E-commerce คืออะไร? คู่มือสำหรับธุรกิจขายสินค้าออนไลน์
E-commerce คือ หนึ่งในรูปแบบธุรกิจที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่งในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล เนื่องจากผู้ประกอบการทั้งหลายเล็งเห็นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมใช้บริการผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งก่อนจะเริ่มต้นการค้ารูปแบบใหม่นี้ ทุกท่านจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
อย่างไรก็ตามอีคอมเมิร์ซไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือเรียนรู้ยาก วันนี้ ‘ANGA’ ได้ทำคู่มือฉบับเริ่มต้นแก่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ให้เข้าใจครอบคลุมทั้งความหมาย ประเภท ข้อดี-ข้อเสีย วิธีการโปรโมตธุรกิจและช่องทางการขายที่มีมากกว่าโซเชียลมีเดียที่คุ้นเคยกัน หากพร้อมแล้วมาเริ่มต้นเรียนรู้เลย!
เจาะลึกความหมาย E-commerce คืออะไร?
คำว่า E-commerce ย่อมาจาก ‘Electronic Commerce’ ดังนั้น E-commerce คือ ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ รวมถึงโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเว็บไซต์ แพลตฟอร์มและแอพปพลิเคชัน ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงร้านค้าได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา ในทางตรงกันข้ามหากคุณเป็นผู้ประกอบการเมื่อมีสินค้าและอินเทอร์เน็ตในกำมือแล้ว การเริ่มต้นธุรกิจประเภทนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย
ชวนเช็ก 7 ประเภทหลักของธุรกิจ ‘E-commerce’
หลังจากทราบความหมายของธุรกิจอีคอมเมิร์ซกันแล้ว เราจะพามาดูกันต่อว่าประเภทของ ‘E-commerce’ มีอะไรบ้าง แล้วสินค้าและบริการของคุณใช้โมเดลแบบไหน มาดูพร้อมกันเลย
- Business to Consumer : B2C
ธุรกิจประเภทซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภคโดยตรง
- Business to Business : B2B
ธุรกิจประเภทซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ
- Consumer to Business : C2B
ธุรกิจประเภทซื้อขายระหว่างบุคคลธรรมดาและผู้ประกอบการ เช่น ฟรีแลนซ์กราฟิก
- Business to Government : B2G
ธุรกิจประเภทซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการกับรัฐบาล
- Consumer to Consumer : C2C
ธุรกิจประเภทซื้อขายระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่น เสื้อผ้ามือ 2
- Government to Consumer : G2C
ธุรกิจประเภทซื้อขายระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
- Government to Government : G2G
ธุรกิจประเภทซื้อขายระหว่างรัฐบาลกับภาครัฐเพื่อทำข้อตกลงหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล
เผยหมดเปลือก ข้อดี-ข้อเสียของการทำธุรกิจ ‘E-commerce’
แน่นอนว่าก่อนเริ่มต้นธุรกิจคุณจะต้องทราบจุดเด่นและจุดด้อยของประเภทธุรกิจที่จะลงไปเล่น สำหรับอีคอมเมิร์ซมีหลายแง่มุมที่คุณควรตระหนัก ดังนี้
ข้อดีของการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์
มาเริ่มกันที่แง่ดีของธุรกิจประเภทนี้กันก่อน อย่างแรกที่เห็นได้ชัด คือ ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านและพนักงานเพราะมีระบบรองรับการซื้อขายอัตโนมัติจึงลดต้นทุนไปได้มากโข สามารถนำเงินไปลงทุนในด้านอื่น เช่น การโฆษณา ใช้บริการรับทำเว็บไซต์คุณภาพเพื่อประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า หรือขยายธุรกิจก็ได้ แถมยังเพิ่มโอกาสในการขายเนื่องจากคนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถึง 70%
นอกจากนี้อัตราการเติบโตของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทยยังส่งสัญญาณดีตลอดหลายปีที่ผ่านมา ที่สำคัญเคยติดอันดับ 1 ของอาเซียนอีกด้วย จากการคาดการณ์ช่วงหลังโควิดผู้คนยังชื่นชอบการช้อปออนไลน์อยู่ซึ่งเป็นผลมาจากการเคยชินกับความสะดวกสบาย
ข้อเสียของการประกอบธุรกิจผ่านอินเทอร์เน็ต
มาต่อกันที่ข้อเสียของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เรื่องแรกที่ต้องระมัดระวังคือระบบความปลอดภัย อาจมีมัลแวร์โจมตี แถมธนาคารในไทยยังไม่มีการรองรับความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์อีกด้วย ที่สำคัญมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ช่วงเริ่มต้นอาจจะต้องใช้เวลาในการสร้างความน่าเชื่อถือ และอย่าลืมเรื่องสินค้าต้องห้ามและกลโกงของผู้ซื้อสินค้าเด็ดขาด
3 ช่องทางการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ต้องรู้ก่อนเริ่มต้น!
