1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. 4E เจาะลึกกลยุทธ์การตลาด แนวคิดล่าสุดเพื่อพิชิตใจกลุ่มเป้าหมาย
4E เจาะลึกกลยุทธ์การตลาด
เผยแพร่เมื่อ: ตุลาคม 4, 2021 | แก้ไขเมื่อ: กรกฎาคม 31, 2024

4E เจาะลึกกลยุทธ์การตลาด แนวคิดล่าสุดเพื่อพิชิตใจกลุ่มเป้าหมาย

Table Of Contents

นักการตลาดหลายท่านอาจเคยได้นำกลยุทธ์ทางการตลาดที่เป็นแนวคิดแบบ 4C และ 4P มาใช้ ทั้ง 2 กลยุทธ์ที่ว่านั้นออกแบบมาเพื่อการจูงใจและสร้างการเข้าถึงระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์สินค้า เมื่อมองเผิน ๆ จุดประสงค์ของทั้งคู่มีความคล้ายกัน แต่แตกต่างกันในเชิงการสื่อสารและการจูงใจให้เกิดการรับรู้ โดยในอดีตนั้นกลยุทธ์การตลาดแบบ 4C เป็นอะไรที่มาแรงมาก เพราะเป็นวิธีการนำเสนอสินค้าในยุคที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตแบบในปัจจุบัน เป็นแนวคิดที่เน้นความสะดวกในการเข้าถึงสินค้าของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลักและมักจะเป็นการสื่อสารแบบออฟไลน์ เช่น แผ่นพับ ใบปลิว การออกบู๊ทสินค้า การจัดโปรโมชั่นตามจุดขาย เป็นต้น

4E เจาะลึกกลยุทธ์การตลาด

เมื่อเวลาผ่านไปเริ่มมีการเข้ามาของสื่อออนไลน์และผู้บริโภคเริ่มมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แต่ยังไม่มากเท่าปัจจุบัน ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไปทางผู้ผลิตเองจึงต้องเริ่มปรับตัว จนทำให้เกิดเป็น Marketing Mix หรือกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ 4P นั่นเอง โดยเน้นเรื่องของการพัฒนาสินค้าตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือแนวโน้มของตลาดมากขึ้น ถือเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน

ที่มาของกลยุทธ์การตลาดแบบ 4E

มาถึงปัจจุบันยุค 4.0 เป็นช่วงที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการเข้าถึงข้อมูลไปจนถึงวิธีการซื้อสินค้าที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก ทำให้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบ 4E ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นอีกวิธีที่จะเข้ามาช่วยผสมผสานกับแนวคิดเดิมแบบ 4P ให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

4E ย่อมาจากอะไรบ้าง?

1.Experience

สร้างประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้กับผู้บริโภคหรือลูกค้า ในข้อแรกนี้เป็นที่บ่งบอกว่าเพียงแค่คุณมีสินค้าหรือบริการหลักอย่างเดียวนั้นมันคงไม่พอ เพราะการที่ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีจากการให้บริการของผู้ขายนั้น สามารถช่วยให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำได้เพราะความประทับใจ

4E ย่อมาจาก Experience
  • ตัวอย่างเช่น โปรโมชั่นโทรศัพท์มือถือรุ่นหนึ่งที่มีสเปคเครื่องครบครันทันสมัย นั่นคือสิ่งที่เป็นจุดเด่นของสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่าแบรนด์อื่น ๆ จะไม่มี เพราะตรงจุดนี้จึงทำให้แบรนด์สินค้านั้นควรมีกลยุทธ์การทำตลาดตรงนี้ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ รวมถึงบริการหลังการขาย ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เมื่อลูกค้าได้รับความรู้สึกที่ดีจากแบรนด์ ก็จะทำให้พวกเขากลับมาซื้อซ้ำและอาจเกิดการบอกต่อได้ในอนาคต

2.Exchange

ความคุ้มค่าของสินค้าและบริการ เมื่อในปัจจุบันเรื่องของราคาไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความคุ้มค่าอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคในยุคนี้เริ่มมองเรื่องความคุ้มค่าหรือสิ่งที่จะได้รับจากการซื้อในครั้งนี้ว่าให้ประโยชน์ให้ความพึงพอใจได้มากแค่ไหน หรือจะยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าก็ต่อเมื่อเห็นว่ามันคุ้มค่ากับสิ่งที่จ่ายไปจริง ๆ

4E ย่อมาจาก Exchange
  • ตัวอย่างเช่น การเลือกใช้บริการ Grab Bike แทนการเรียกใช้วินมอเตอร์ไซค์ทั่วไปแบบเดิม ๆ นั่นก็เป็นเพราะผู้บริโภคได้เล็งเห็นว่าการใช้บริการ Grab Bike มีความแน่นอนในราคาที่เสียไปมากกว่า ที่สำคัญยังมีความปลอดภัยและมาตรฐานการขับขี่ของโชเฟอร์มากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคได้ตัดสินใจว่าการใช้งาน Grab BIke ความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปมากกว่า ซึ่งข้อด้อยเหล่านี้จึงได้กลายมาเป็นกลยุทธ์การทำตลาดของ Grab นั่นเอง

