ SEO นั้นก็จะใช้โครงสร้างประมาณนี้ แต่ก็จะมีรายละเอียดเล็กน้อยเพิ่มเข้ามาเพื่อให้ถูกตามหลักการจัดอันดับการค้นหาของ Google ไม่ว่าจะเป็นจำนวนของคำในบทความ ที่ภาพรวมทั้งหมดควรมีจำนวนคำขั้นต่ำที่ 600 คำ (words) โดยในส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่ส่วนนำเรื่อง (Lead) และส่วนสรุปเนื้อเรื่อง (Conclusion) ควรมีจำนวนคำส่วนละ 250 คำขึ้นไป ส่วนการใช้รูปภาพของบทความ SEO ก็ควรที่จะมีคำอธิบายภาพสั้น ๆ ประกอบใต้ภาพด้วย

เทคนิคการเขียนบทความหรือคอนเทนต์ให้น่าดึงดูด

เทคนิคการเขียนบทความ
  1. เขียนให้กระชับ เน้นการอธิบายสั้น ๆ รวบรัดและได้ใจความ เน้นประเด็นการสื่อสารให้ชัดเจนว่าต้องการสื่ออะไรเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ในเวลาสั้น ๆ
  2. เกริ่นนำเรื่องต้องน่าสนใจ เพราะการเกริ่นนำเหมือนเป็นส่วนที่เชิญชวนให้เข้ามาอ่านบทความ หากส่วนเกริ่นนำไม่น่าติดตามก็จะทำให้ผู้อ่านไม่สนใจได้
  3. ใช้คำศัพท์ง่ายไม่ยาก และต้องสื่อสารให้เข้าใจง่าย เพราะเมื่อบทความอ่านได้ง่ายขึ้นมีการนำเรื่องยากมาสรุปให้เป็นบทความที่ย่อยง่ายทำให้เข้าถึงกลุ่มคนได้หลากหลายมากกว่า
  4. ความยาวของเนื้อหาต้องสอดคล้องกับแพลตฟอร์มที่โพสต์ เพราะแต่ละช่องทางลักษณะการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายไม่เหมือนกัน เช่น Facebook ก็ควรใช้ภาพที่สื่อข้อความได้ชัดเจนไม่กี่ภาพ และมีข้อความที่กระชับได้ใจความ หากอยากลงบทความยาว ๆ อัดเนื้อหาเยอะ ๆ ก็ควรเน้นที่เว็บไซต์มากกว่า

สรุปเกี่ยวกับการเขียนบทความให้เป็นคอนเทนต์

การเขียนบทความนั้นเป็นศาสตร์การสื่อสารที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน แต่ละยุคสมัยก็จะมีเทคนิคและรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกันออกไป แต่ 4 ส่วนประกอบของบทความอย่าง ชื่อเรื่อง (Headline), เกริ่นนำ (Lead), เนื้อหา (Body Copy) และสรุป (Conclusion) ยังคงโครงสร้างเดิมไว้ ไม่ว่าจะเผยแพร่ลงแพลตฟอร์มไหนก็ยังต้องอิงตามโครงสร้างนี้เหมือนเดิม สำหรับมือใหม่ที่ยังจับจุดไม่ถูกว่าจะเริ่มต้นเขียนบทความยังไงดี  แองก้าขอแนะนำให้ลองค้นหาประเด็นมาหัดเขียนเยอะ ๆ รู้จักการจับประเด็นให้แม่น อ่านบทความจากแหล่งอื่น ๆ ให้มาก และที่สำคัญต้องมีจุดประสงค์การเขียนที่ชัดเจนก่อนลงมือทำ

บทความที่เกี่ยวข้อง

HubSpot คืออะไร? ช่วยดูแลธุรกิจ ครบจบในตัวเดียวจริงไหม?

สำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้ ทีมที่องค์กรขาดไปไม่ได้เลยคือทีมการตลาดและทีมขาย ทั้งสองทีมนี้ต้องทำงานร่วมกัน ในการดึงลูกค้าเข้ามาและปิดการขาย แต่ด้วยความที่ต่างทีมต่างมีลำดับขั้นตอนและรายละเอียดของเนื้องา
36

Google Analytics 4 คืออะไร ต่างจากเวอร์ชันเก่าอย่างไร

Google Analytics (GA) เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมาก สำหรับนักการตลาดและแบรนด์ที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพราะ GA จะช่วยให้คุณรู้จักกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้งานบนเว็บไซต์มากขึ้น และทำให้คุณได้ข้อมูล
25

Technical SEO คืออะไร? กับ 8 เทคนิคการปรับปรุงฉบับพื้นฐาน

Search Engine Optimization (SEO) เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้อย่างยั่งยืนและนำมาซึ่งผลลัพธ์ด้านการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งการทำ SEO จะประกอบไปด้วยฝั่งของ On-Page S
30
th