เมื่อพิจารณาข้อดีและข้อเสียของธุรกิจบนโลกออนไลน์และตัดสินใจไปต่อ เราจะพามาส่อง 3 ช่องทางหลักบนอินเทอร์เน็ตที่สามารถขายสินค้าและบริการของคุณได้ แต่ละประเภทจะน่าสนใจอย่างไร มาดูกันเลย
เว็บไซต์ทางการของแบรนด์
สำหรับช่องทางการขายสินค้าบนเว็บไซต์ของแบรนด์ไปยังลูกค้าโดยตรงสามารถเก็บข้อมูลและพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้ นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบ UX/UI รูปลักษณ์และประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าได้ แถมมีความน่าเชื่อสูง ในช่วงแรกอาจใช้ต้นทุนสูงและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ
โซเชียลคอมเมิร์ซ
มาต่อกันที่การซื้อขายบนแพลตฟอร์มโซเชียลที่เราคุ้นเคยกันดีไม่ว่าจะเป็น Facebook, Line, Instagram, TikTok หรือ Twitter ใช้ต้นทุนต่ำ สามารถชำระเงินได้บนแพลตฟอร์มแถมมีฟีเจอร์ Insight วิเคราะห์ธุรกิจให้อีกด้วย นอกจากนี้การติดต่อกับลูกค้ายังรวดเร็วและง่ายมาก อย่างไรก็ตามการใช้โซเชียลมีเดียมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างต่ำ
อีมาร์เก็ตเพลส
มาร์เก็ตเพลส คือ เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมแบรนด์สินค้า ที่ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาสามารถเข้ามาทำการซื้อขายได้ โดยบางแห่งสามารถช่วยขยายฐานลูกค้าระดับเอเชียหรือทั่วโลกได้ สำหรับ Marketplace ที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น Shopee, Lazada และ JD Central โดยมีความน่าเชื่อถือขึ้นมา เพราะลูกค้าสามารถตรวจสอบและดูรีวิวได้ แถมจัดการง่ายด้วยระบบที่ทันสมัย แต่ทั้งหมดนี้ต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมรวมถึงค่า GP ส่วนแบ่งจาดยอดขายด้วย
5 กลยุทธ์การตลาดที่ผู้ประกอบการ E-commerce ต้องจับตามองให้ดี!
ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าการแข่งขันธุรกิจบนโลกออนไลน์นั่นสูงลิ่ว การตลาดจึงต้องมีประสิทธิภาพและเข้ากับกลุ่มลูกค้าบนอินเทอร์เน็ต มาดูกันดีกว่าว่า 5 กลยุทธ์ E-commerce Marketing ที่น่าจับตามองมีอะไรบ้าง
- การตลาดบนโซเชียลมีเดีย
Social Media จะพาสินค้าและบริการของคุณเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
- Influencer Marketing
อินฟลูเอนเซอร์ คือ ผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ช่วยแนะนำสินค้าและบริการให้แก่ผู้ชมอย่างน่าเชื่อถือ เพราะมีความเป็นกันเองและใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายสูง
- SEO
SEO เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะทำให้ผู้ที่สนใจสินค้าและบริการมองเห็นผลิตภัณฑ์ของคุณเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อค้นหาข้อมูลบนเสิร์ชเอนจินต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีเอเจนซี่ผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการเพียบไม่ว่าจะหาลูกค้า B2B หรือประเภทอื่น ๆ ก็ตาม
- Affiliate Marketing
สำหรับการตลาดแบบพันธมิตรจะช่วยเชื่อมโยงสินค้าและบริการของคุณกับนักการตลาดที่มีฐานลูกค้าแน่น ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีโอกาสซื้อผลิตภัณฑ์สูงได้
- Email Marketing
หลายคนอาจมองว่าอีเมลค่อนข้างล้าหลัง แต่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกยังให้ความสำคัญแก่อีเมล เพราะช่วยแจ้งเตือนสินค้าลดราคาและกระตุ้นยอดขายได้