1. หน้าหลัก
  2. อัปเดตการตลาด
  3. CPAS หรือ Collaboratve Ads รูปแบบการโฆษณาใหม่ช่วยเพิ่มยอดขายธุรกิจบน E-Marketplace
CPAS หรือ Collaboratve Ads
เผยแพร่เมื่อ: มีนาคม 14, 2023 | แก้ไขเมื่อ: กรกฎาคม 30, 2024

CPAS หรือ Collaboratve Ads รูปแบบการโฆษณาใหม่ช่วยเพิ่มยอดขายธุรกิจบน E-Marketplace

Table Of Contents

นาทีนี้หากจะพูดถึงช่องทางการตลาดผ่าน Social Media ที่ใหญ่ที่สุดคงหนีไม่พ้น Facebook แต่นอกจากการยิงแอดในรูปแบบปกติแล้ว ยังมีการทำโฆษณารูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า CPAS ที่ Facebook ต้องการช่วยให้ธุรกิจ E-Commerce สามารถโฆษณาเพื่อเพิ่มยอดขายได้เพิ่มเติมนอกจากยิงแอดธรรมดา ในบทความนี้ ANGA ได้รวบรวมประเด็นสำคัญที่นักตลาดต้องรู้ เพื่อให้เข้าใจ CPAS ก่อนทำแคมเปญบน Facebook

Collaborative Ads หรือ CPAS คืออะไร ทำไมถึงเกี่ยวข้องกับ Facebook

CPAS ย่อมาจาก Collaborative Performance Advertising Solution หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ Collaborative Ads เป็นรูปแบบการโฆษณาสินค้าของธุรกิจ E-Commerce บน Facebook ประเภทหนึ่งที่ให้แบรนด์สร้างแคมเปญโฆษณาสินค้าของตัวเองที่จำหน่ายในบน E-Commerce Marketplace แต่ให้ปรากฏอยู่ในหน้า Facebook Feed ของกลุ่มเป้าหมายได้ โดยที่ลักษณะการโฆษณาสินค้าบน Ads ประเภท CPAS สินค้าจะเปลี่ยนไปตาม Target ที่แบรนด์ตั้งค่าเอาไว้ในแคมเปญ (Dynamic Ads)

การทำ CPAS เป็นช่องทางหนึ่งที่สร้างการจดจำแบรนด์ให้กลุ่มเป้าหมาย และดันยอดขายจากการค้าปลีกบน E-Commerce Marketplace อย่าง Shopee และ Lazada ได้เป็นอย่างดีแต่การทำ CPAS แบรนด์จะต้องได้รับการอนุมัติจาก Facebook และผ่านการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแบรนด์และสินค้าก่อนถึงจะมี Catalogue เอาไว้ทำแคมเปญได้

Facebook และ E-Commerce Marketplace ทำงานร่วมกันใน CPAS ได้อย่างไร

หลักการทำงานของ CPAS คือแบรนด์ที่มีร้านค้าปลีกบนแพลตฟอร์ม E-Commerce Marketplace ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Facebook เช่น Shopee และ Lazada บนแพลตฟอร์มจะมี Catalogue สินค้าต่าง ๆ แล้วแบรนด์จะสามารถดึง Catalogue นั้นไปทำแคมเปญเพื่อโปรโมทสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายบนหน้า Facebook Feed ได้

โดยแบรนด์สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายการโฆษณาได้ว่า ต้องการยิงแอดไปหาคนทั่วไป หรือยิงแอดไปยังคนที่เคยเข้ามาดูสินค้าแล้ว โดยการตัดสินใจเลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะขึ้นอยู่กับการวางแผนและข้อมูลหลังบ้านของแต่ละแบรนด์ เมื่อกลุ่มเป้าหมายบน Facebook เกิดความสนใจและคลิกลิงก์โฆษณาที่เห็นในหน้าฟีด กลุ่มเป้าหมายจะสามารถเข้าถึงร้านค้าปลีกบน E-Commerce Marketplace ได้ผ่านทาง Facebook ได้ทันที

E-Commerce Marketplace ทำงานร่วมกันใน CPAS

การโฆษณาแบบ CPAS มีประโยชน์อะไรบ้าง

รูปแบบโฆษณา CPAS (Collaborative Ads) เป็นการทำงานระหว่างร้านค้าปลีกบน E-Commerce Marketplace และแบรนด์ทำแคมเปญผ่าน Facebook ซึ่งเป็น Social Media ที่มีความนิยมสูง CPAS นี้จึงมีประโยชน์ดังนี้

เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจ E-Commerce

เป้าหมายอันดับแรก ๆ ของการโฆษณา คือการเพิ่มยอดขาย แน่นอนว่ารูปแบบโฆษณา CPAS ช่วยเพิ่มช่องทางให้ธุรกิจ E-Commerce สามารถโชว์สินค้าใน Facebook ได้ และรูปแบบโฆษณา CPAS ยังมีฟังก์ชันที่ให้กลุ่มเป้าหมาย Take Action จาก Facebook ไปสู่หน้า Shopee, Lazada และแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้ทัน ผ่านการกดปุ่ม “Shop Now” ระบบจะนำลูกค้าไปหน้าคำสั่งซื้อเพื่อปิดการขาย

สร้างชื่อเสียง เพิ่มการจดจำสินค้าของธุรกิจ (Brand Awareness) 

Facebook เป็นแพลตฟอร์ม Social Media ที่มีผู้ใช้งานเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย การใช้ CPAS มาโฆษณาสินค้าของแบรนด์จึงมีส่วนช่วยให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเห็นโฆษณาได้จำนวนมาก นอกจากเพิ่มยอดขายได้แล้ว ยังช่วยสร้างการจดจำทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ได้มากขึ้น ซึ่งกลุ่มเป้าหมายบางคนอาจจะกลายเป็นลูกค้าของแบรนด์ในอนาคตได้

ช่วยเจาะจงกลุ่มเป้าหมายในการทำ Retargeting

การทำโฆษณารูปแบบ CPAS มีฟังก์ชันให้แบรนด์เลือกได้ว่าต้องการยิงโฆษณาไปหากลุ่มลูกค้าแบบไหน จุดเด่นของ CPAS คือสามารถยิงแอดไปหาคนที่เกือบจะเป็นลูกค้าของแบรนด์ได้ ตัวอย่างเช่น คนที่เคยเข้ามาดูสินค้าแต่ยังไม่ซื้อ คนที่เคยกด Add to Cart สินค้าของแบรนด์แต่ยังไม่ปิดการขาย เป็นต้น ที่สำคัญแบรนด์ยังสามารถเลือกยิงแอดให้สอดคล้องกับเวลาได้อีกด้วย เช่น ต้องการยิง Ads ไปหาคนที่เคย Add to Cart สินค้าของแบรนด์ภายในเดือนที่ผ่านมา

ฟังก์ชันของ CPAS ช่วยให้การทำ Retargeting ทำได้สะดวกขึ้นแบรนด์สามารถทำแคมเปญเจาะจงไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เคยเกือบจะเป็นลูกค้าของแบรนด์ได้ทันที เพราะรูปแบบโฆษณาแบบนี้เปรียบเสมือนการเสนอขายสินค้าให้กลุ่มเป้าหมายที่เกือบซื้อสินค้าของแบรนด์เป็นครั้งที่สอง เพิ่มโอกาสปิดการขายได้มากขึ้น

ช่วยนักการตลาดเก็บค่า ROAS (Return On Ads Spend) ได้ง่ายขึ้น

ROAS หรือ Return On Ads Spend เป็นอัตราชี้วัดยอดขายที่มาจากการโฆษณา สำหรับการโฆษณาแบบ CPAS ลูกค้าสามารถคลิกเข้าไปซื้อสินค้าได้ผ่านโฆษณาโดยตรง  ทำให้แบรนด์เก็บข้อมูลยอดขายที่มาจากการโฆษณา หรือค่า ROAS ได้ การทำโฆษณาแบบ CPAS จึงช่วยให้นักการตลาดสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางปรับปรุงการทำการตลาดของแบรนด์ในแคมเปญถัดไปในอนาคตได้