3.Everywhere

เปรียบเสมือนกับ Place แต่มีความยืดหยุ่นมากกว่าเดิมก็คือไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านตายตัวเพียงแห่งเดียวเท่านั้น นั่นหมายความว่าสินค้าแบรนด์หนึ่งสามารถจำหน่ายได้หลายช่องที่มีอยู่ในออนไลน์ได้ไม่จำกัดว่าจะต้องขายที่ใดที่หนึ่งแบบเมื่อก่อนอีกต่อไป

4E ย่อมาจาก Everywhere
  • ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชัน E-Commerce เจ้าต่าง ๆ ที่มีในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น Lazada, Shopee, JD Central หรือแม้กระทั่ง LINE OA นับเป็นพื้นที่ขายสินค้าที่ไม่ได้จำกัดว่าผู้ขายจะต้องลงขายเฉพาะแอปใดแอปหนึ่งนั่น ทำให้แบรนด์สินค้า 1 แบรนด์สามารถลงขายทั้ง 4 แพลตฟอร์มที่กล่าวไปทั้งหมดได้พร้อม ๆ กัน เพื่อเพิ่มกลยุทธ์การทำตลาดและมีโอกาสการปิดการขายได้มากขึ้น

4.Evangelism

การจูงใจให้ผู้บริโภคทั่วไปกลายเป็นลูกค้าประจำของคุณ เมื่อการใช้ Promotion เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการทำให้ลูกค้ามีความ Loyalty กับเรา ดังนั้นในหัวข้อ Evangelism นี้คือการเสริมสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าด้วยการนำทั้ง 3 หัวข้อก่อนหน้ามาคิดวิเคราะห์และลงมือทำ และนอกจากนั้นคุณควรที่จะต้องรู้จักการพลิกแพลงกลยุทธ์ดูบ้าง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแบรนด์ได้มากขึ้น

4E ย่อมาจาก Evangelism
  • ตัวอย่างเช่น การสร้างสตอรี่ให้กับสินค้าลงไปเพื่อความน่าสนใจ และทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่าสินค้าชิ้นนั้นมันมีภูมิหลัง ทำให้เห็นว่ามันดูมีคุณค่ามากกว่าแค่การซื้อแล้วจบ ๆ ไป ตรงจุดนี้สามารถทำให้เกิดการบอกต่อ (Word of Mouth) ที่นับเป็นกลยุทธ์การตลาดอีกประเภทหนึ่งได้ จากสิ่งที่ลูกค้าได้ประสบและพบเจอจากการซื้อสินค้าและบริการในครั้งนี้

กลุยทธ์ทางการตลาด 4E เหมาะกับใคร?

สำหรับกลุยทธ์ทางการตลาด 4E เหมาะกับผู้ที่ทำตลาดบนออนไลน์เดิมอยู่แล้ว เพื่อเป็นการยกระดับการเข้าถึงแบรนด์สินค้าไปอีกระดับหนึ่ง ซึ่งการใช้กลุยทธ์ทางการตลาด 4E นั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทิ้ง กลุยทธ์การตลาดแบบ 4P เดิมทิ้งไป แต่เป็นการนำมาประยุกต์ใช้และเสริมสร้างความหลากหลายในการสื่อสารมากขึ้น ทำให้ Win-Win ได้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคมากกว่าเดิม ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยทำตลาดออนไลน์มากก่อนนั้นก็สามารถนำ กลุยทธ์ทางการตลาด 4E เข้ามาใช้ได้เช่นกัน ถือเป็นความท้าทายใหม่และเป็นประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการขายอีกรูปแบบหนึ่ง ที่แองก้าคิดว่าช่วยให้การทำตลาดของคุณมีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้แน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง

แนะนำ 12 ไอเดียของขวัญปีใหม่แจกลูกค้า 2025

เทศกาลสำคัญอย่างวันปีใหม่ ถือเป็นช่วงเวลาที่หลาย ๆ ธุรกิจใช้เป็นโอกาสในการสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า การมอบของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้าหรือกระเช้าปีใหม่ให้ลูกค้าช่วยสร้างความประทับใจได้เป็นอย่างดี เ
13

Featured Snippet คืออะไร ผลลัพธ์ที่เหนือกว่าอันดับ 1 บน Google

การแข่งขันเพื่อให้ติดอันดับ 1 บน Google เป็นเรื่องที่ยากและท้าทายอย่างมาก เพราะคุณต้องแข่งขันกับเว็บไซต์ของคู่แข่ง แถมยังต้องปรับปรุงเว็บไซต์ให้ถูกใจ Google และสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานด้วย แต
5

เปิด 320 รายชื่อบริษัท Agency ในไทย อัปเดตล่าสุด 2025

การทำธุรกิจให้เติบโตในตอนนี้มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง หนึ่งในเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจไม่สามารถมองข้ามไปได้เลยก็คือการทำการตลาดออนไลน์ แต่การสร้างทีมการตลาดที่แข็งแกร่งไม่ได้ใช้ระยะเวลาสั้นและทำได้ง่
5
th