ตัวอย่างการทำ CPAS 

ตัวอย่างการทำ CPAS 

สมมติว่าแบรนด์ A เป็นธุรกิจ E-Commerce ขายเสื้อผ้าบนเว็บไซต์ E-Commerce Marketplace อย่าง Lazada และเราได้ติดต่อเรื่องพาร์ทเนอร์และผ่านประเมินความน่าเชื่อถือของแบรนด์แล้ว แต่เราได้รับรายงานเข้ามาว่ามียอดลูกค้าเข้ามาดูสินค้า แต่ว่ายังไม่ตัดสินใจซื้อจำนวนหนึ่ง แบรนด์ A จึงทำ CPAS สร้างโฆษณาตามติดพวกเขาไปบน Facebook โดย Lazada ได้สร้าง Product Catalogue Segment และแชร์ให้แบรนด์ A ผ่าน Facebook Business Manager แบรนด์ A จึงนำ Catalogue นี้มาสร้างแคมเปญโฆษณาใน Facebook  โฆษณาแบบ CPAS ของเราก็จะโชว์รูปเสื้อที่ลูกค้าเคยเข้าไปดู แล้วเขาก็สามารถคลิกเข้าไปซื้อที่เว็บไซต์ Lazada ของ ANGA หากเขายังสนใจที่จะซื้อเสื้อตัวนั้นอยู่

โฆษณาแบบ CPAS เหมาะกับธุรกิจแบบไหน

จากที่ได้อธิบายไว้ในหัวข้อก่อนหน้านี้ว่า CPAS เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Facebook และ E-Commerce Marketplace ธุรกิจที่จะใช้การโฆษณาแบบ CPAS จึงต้องเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าผ่านทางช่องทาง E-Commerce Marketplace ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Facebook ถึงจะใช้งานฟังก์ชันนี้ได้

แต่สำหรับแบรนด์หรือธุรกิจเล็ก ๆ ที่แม้จะมีทั้ง Facebook Page และบัญชีร้านค้าบน E-Commerce Marketplace แต่การทำ CPAS อาจมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน จึงจำเป็นต้องทีมงานที่เข้าใจการทำโฆษณา CPAS มาก่อน เนื่องจากการทำ CPAS ต้องอาศัยการติดต่อขอร่วมพาร์ทเนอร์กับ Marketplace ต่าง ๆ การตั้งค่าใน Facebook Business Manager และยังมีขั้นตอนการประเมินความน่าเชื่อถือจาก Facebook กว่าจะได้แชร์  Catalogue มาทำ CPAS จึงใช้เวลาพอสมควร แบรนด์หรือธุรกิจเล็กจึงนิยมใช้การยิงแอด Facebook แบบปกติที่เริ่มแคมเปญได้ด้วยตัวเอง แต่หากแบรนด์หรือธุรกิจขนาดเล็กสนใจทำ CPAS แบรนด์เหล่านั้นจะนิยมใช้บริการเอเจนซี่โฆษณาที่เชี่ยวชาญช่วยดำเนินการให้แทน

บทสรุปเรื่องการทำการตลาดบน E-Marketplacee ด้วย CPAS

การทำ CPAS เป็นการมอบตัวเลือกให้ลูกค้า และเพิ่มช่องการโฆษณาให้แบรนด์ได้ แต่อาจจะไม่ได้เหมาะกับธุรกิจทุกประเภท อย่างไรก็ตาม Facebook ยังมีฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมากมายที่สามารถใช้ทำแคมเปญการตลาดอื่น ๆ ได้ ตามความเหมาะสมของแผนการตลาดของแต่ละแบรนด์ นักการตลาดจะต้องเลือกใช้เครื่องมือหรือช่องทางการตลาดให้เหมาะสมกับแผนการตลาดที่คาดการณ์เอาไว้

บทความที่เกี่ยวข้อง

สรุปเนื้อหาจากงาน Google Search Central Live 2024

Google Search Central Live 2024 คืองานสัมมนาที่ทาง Google จัดขึ้นมาเพื่ออัปเดตข้อมูลด้าน Google Search โดยเฉพาะ จัดเต็มไปด้วยเนื้อหาเรื่องการทำ SEO (Search Engine Optimization), Search Engine, Search
110

Google กลับลำไม่ยกเลิก Third-Party Cookies แล้ว!

ย้อนกลับไปในปี 2019 ได้มีประกาศสำคัญที่ว่า Google ยกเลิก Cookies บน Chrome และคาดว่าจะเลิกใช้ Third-Party Cookies ทั้งหมดได้ภายในปี 2024 เพราะ Google ต้องการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน พร้อมทั้ง
177

Search Engine คืออะไร มีอะไรบ้าง และแบ่งออกเป็นกี่ประเภท?

หลาย ๆ คนคงจะเคยเห็นคำว่า “Search Engine (เสิร์ชเอนจิน)” ผ่านตามาบ้างแล้ว จากการอ่านบทความหรือฟังพอดแคสต์ที่พูดถึงการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่มุ่งเน้นการเพิ่ม Or
142
th